Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1303 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1303 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1303” คืออะไร? 


“มาตรา 1303” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1303 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าบุคคลหลายคนเรียกเอาสังหาริมทรัพย์เดียวกันโดยอาศัยหลักกรรมสิทธิ์ต่างกันไซร้ ท่านว่าทรัพย์สินตกอยู่ในครอบครองของบุคคลใด บุคคลนั้นมีสิทธิยิ่งกว่าบุคคลอื่น ๆ แต่ต้องได้ทรัพย์นั้นมาโดยมีค่าตอบแทนและได้การครอบครองโดยสุจริต
              ท่านมิให้ใช้มาตรานี้บังคับถึงสังหาริมทรัพย์ซึ่งระบุไว้ในมาตราก่อนและในเรื่องทรัพย์สินหาย กับทรัพย์สินที่ได้มาโดยการกระทำผิด “

 

ค้นหาได้ทุกเรื่อง : "บทความทางกฎหมาย, คำปรึกษาจริงพร้อมคำตอบจากทนายความ, มาตรากฎหมาย" >> คลิก !


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1303” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1303 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7366/2555
โจทก์ซึ่งอยู่ในฐานะบุคคลภายนอกผู้มีเพียงบุคคลสิทธิเหนือห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ตามสัญญาซื้อขายรถบัสพิพาทระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ย่อมไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนทะเบียนรถบัสพิพาทระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. กับจำเลยที่ 2 หรือให้จำเลยที่ 2 กรรมการบริษัท ด. โอนทะเบียนรถพิพาทมาให้โจทก์ได้ เพราะหลังจากทำสัญญาซื้อขายรถบัสพิพาทกับห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. แล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ไม่เคยได้กรรมสิทธิ์ในรถบัสพิพาทอันจะสามารถโอนทะเบียนให้แก่โจทก์ได้
ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์มีสิทธิดีกว่าเพราะเป็นเรื่องบุคคลหลายคนเรียกเอาสังหาริมทรัพย์โดยอาศัยหลักกรรมสิทธิ์ต่างกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1303 และโจทก์เป็นผู้ครอบครองทรัพย์นั้น การเรียกเอาสังหาริมทรัพย์ตามหลักกฎหมายดังกล่าวผู้เรียกต่างต้องได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เรียกด้วยหลักกรรมสิทธิ์อย่างใดอย่างหนึ่งก่อนจึงจะพิจารณาว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายครอบครองทรัพย์ในลำดับต่อไป แต่คดีนี้ได้ความว่า โจทก์ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถบัสพิพาทแต่อย่างใด เพียงแต่มีสิทธิจะได้รับเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่บริษัท พ. ครบถ้วนแล้วเท่านั้น โจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าได้กรรมสิทธิ์ในรถบัสพิพาทโดยอาศัยหลักกรรมสิทธิ์อย่างใดๆ ได้ แม้ว่าโจทก์จะครอบครองรถบัสพิพาทก็ตาม
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 458, ม. 1303

 


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3141/2552
โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 ชำระราคาครบถ้วนและส่งมอบรถยนต์พิพาทให้โจทก์ในวันที่ทำสัญญาแล้ว แต่ไม่ส่งมอบสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์พิพาท เมื่อโจทก์สอบถามไปยังบริษัท ส. จึงทราบว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 นำสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์พิพาทไปจดทะเบียนให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จำเลยที่ 3 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยจำเลยที่ 2 ได้เช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 ได้สั่งซื้อรถยนต์พิพาทจากบริษัท ส. และชำระราคาแล้ว แล้วได้มีการจดทะเบียนให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ครอบครองเมื่อคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทและครอบครองรถยนต์อยู่ก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 อันเป็นการกล่าวอ้างเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1303 ซึ่งผู้มีอำนาจโอนสิทธิในรถยนต์พิพาทให้โจทก์และจำเลยที่ 3 ต้องเป็นบุคคลคนเดียวกัน คดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของบริษัท ส. เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทหรือไม่ และการที่ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีได้นั้นคำพิพากษาต้องมีผลผูกพันบริษัท ส. ด้วย ทำให้บริษัท ส. ต้องเข้ามารับผิดต่อโจทก์ในฐานะคู่สัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 820 โดยจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว การเพิกถอนชื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ออกจากรายการจดทะเบียนและจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทซึ่งต้องอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. ตามคำขอของโจทก์ย่อมกระทบกระเทือนถึงสิทธิของบริษัท ส. ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องหรือขอให้เรียกบริษัท ส. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย ผลของคำพิพากษาย่อมไม่ผูกพันบริษัท ส. ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 820, ม. 1303
ป.วิ.พ. ม. 142 (5), ม. 145


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2533
โจทก์ทราบอยู่แล้วว่าจำเลยได้ขายรถยนต์พิพาทให้ผู้ร้องสอดแต่กลับรับรถยนต์นั้นไว้ก่อน กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้การครอบครองรถยนต์ไว้โดยสุจริต การที่โจทก์นิ่งเสียไม่แจ้งเรื่องที่โจทก์ได้ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยให้ผู้ร้องสอดทราบในขณะที่ผู้ร้องสอดและจำเลยทำสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทกันยังไม่เสร็จ ย่อมทำให้ผู้ร้องสอดหลงผิดเข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทให้ผู้ร้องสอดได้ ดังนี้ โจทก์จะมาอ้างในภายหลังว่ารถยนต์ดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แล้ว จำเลยไม่มีกรรมสิทธิ์ที่จะโอนให้ผู้ร้องสอดอีก เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 5, ม. 1303
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที