เผยแพร่เมื่อ: 2024-01-19

มาเข้าใจหลักในการตั้งดอกเบี้ยกันครับ

วันนี้นะครับจะมาขอพูดถึงเรื่อง “ดอกเบี้ย” ซึ่งดอกเบี้ยที่ผมจะพูดถึงได้แก่ ดอกเบี้ยที่ตั้งก่อนผิดนัดและดอกเบี้ยที่ตั้งหลังผิดนัด

 

interest-rate-1.png

ดอกเบี้ยก่อนผิดนัด 

 

อัตราการคิดดอกเบี้ย

ถูกบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ว่า 

“ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี” 

หมายความว่า ในหนี้เงินนั้นลูกหนี้กับเจ้าหนี้สามารถตกลงให้คิดดอกเบี้ยจากต้นเงินได้มากสุดแค่ ร้อยละ 15 ต่อปีเท่านั้น ห้ามคิดเกินร้อยละ 15 ถ้าคิดเกินในส่วนดอกเบี้ยย่อมตกเป็นโมฆะเจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ไม่ได้ แต่ยังสามารถเรียกเงินที่ลูกหนี้กู้ยืมไปได้ตามจำนวนที่กู้กันจริง นอกจากนี้การเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดย่อมเป็นความผิดทางอาญาตาม

กู้นอกระบบดอกเบี้ยโหด ส่งไม่ไหวต้องทำอย่างไร ? หาคำตอบได้ที่นี่ คลิกเลย!

 

interest-rate-2.png

 

พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 

มาตรา 3 ว่า “บุคคลใดให้บุคคลอื่นยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้มีความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 1,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ” 

 

 

ตัวอย่างคดีเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่น่าสนใจดังนี้… 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2560

การที่จำเลยยอมชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดแก่โจทก์ ถือเป็นชำระหนี้ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตามป.พ.พ.มาตรา 411 จำเลยหาอาจเรียกร้องให้คืนดอกเบี้ยที่ชำระได้ไม่ เมื่อดอกเบี้ยเป็นโมฆะและจำเลยไม่อาจเรียกคืนได้โจทก์ก็ย่อมไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ยดังกล่าวด้วย 

ต้องการปรึกษาทนายฟรีใช่ไหม ? Legardy มีบริการปรึกษาทนายฟรีตลอด 24ชั่วโมง เริ่มปรึกษาเลย คลิกที่นี่!

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1492/2563 

จำเลยกู้เงินโจทก์ 20,000 บาท ดอกเบี้ยคิดเดือนละ 2,000 บาทเท่ากับร้อยละ 10 ต่อเดือนเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ตามที่บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 654 เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 และตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 มาตรา 4 ยังคงบัญญัติเป็นความผิด โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ยจากจำเลยคงเรียกร้องได้เฉพาะเงินต้นที่จำเลยกู้ไปแยกจากส่วนดอกเบี้ยที่ตกเป็นโมฆะ

 

interest-rate-3.png

ดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด ซึ่งดอกเบี้ยตามข้อนี้

 

ถูกบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งว่า 

“หนี้เงินนั้น ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราที่กำหนดตามมาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น” 

หมายความว่า หนี้ที่เจ้าหนี้สามารถคิดดอกเบี้ยจากลูกหนี้ได้นั้นจะต้องเป็นหนี้เงินเช่น สัญญากู้ยืมเงิน และเป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฎิทินแน่นอน 

 

ตัวอย่างที่ 1 กรณีดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด

เช่น ก.ยืมเงิน ข.10,000 บาท กำหนดชำระ 1 ตุลาคม 2566 เมื่อผ่านวันที่ 1 ตุลาคมไปแล้ว ก.ยังไม่ชำระ ข.ก็สามารถเรียกเงินต้น (10,000 บาท)พร้อมดอกเบี้ยในระหว่างที่ ข.ผิดนัดได้ตามมาตรา 224 วรรคหนึ่งซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนดคือจากในมาตรา 7 คือร้อยละ 3 ต่อปีรวมกับร้อยละ 2 ต่อปี = ร้อยละ 5 ต่อปี ดังนั้น ข.จึงสามารถเรียกต้นเงินจาก ก.10,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปีจาก ก.นั่นเอง 

ดอกเบี้ยในส่วนนี้แม้ไม่ตกลงกันมาก่อนแต่ถ้าลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระ เจ้าหนี้ก็เรียกได้ทันทีอัตโนมัติ 

 

อ่านคำปรึกษาจริงเรื่อง "ดอกเบี้ย" พร้อมคำตอบจากทนายความได้ที่นี่ คลิกเลย!

Q: สอบถามดอกเบี้ยเงินกู้ค่ะ

Q: ดอกเบี้ยเงินกู้รายเดือน

Q: กู้เงินเพื่อน 9,000บาทดอกเบี้ยร้อยละ25บาทต่อ10วัน

ตัวอย่างที่ 2 กรณีดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด

เช่น ก.ยืมเงิน ข.ไม่กำหนดดอกเบี้ยไว้เลย ต่อมา ก.ผิดนัด ข.ก็เรียกดอกเบี้ยจากก.ได้ร้อยละ 5 ต่อปีทันที , ก.กับ ข.ตกลงดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดร้อยละ 1 หรือร้อยละ 4 ต่อปี แต่เมื่อผิดนัดก็คิดดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปีได้เช่นกัน หรือกรณี ที่ ก.กับ ข.ตกลงดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปีขึ้นไปหรือร้อยละ 10 ต่อปี แม้เกินกว่าร้อยละ 5 ที่กฎหมายกำหนดแต่ก็เป็นกรณีที่คู่สัญญาสามารถตกลงกันได้โดยมีเหตุตามกฎหมาย ดังนั้นเมื่อก.ผิดนัดจึงต้องชำระดอกเบี้ยร้อยละ 6 หรือร้อยละ 10 ต่อข.แล้วแต่กรณีตามที่ตกลง

 

อัตราดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด

 ซึ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่งนั้นรัฐบาลได้ออกพระราชกำหนดให้มีการแก้ไขในพ.ศ.2564 และให้ประกาศใช้ในพระราชกิจจานุเบกษาวันที่ 11 เมษายน 2564 เนื่องจากแต่เดิม มาตรา 224 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า “หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น” ซึ่งเดิมดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดคือ ร้อยละ 7.5 ต่อปี หลังแก้ไขกฎหมายก็ลดเป็นร้อยละ 5 ต่อปี แต่ทั้งนี้ไม่กระทบต่อสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะเรียกอัตราดอกเบี้ยได้ก่อนที่จะมีการแก้ไขกฎหมาย 

 

ตัวอย่างที่ 3 กรณีดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด

ก.ยืมเงิน ข.วันที่ 1 มีนาคม 2564 กำหนดคืน 31 มีนาคม 2564 เมื่อ 31 มีนาคม ก.ไม่คืน ก.ตกเป็นผู้ผิดนัดทันทีวันที่ 1 เมษายนและคงไม่ชำระเงินเรื่อยมา ดังนั้น ระหว่างวันที่ 1-10 เมษายน 2564 ข.เรียกดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่หลังวันที่ 11 เมษายนเป็นต้นไป ข.จะเรียกดอกเบี้ยจากก.ได้แค่เพียงร้อยละ 5 ต่อปี ไม่ใช่ร้อยละ 7.5 แล้วเพราะไม่ได้ตกลงดอกเบี้ยกันไว้ก่อน ดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้กล่าวไปแล้วนะครับ 

 

 

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE