อายุความบัตรเครดิตมีเวลากี่ปี ถ้าเกินแล้วต้องทำอย่างไร?
เมื่อมีความจำเป็นต้องจับจ่ายใช้สอย เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเลือกใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตกัน เพราะมีความสะดวก รวดเร็วในการใช้งาน ช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงิน เพราะสามารถใช้ผ่อนชำระสินค้าและบริการได้ แต่การใช้บัตรเครดิตโดยขาดการวางแผนอย่างรอบคอบอาจส่งผลให้เกิดหนี้บัตรเครดิตสะสมเป็นจำนวนมาก และหากค้างชำระนานเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดก็จะกลายเป็นคดีความกับสถาบันทางการเงินเจ้าของบัตรเครดิตได้
'เป็นหนี้บัตรเครดิตไม่ต้องกังวลใจ อ่านบทความนี้เพื่อหาทางออก คลิกเลย'
และแม้ว่าคดีความนี้จะมีอายุความ แต่หากไม่เร่งจัดการเสียแต่เนิ่น ๆ ก็อาจทำให้ปัญหายืดเยื้อ ต้องเสียเวลาขึ้นโรงขึ้นศาล และยังอาจส่งผลให้สถานะทางการเงินไม่ดี จนส่งผลกระทบต่อการขอสินเชื่อ หรือทำธุรกรรมทางการเงินอื่น ๆ ได้
คดีบัตรเครดิตจะเริ่มนับอายุความเมื่อใด
คดีบัตรเครดิตโดยทั่วไป เมื่อเจ้าหนี้แจ้งกำหนดการชำระหนี้ให้ลูกหนี้ทราบแล้ว เมื่อถึงกำหนดเวลาแต่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ อายุความบัตรเครดิตก็จะเริ่มนับทันทีในวันถัดไป โดยอายุความจะนาน 2 ปีนับจากวัดที่ผิดนัดชำระหนี้ ดังนั้นหากธนาคารไม่ได้ฟ้องร้องภายใน 2 ปี คดีก็จะขาดอายุความ ส่งผลให้ธนาคารหมดสิทธิที่จะเรียกร้องต่อลูกหนี้ แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะขาดอายุความไปแล้ว แต่ทางฝ่ายเจ้าหนี้ก็ยังสามารถยื่นฟ้องต่อศาลได้ โดยการดำเนินการตามกระบวนการของกฎหมายอาจรวมถึงการที่ศาลพิจารณาหยิบยกเรื่องการขาดอายุความขึ้นมาพิจารณาด้วย ดังนั้นลูกหนี้จึงต้องยื่นคำให้การเพื่อต่อสู้คดีในเรื่องของการขาดอายุความต่อไป และการต่อสู้ในชั้นศาลจะพิจารณาในข้อกำหนดในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/29 ที่กำหนดว่า เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้
อ่านมากกว่า 40 คำปรึกษาจริงพร้อมคำตอบจากทนายความที่เชี่ยวชาญด้านหนี้บัตรเครดิต คลิก
Q: เป็นหนี้บัตรเครดิตแล้วโดนฟ้องศาล ต้องทำอย่างไร
Q: พ่อเสียชีวิตไปแล้ว 2 ปี แต่ผมโดนฟ้องคดีหนี้บัตรเครดิต
Q: โดนฟ้อง ผิดนัดไม่ชำระหนี้บัตรเงินสด
สาเหตุที่ทำให้เกิดอายุความบัตรเครดิต
- ลูกหนี้ไม่สามารถจ่ายคืนหนี้บัตรเครดิตได้ตรงเวลา เมื่อเกินกำหนดจึงมีค่าปรับ และดอกเบี้ยเพิ่มเข้ามาเรื่อย ๆ
- การจ่ายคืนบัตรเครดิต ด้วยเรทขั้นต่ำ เพราะการกระทำจะยิ่งส่งผลเวลาในการชำระหนี้ยาวนานออกไป ส่งผลให้เกิดดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
- ขาดวินัยทางการเงิน ชอบรูดบัตรเครดิตก่อนผ่อนชำระ ซึ่งการผ่อนชำระราคาสินค้าหลายตัวพร้อม ๆ กัน อาจทำให้เกิดภาระค้างชำระหนี้บัตรเครดิตได้ง่าย และหลายคนอาจกลายเป็นปัญหาเรื้อรังบานปลายได้
- ไม่มีการกำหนดขอบเขตการใช้บัตรเครดิตอย่างเหมาะสม ส่งผลให้วงเงินการใช้เพิ่มสูงเกินความสามารถในการชำระ และอาจนำไปสู่ภาวะที่เรียกได้ว่าจ่ายคืนไม่ไหวได้
'คลิก! เพื่อดูทนายความที่เชี่ยวชาญด้านหนี้บัตรเครดิตที่สามารถช่วยคุณได้'
หนี้บัตรเครดิตเท่าใด จึงจะเกิดอายุความบัตรเครดิต
ตามบัญญัติกฎหมายได้ระบุเอาไว้ชัดเจนว่าไม่ว่ามูลหนี้จะมีมูลค่าเท่าใด เมื่อมีการผิดนัดชำระหนี้เจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิ์ฟ้องร้องได้ แต่หากมูลค่าหนี้มากกว่า 2,000 บาท การฟ้องร้องจะทำได้ก็เมื่อมีหลักฐานคือสัญญาหนังสือเงินกู้เท่านั้น มิฉะนั้นจะไม่สามารถฟ้องได้ อย่างไรก็ตามหนี้บัตรเครดิตถือว่าเป็นคดีแพ่ง มิใช่คดีทางอาญาจึงไม่มีบทลงโทษเกี่ยวกับการจับกุมหรือคุมขัง แต่หากพบการทุจริตหรือปลอมแปลงเอกสารทางการเงินก็อาจต้องโทษคดีอาญาได้
'ปลอมแปลงเอกสาร โทษหนักแค่ไหน คลิกเลยที่นี่มีคำตอบ!'
หากหมดอายุความบัตรเครดิตจะต้องดำเนินการอย่างไร
เมื่อครบกำหนดอายุความของบัตรเครดิต และเจ้าหนี้มีการฟ้องร้องลูกหนี้ ทางศาลก็จะออกหมายศาลส่งมายังที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน ลูกหนี้จำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
- ตรวจสอบรายละเอียดในหมายศาล ทั้งหมายเลขคดี ศาลที่ฟ้อง และตรวจสอบว่าได้ก่อหนี้ตามที่ระบุไว้จริงหรือไม่ หรือรายการหนี้สินตรงกับสัญญาของตนเองหรือไม่
- ตรวจสอบว่าเจ้าหนี้ได้ฟ้องภายในระยะเวลาเท่าใด หรือมีอายุความตามที่ศาลกำหนดหรือไม่
'จริงๆแล้วคดีแพ่งมีอายุความกี่ปี หาคำตอบได้ที่นี่ คลิกเลย!'
หากพบข้อขัดแย้ง เช่นยอดหนี้ หรือดอกเบี้ยไม่ตรงกับสัญญา ลูกหนี้ต้องเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อยื่นให้ศาลพิจารณาต่อไป
'ดอกเบี้ยต้องร้อยละเท่าไร ถึงจะไม่ผิดกฎหมาย คลิกเลย!'
