เผยแพร่เมื่อ: 2024-03-06

ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน

หลายคนอาจเคยได้ยินคำนี้ผ่านหูผ่านตากันมาบ้าง เรื่องผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนนั้นเป็นเรื่องของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงของแต่ละทรัพย์สิน บางครั้งคนที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นได้ก่อให้เกิดนิติกรรมแก่ผู้อื่น ทั้งๆที่ไม่ได้มีสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นเลย บทความนี้ Legardy จะพาผู้อ่านทุกท่านรู้จักกับคำว่า ผู้รับโอนไม่มีสิทธิที่กว่าผู้โอนให้มากขึ้นกันครับ


Untitled design (26).png

ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนคือ

เป็นหลักกฎหมายแพ่งที่สำคัญ มีความหมายว่า หากผู้โอนไม่มีสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ผู้รับโอนก็จะไม่มีสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นเช่นกัน
ซึ่งสิทธิในทรัพย์สินนั้นทางกฎหมายเรียกว่า “ทรัพยสิทธิ”
 

ทรัพยสิทธิ คือ สิทธิที่เราสามารถมีเหนือทรัพย์สินต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน รถยนต์ หรือแม้กระทั่งสิ่งที่จับต้องไม่ได้อย่างลิขสิทธิ์ สิทธิเหล่านี้เราอาจได้มาจากการทำสัญญาซื้อขาย หรือได้มาตามกฎหมายก็ได้

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณซื้อรถยนต์คันใหม่ป้ายแดง คุณก็มีสิทธิ์เต็มที่ในการใช้ ขาย หรือแม้กระทั่งเอาไปจำนำ รถคันนั้นจะทำอะไรก็ได้แต่ต้องไม่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และถ้าวันหนึ่งได้ขายรถคันนั้นให้คนอื่น สิทธิต่างๆ ที่เคยมีก็จะโอนไปให้เจ้าของคนใหม่ทันที นี่แหละคือเสน่ห์ของทรัพยสิทธิ ที่มันจะติดตามทรัพย์สินไปไม่ว่าจะเปลี่ยนมือใครก็ตาม

ทรัพยสิทธินั้น จะอยู่กับเราไปตลอดไม่ว่าจะนานแค่ไหนก็ไม่หายไป ยกเว้นบางกรณีตามกฎหมาย เช่น ถ้าเราไม่เคยใช้สิทธิบางอย่างเลยเป็นเวลานานๆ สิทธิเหล่านั้นก็อาจจะหายไปได้เหมือนกัน

แล้วเราจะได้ทรัพยสิทธิมาได้ยังไง?

มี 2 วิธีหลักๆ คือ

1.ได้มาจากการทำสัญญา เช่น การซื้อขาย การแลกเปลี่ยน การรับมรดก หรือการเช่าซื้อรถยนต์ เมื่อเราทำสัญญาและทำตามเงื่อนไขครบถ้วน เราก็จะได้ทรัพยสิทธิในทรัพย์สินนั้นๆ มาโดยชอบธรรม
2.ได้มาโดยไม่ต้องทำสัญญา เช่น การครอบครองทรัพย์สินของคนอื่นแบบเปิดเผยมาเป็นเวลานานๆ(การครอบครองปรปักษ์) จนกฎหมายถือว่าเราเป็นเจ้าของ หรือการได้ทรัพย์สินที่ไม่มีเจ้าของ


ตัวอย่างของผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน

ทำไมถึงต้องมีกลักการ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน หลักๆเลยการมีข้อกฎหมายผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนขึ้นมา เพื่อระงับข้อพิพาท ยื้อแย่งต่างๆในเรื่องของทรัพย์สิน

1.คุ้มครองสิทธิของเจ้าของทรัพย์สินนั้น

หลักกฎมายผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนนั้น ทำให้เจ้าของทรัพย์สินที่มีกรรมสิทธิ์สามารถติดตามทรัพย์สินของตนเองคืนได้ ถึงแม้ว่าทรัพย์สินนั้นจะถูกถ่ายโอนไปยังบุคคลอื่นแล้ว หากผู้โอนไม่ได้มีสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าว ผู้รับโอนก็ย่อมไม่มีสิทธิ์เช่นกัน ทำให้เจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงที่มีสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นสามารถติดตามเรียกทรัพย์สินของตนเองคืนมาได้

2.ป้องกันการฟอกเงินและการค้าขายสิ่งของที่ผิดกฎหมาย

หลักกฎมายผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนนั้นช่วยป้องกันไม่ให้ทรัพย์สินที่ได้มากจากการกระทำที่ผิดกฎหมาย ถูกโอนไปยังผู้อื่นเพื่อทำการฟอกเงินหรือปกปิดที่มาของทรัพย์สินนั้น หากผู้รับโอนไม่สามารถแจ้งที่มาที่ไปของทรัพย์สินนั้นได้ หรือไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้รับทรัพย์สินมาโดยสุจริต ก็อาจถูกสันนิษฐานว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย

3.ลดความเสี่ยงในการเกิดข้อพิพาท

หลักนี้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สิน หากผู้รับโอนทราบว่าตนจะไม่ได้รับสิทธิ์ดีไปกว่าผู้โอน ก็จะระมัดระวังในการทำธุรกรรมมากขึ้น และตรวจสอบที่มาของทรัพย์สินให้ดีก่อนตัดสินใจรับโอน

 

 


Untitled design (28).png

ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน ข้อยกเว้น

1.เจตนาลวง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 155

ในกรณีที่ผู้โอนได้ร่วมมือกับผู้อื่นหลอกลวงให้ได้ทรัพย์สินนั้นมาอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายโดยมีเจตนาลวง ทำให้ผู้โอนไม่มีสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น หากผู้โอนนำทรัพย์สินนั้นนำทรัพย์สินนั้นไปขายต่อแก่บุคคลผู้รับโอน โดยผู้รับโอนได้ทำการซื้อขายด้วยความบริสุทธิ์และต้องเสียเงินเพื่อซื้อทรัพย์สินนั้น กฎหมายจะถือว่าผู้รับโอนได้รับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นไป แม้ว่าผู้โอนจะไม่มีสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นก็ตาม

แต่ถ้าหากบุคคลภายนอกรับโอนโดยไม่สุจริต บุคคลภายนอกก็ไม่อาจได้กรรมสิทธิ์นั้นไป

Q: เสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้ หมายความว่ายังไงหรอคับ

ฎีกาที่1156/2545 (เจตนาลวง)

จำเลยที่ 2 ซื้อขายฝากที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ทราบว่าเป็นการโอนที่ดินโดยเจตนาลวง และซื้อขายฝากในราคาสูงกว่าราคาประเมิน จึงถือว่าสุจริต โจทก์ไม่สามารถยกข้อต่อสู้เรื่องเจตนาลวงมาใช้กับจำเลยที่ 2 ได้ และไม่สามารถเพิกถอนนิติกรรมขายฝากได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ไถ่ถอนที่ดิน และจำเลยที่ 2-4 ทำนิติกรรมต่อเนื่องกันไป นิติกรรมเหล่านี้ก็ไม่สามารถเพิกถอนได้เช่นกัน

2.ตัวแทนเชิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821

หากมีคนแอบอ้างเป็นตัวแทนของบุคคลหนึ่ง โดยที่บุคคลนั้นรับรู้ว่ามีการแอบอ้างเป็นตัวแทนของตนแต่ไม่ได้ปฎิเสธ บุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น เสมือนว่าบุคคลที่ได้ทำการแอบอ้างนั้นเป็นตัวแทนของตนจริง

ตัวอย่างเช่น หากมีคนแอบอ้างว่าเป็นตัวแทนของเจ้าของทรัพย์สิน แล้วทำการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นให้ผู้อื่นโดยที่เจ้าของทรัพย์สินรู้เห็นแต่ไม่ปฏิเสธ ผู้รับโอนจะได้รับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นไปโดยสุจริต เจ้าของทรัพย์สินจะไม่สามารถอ้างภายหลังได้ว่าไม่ได้มอบหมายให้บุคคลนั้นเป็นตัวแทน

ฎีกาที่2573/2546 (ตัวแทนเชิด)

จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ยินยอมให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์ ถือเป็นการเชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทน แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้ลงชื่อในสัญญา แต่ก็ต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าว การพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 2 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ และไม่ถือเป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญา

3.ได้มาด้วยวิธีอื่นนอกจากนิติกรรมและไม่ได้จดทะเบียน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง

การได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์มาโดยวิธีอื่นที่ไม่ใช่การซื้อขาย เช่น ครอบครองปรปักษ์ หรือได้รับมรดก แม้จะถือเป็นเจ้าของโดยชอบธรรม แต่จะสมบูรณ์เมื่อมีการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็นของตนเองเท่านั้น
หากยังไม่ได้จดทะเบียน คนอื่นจะไม่ทราบว่าเราเป็นเจ้าของแล้ว ถ้าเจ้าของเดิมในทะเบียนนำไปขายต่อให้ผู้อื่นที่ไม่รู้เรื่อง ซื้อโดยสุจริตและจดทะเบียนถูกต้อง ผู้ซื้อรายใหม่นี้จะกลายเป็นเจ้าของทันที แม้ว่าผู้ขายจะไม่ใช่เจ้าของที่แท้จริงแล้วก็ตาม

ฎีกาที่ 3797/2558 

การที่โจทก์ทั้งสี่อ้างว่าโจทก์ทั้งสี่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองที่ดินนั้นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่า 18 ปีนั้น เป็นการได้อสังหาริมทรัพย์มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม เมื่อไม่ปรากฏว่าการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างจำเลยทั้งหกกระทำโดยไม่สุจริตและโจทก์ทั้งสี่ยังมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งมิได้มีคำขอแสดงกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งสี่จึงฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกคืนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสี่อันจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง

4.การที่มีคนอ้างสิทธิ์หลายคน  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1303

ถ้ามีหลายคนอ้างสิทธิ์ในทรัพย์สินเดียวกัน โดยแต่ละคนอ้างหลักกรรมสิทธิ์ต่างกัน บุคคลที่จะได้สิทธิครอบครองทรัพย์สินนั้น คือบุคคลที่ได้รับทรัพย์สินมาโดยสุจริต และมีค่าตอบแทน

ฎีกาที่3040/2526 (การอ้างสิทธิ์หลายคน)

โจทก์ซื้อรถยนต์จากจำเลยที่ 1 ผ่านตัวแทนจำเลยที่ 2 โดยบริษัท จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์ยินยอม โจทก์ได้รับรถและชำระเงินแล้ว ถือว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์โดยสุจริต แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนโอน ต่อมารถยนต์ถูกจดทะเบียนโอนเป็นชื่อจำเลยที่ 3 เกิดข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3
ศาลตัดสินให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ เนื่องจากโจทก์ได้กรรมสิทธิ์โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก่อนการจดทะเบียนโอนให้จำเลยที่ 3 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1303


5.การซื้อโดยสุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1329

แม้ว่านิติกรรมที่เป็นโมฆียะจะถูกบอกล้างภายหลัง ทำให้ทรัพย์สินต้องส่งคืนกัน แต่ถ้ามีการโอนทรัพย์สินนั้นให้บุคคลภายนอกที่ไม่รู้เรื่องมาก่อน และบุคคลภายนอกนั้นได้จ่ายเงินซื้อไปอย่างสุจริต บุคคลภายนอกนั้นก็จะยังคงเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นต่อไป

ฎีกาที่1522/2546 

โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดแต่ให้ ผ. มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทน การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงซื้อขายที่ดินกันโดย ผ. ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นการตกลงทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินกันระหว่างโจทก์ ผ. และจำเลยที่ 1 เท่านั้น ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอก ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ได้หลอกลวงเป็นกลฉ้อฉลต่อโจทก์และ ผ. จนเป็นเหตุให้บุคคลทั้งสองหลงเชื่อตกลงขายที่ดินให้จำเลยที่ 1 อันทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะ แต่จำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินไว้จากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน แม้ภายหลังโจทก์ไปขอไถ่ถอนที่ดินคืนจากจำเลยที่ 2 ในขณะที่ยังไม่ครบกำหนดที่จำเลยที่ 1 จะไปไถ่ถอนคืนได้ตามสัญญา จำเลยที่ 2 ไม่ยอมให้ไถ่ถอน โจทก์ก็ไม่อาจยกเอาเหตุโมฆียะที่โจทก์ได้บอกล้างแล้วขึ้นต่อสู้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 160 ประกอบมาตรา 1329

6.ความผิดพลาดที่เกิดจากการบังคัคดี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1330

การบังคับคดีตามคำพิพากษาควรกระทำต่อทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น หากเกิดความผิดพลาดนำทรัพย์สินของบุคคลอื่นไปขายทอดตลาด แม้ว่าทรัพย์สินนั้นจะไม่ใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดก็ยังคงได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น

ฎีกาที่2444/2537 (ความผิดพลาดที่เกิดจากการบังคัคดี)

ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดโดยสุจริตมีสิทธิในทรัพย์นั้น แม้ภายหลังจะพบว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา และแม้ยังไม่ได้ชำระราคาครบถ้วนหรือจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ก็มีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้อาศัยในทรัพย์นั้นได้

7.บุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินมาโดยสุจริตในการขายทอดตลาด หรือในท้องตลาด หรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น ไม่จำเป็นต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา

ฎีกาที่1120/2495

สลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นทรัพย์สินที่ซื้อขายได้ ผู้ถือสลากถือเป็นเจ้าของเว้นแต่มีเหตุแสดงว่ามีไว้โดยไม่สุจริต การซื้อสลากโดยสุจริตจากผู้ค้าสลาก แม้สลากนั้นจะสูญหายจากเจ้าของเดิม ผู้ซื้อก็มีสิทธิ์ได้รับรางวัล


Untitled design (27).png

ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน มาตรา

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299

วางหลักไว้ว่า การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น จะต้องได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย หากผู้โอนไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ผู้รับโอนก็จะไม่ได้รับกรรมสิทธิ์เช่นกัน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300

เป็นข้อยกเว้นของหลัก "ผู้รับโอนไม่มีสิทธิ์ดีกว่าผู้โอน" ในกรณีที่ผู้รับโอนได้รับทรัพย์สินมาโดยเสียค่าตอบแทนและสุจริต และได้จดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ผู้รับโอนจะได้รับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น แม้ว่าผู้โอนจะไม่มีกรรมสิทธิ์ก็ตาม

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382

เป็นข้อยกเว้นอีกกรณีหนึ่ง คือ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ หากผู้รับโอนครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นโดยเปิดเผยและโดยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด ผู้รับโอนจะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น แม้ว่าผู้โอนจะไม่มีกรรมสิทธิ์ก็ตาม

หากกำลังทุกข์ใจอยากได้ที่ปรึกษาทางกฎหมาย สามารถปรึกษาทนายผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมง ครับ

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE