ก่อนกู้ต้องเช็กหนังสือสัญญากู้ยืมเงินอย่างไร
จำเป็นต้องกู้ยืมเงิน แต่ต้องมีการเซ็นหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน แบบนี้ต้องทำอย่างไรบ้าง เช็กดูอย่างไรให้รู้ว่าสัญญาฉบับนี้มีความถูกต้องตามกฎหมาย หนังสือสัญญากู้เงินมีความสำคัญอย่างไร มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กัน เพื่อป้องกันการเสียเปรียบให้กับนายหน้าเงินกู้ก็สถาบันการเงินที่ไม่ถูกต้อง
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินสำคัญอย่างไร
หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน หรือสัญญากู้ยืม เป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่ใช้สำหรับการกู้ยืมเงินด้วยเหตุผลต่าง ๆ เป็นเอกสารสำคัญที่ผู้กู้ และผู้ให้กู้เงิน จะใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการชำระหนี้นั้นเอง ทั้งนี้ยังเป็นการการันตีการชดใช้หนี้ตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา ไม่ว่าจะเป็นผู้กู้หรือผู้ให้กู้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำผิดสัญญาจะมีหลักฐานเอาผิดได้ตามกฎหมาย มีลักษณะที่สำคัญทั้งหมด 3 ส่วนคือ
- ผู้ให้กู้ยืมต้องโอนกรรมสิทธิ์ในเงินให้กับผู้กู้
- ผู้กู้เงินจะต้องคืนเงินในจำนวนที่เท่ากันแทนเงินที่ยืมไป
- สัญญาเงินกู้ยืมจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อส่งเงินกู้
ข้อมูลในหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน ต้องมีอะไรบ้าง
ในสัญญากู้เงินนั้นมีจุดที่สำคัญอยู่หลายจุด แต่ละจุดล้วนเป็นมีความสำคัญในการยืนยันความถูกต้องกรณีมีข้อพิพาทภายหลัง โดยรายละเอียดที่สำคัญเหล่านั้น คือ
1. ชื่อผู้ให้กู้และผู้กู้
ชื่อ นามสกุล เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมากในหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน ต้องระบุให้ชัดเจน และต้องมีการบันทึกเลขประจำตัวประชาชนทั้ง 13 หลักให้ถูกต้อง ทั้งสองฝ่าย ข้อนี้เป็นหลักพื้นฐานของการทำสัญญาทุกประเภท ตัวสะกดต้องถูกต้องชัดเจน เช่นเดียวกันด้วย
2. วันเดือนปีที่ทำสัญญา
ในการระบุวันเดือนปีที่ทำสัญญานั้น มีผลต่อการชำระดอกเบี้ย ดังนั้นวันที่ที่เริ่มต้นในการทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินนั้นจึงเป็นการเริ่มต้นสัญญากู้เงินที่ชัดเจน ควรเขียนด้วยวันที่เต็มเพื่อป้องกันความผิดพลาดอื่น ๆ ตามวันและเวลาจริง ๆ ด้วย
3. จำนวนเงินที่กู้
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินนั้นจะต้องมีการระบุยอดจำนวนเงินที่ต้องการจะกู้อย่างชัดเจน ไม่เพียงต้องเขียนเป็นตัวเลขไทย หรือ อารบิกเท่านั้น จำเป็นมากที่ต้องเขียนเป็นหัวหนังสือกำหนดอีกครั้งเพื่อความชัดเจนของจำนวนเงินที่ทำการกู้ยืมไป
ไม่มีสัญญากู้เงินยืมสามารถฟ้องลูกหนี้ได้ไหม ? เขียนโดยทนายตัวจริง
4. กำหนดชำระคืน
เมื่อหนังสือสัญญากู้ยืมเงินมีการระบุเงินที่ต้องการกู้ไปแล้ว ต่อมาต้องมีการกำหนดวันเดือนปีที่ต้องชำระเงินที่กู้ไป เช่น ต้องชดใช้ทั้งหมดภายในเดือนไหน วันที่เท่าไหร่ พุทธศักราชอะไร และต้องระบุให้ชัดเจนเกี่ยวกับวันในการชำระดอกเบี้ยด้วย
5. ดอกเบี้ยต่อเดือน/ต่อปี
ดอกเบี้ยเป็นเรื่องที่ต้องมาพร้อมกับหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน เพราะโดยปกติแล้วไม่เพียงแต่การทำสัญญากู้เงินรายบุคคลเท่านั้น การทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินกับสถาบันการเงิน หรือธนาคารต่าง ๆ ก็จะมีการระบุอัตราดอกเบี้ยต่อปีที่ผู้กู้ต้องทำการชำระอย่างชัดเจนด้วย
อัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนด คิดได้ร้อยละเท่าไร คลิกเพื่ออ่าน!
6. ลายเซ็นผู้กู้
ในการลงลายเซ็นในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินนั้น จำเป็นอย่างมากที่ต้องเซ็นด้วยตัวเอง มีพยานในการเซ็นสัญญากู้ยืมเงิน ก่อนลงลายมือชื่อนั้นต้องตรวจสอบให้ชัดเจนเสียก่อนที่จะลงชื่อในหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน ว่ารายละเอียดข้างต้นนั้นชัดเจนหรือไม่ แล้วหากจะป้องกันการปลอมแปลงสามารถบันทึกลายนิ้วมือในการทำสัญญานั้น ๆ ด้วย
คลิกเลย อ่านมากกว่า 15คำปรึกษาจริง เรื่องการยืมเงินและมีสัญญากู้
Q: ลูกหนี้เป็นข้าราชการ ทร. มีสัญญากู้ยืม
Q: ยืมเงินไม่คืน มีหลักฐานการยืมผ่านแชท,สำเนาบัตรปชช. แต่ไม่มีสัญญากู้ยืม
ข้อควรระวังก่อนเซ็นหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน
ก่อนที่จะมีการลงชื่อในหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน ควรต้องระมัดระวังข้อความต่าง ๆ ที่ระบุในสัญญาให้ถูกต้องเสียก่อน โดยข้อควรระวังดังกล่าวนี้ เช่น
1. ตรวจสอบจำนวนเงิน และทำความเข้าใจเนื้อหาในสัญญาก่อนเซ็นหนังสือสัญญากู้ยืมเงินทุกครั้ง
2. ห้ามลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่าเด็ดขาด หรือสัญญาที่มีการเว้น เว้นช่องว่างผิดปกติ เนื่องจากผู้ให้กู้อาจจะเติมข้อความหรือเนื้อหาอื่น ๆ ในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินหลังจากที่เราเซ็นชื่อไปแล้ว ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในอนาคตได้
3. ไม่ควรนำโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับการทำประโยชน์ในที่ดิน (น.ส.3) ไปให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงิน
4. หนังสือสัญญากู้ยืมเงินต้องทำอย่างน้อย 2 ฉบับ โดยให้ผู้กู้ยืมถือไว้ด้วย 1 ฉบับ
5. ในสัญญาควรมีลายเซ็นพยานฝ่ายผู้กู้ยืมอย่างน้อย 1 คน
6. การชำระหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ต้องขอรับใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการรับเงินซึ่งมีลายมือชื่อผู้ให้กู้ยืมลงกำกับด้วยทุกครั้ง เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าได้ชำระหนี้แล้ว
7. เมื่อชำระหนี้ทั้งหมดต้องขอหนังสือสัญญากู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ยืมด้วย
ไม่มีสัญญากู้เงินยืมสามารถฟ้องลูกหนี้ได้ไหม ? เขียนโดยทนายตัวจริง
สรุปบทความ
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินนั้น เป็นเอกสารสำคัญที่สำคัญทั้งกับผู้กู้และผู้ให้กู้ เพราะหากเกิดการผิดสัญญาจนเป็นข้อพิพาทในอนาคตนั้น จะสามารถใช้เป็นหลักฐานในศาลได้ นอกจากการมองหาปรึกษาทนายความดี ๆ แล้วก็ต้องให้ความสำคัญกับการทำสัญญากู้ยืมด้วย เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจหากต้องทำสัญญา ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้กู้ หรือผู้ให้กู้ก็ตาม
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