การจัดการทรัพย์สิน หากแพ้คดีความหนี้บัตรเครดิต
หากศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดี ลูกหนี้ก็มีหน้าที่ที่จะชำระคืนตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน ซึ่งหากไม่สามารถชำระหนี้ได้ ทางเจ้าหนี้ก็มีสิทธิที่จะยึดทรัพย์หรืออายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ได้ โดยศาลจะตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อออกหมายยึด และอายัดทรัพย์ต่อไป ซึ่งทรัพย์สินที่สามารถเจ้าหน้าสามารถยึดได้คือ
- เงินเดือน เจ้าหนี้สามารถอายัดได้ไม่เกิน 30% และลูกหนี้ต้องมีเงินเดือนสูงกว่า 20,000 บาทจึงจะสามารถอายัดได้ และหากลูกหนี้มีค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่น ๆ อย่างค่าเลี้ยงดูบุตร หรือค่ารักษาพยาบาลก็สามารถนำหลักฐานค่าใช้จ่ายเหล่านี้มาขอลดหย่อนที่กรมบังคับคดีเพื่อลดเปอร์เซ็นต์ในการอายัดเงินเดือนได้
- เงินโบนัส เจ้าหนี้สามารถอายัดได้ไม่เกิน 50%
- เงินตอบแทนการออกจากงาน เจ้าหนี้สามารถอายัดไว้ได้ไม่เกินสามแสนบาท หรือตามดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่บังคับคดี
- เงินค่าตอบแทน เงินสวัสดิการต่าง ๆ เช่น ค่าน้ำมัน ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ เจ้าหนี้สามารถอายัดได้ไม่เกิน 30%ของจำนวนเงินที่ลูกหนี้มีสิทธิได้รับ
- เงินในบัญชีเงินฝาก หรือเงินปันผลที่ได้จากการลงทุน เจ้าหนี้สามารถอายัดได้ตามที่ขอ หากเจ้าหนี้ไม่ได้ระบุปีที่ขออายัด เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจกำหนดให้อายัดเป็นประจำทุกปีจนกว่าจะพ้นหนี้
- ทรัพย์สินที่เป็นการลงทุน ตัวอย่างเช่น หุ้น ทองคำ ตราสารหนี้ หรือ กองทุนต่าง ๆ เจ้าหนี้สามารถอายัดได้ตามที่ขอ โดยระบุให้บุคคลภายนอกเป็นผู้รับคำสั่งในการอายัดส่งเงิน เมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาสิ้นสมาชิกภาพในทรัพย์สินนั้น
ส่วนทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ไม่สามารถอายัดเอาไว้ได้
- เงินเดือน ค่าจ้าง บํานาญ บําเหน็จ หรือเบี้ยหวัดของลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการ
- เงินเบี้ยเพื่อเลี้ยงชีพ (เบี้ยคนชรา, เบี้ยคนพิการ)
- เงินค่าวิทยฐานะ(ค่าตำแหน่งทางวิชาการ) ในกรณีที่เป็นข้าราชการ
- เงินกองทุนบำเหน็จบำนาญสำหรับข้าราชการ
- เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
'ดูข้อยกเว้น ของการยึดทรัพย์สินของเจ้าหนี้ได้ที่นี่ คลิก!'
อายุความบัตรเครดิตมีอายุ 2 ปี โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผิดนัดชำระหนี้ (เจ้าหนี้สามารถใช้สิทธิเรียกร้องได้ทันที) หรือวันที่มีการชำระหนี้บางส่วน หรือมีการชำระดอกเบี้ย (กรณีนี้หากชำระหลังจากที่เริ่มนับอายุความแล้ว จะส่งผลให้อายุความสะดุดหยุดลง ต้องเริ่มนับอายุความใหม่)หรือในกรณีที่หนี้ขาดอายุความ หรือนานเกินกว่า 2 ปี แล้ว แต่ลูกหนี้ได้ชำระหนี้บางส่วน หรือชำระดอกเบี้ยแล้วก็จะถือว่าเป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความ ต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตามมาตราที่กฎหมายกำหนด หรือสามารถสอบถามได้ที่ Legardy ทนายความออนไลน์ ที่พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
แหล่งที่มา
https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/tips-for-you/legal-debt.html
https://www.ktc.co.th/article/knowledge/credit-card/credit-card-debt-statute-of-limitation
https://moneyhub.in.th/article/credit-card-debt-litigation-and-prescription/
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



