สัญญาเงินกู้จำเป็นต้องทำเมื่อใด
ที่มาของรูปภาพ Law Division KKU
การกู้ยืมเงินสามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ เชื่อว่าหลาย ๆ คนต่างก็มีประสบการณ์เคยยืมเงินเพื่อนฝูงหรือคนรู้จักกันมาแล้วทั้งนั้น จำนวนเงินจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคนด้วย และการยืมก็ไม่จำเป็นต้องทำสัญญาการกู้ยืมทุกครั้ง แต่เพื่อป้องกันปัญหาในการทวงถามเมื่อฝ่ายยืมค้างชำระ ทางกฎหมายจึงได้ออกกำหนดการทำเอกสารสัญญาเพื่อการกู้ยืมเงินขึ้นมา แต่เอกสารนี้จำเป็นต้องใช้ทุกครั้งหรือไม่ และหากจะทำขึ้นมาจะต้องระบุรายละเอียดอย่างไร มีหลักฐานใดเกี่ยวข้องหรือไม่ ซึ่งในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจกับเอกสารสัญญานี้กัน
'ทำไมสัญญาต้องทำเป็นเอกสาร สำคัญอย่างไร คลิกที่นี่เพื่อหาคำตอบ'
สัญญาเงินกู้ คือ
สัญญาเงินกู้ คือเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการกู้ยืมเงิน ซึ่งเกิดจาก “ผู้กู้” และ “ผู้ให้กู้” เป็นเอกสารที่ใช้เพื่อยืนยันว่า คน ๆ หนึ่งได้ทำสัญญาว่ามีการกู้ยืมเงินระหว่างกัน เป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ อัตราดอกเบี้ยเป็นอย่างไร และผู้กู้จะใช้คืนภายในเวลาใด และหากมีฝ่ายใดกระทำผิด อีกฝ่ายมีสิทธิ์ดำเนินการตามกฎหมายได้ โดยการกู้ยืมจะมีผลเมื่อมีการส่งมอบเงินให้แก่ผู้ยืมแล้ว และเอกสารสัญญาที่มีการตกลงลงนามยินยอมกันทั้ง 2 ฝ่ายในสัญญา ก็จะมีผลบังคับใช้ทันที
ประเภทของสัญญายืม สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือสัญญายืมใช้คงรูป เป็นสัญญายืมสิ่งของที่จะต้องนำมาคืนตามสภาพเดิม และอีกประเภทคือสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง ซึ่งการกู้ยืมเงินจัดอยู่ในประเภทของสัญญานี้ เพราะเป็นสัญญาที่ผู้ให้ยืมได้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินในปริมาณเดียวกันคืนให้ หรืออาจใช้ทรัพย์สินอื่นที่มูลค่าเท่า ๆ กันแทนรวมทั้งอาจมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยด้วย
'เช็คให้ชัวร์! สัญญากู้ยืมต้องมีรายละเอียดอะไรบ้าง? คลิกเลย'
สัญญาเงินกู้ จำเป็นต้องทำเมื่อใด
ตามกฎหมายการกู้ยืมเงิน เมื่อกู้ยืมเงินมากกว่า 2,000 บาท จะต้องมีการทำสัญญาการกู้ยืม โดยมีลายมือชื่อของผู้กู้อยู่ในสัญญาด้วย และหากไม่มีหลักฐานหรือสัญญาก็จะไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ ถึงแม้ว่าหนี้นั้นจะชอบด้วยกฎหมายก็ตาม และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ต้องไม่เกิน 15% ต่อปี หากเจ้าหนี้เรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กำหนด ตามกฎหมายจะถือว่าดอกเบี้ยนั้นเป็นโมฆะ และกรณีที่มีการผิดสัญญา อายุความของคดีกู้ยืมเงินจะมี 10 ปีนับตั้งแต่กำหนดวันที่ต้องชำระเงินคืน แต่หากมีกำหนดการคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นงวด ๆ ตามสัญญาบางส่วนแล้ว คดีฟ้องร้องก็จะมีอายุความเพียง 5 ปีเท่านั้น
'เช็คด่วน! ดอกเบี้ยที่ถูกกฎหมายต้องคิดร้อยละเท่าไร? คลิกเลยเพื่อหาคำตอบ'
หลักฐานที่ต้องระบุในสัญญาเงินกู้
เมื่อตกลงทำสัญญากู้ยืมเงินเพื่อใช้เป็นหลักฐานป้องกันการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามสัญญา หรือเรียกว่าเป็นหลักฐานที่เป็นเอกสารและจะต้องมีข้อความระบุว่าได้กู้ยืมเงินเป็นเงินจำนวนเท่าใด มีกำหนดใช้คืนเมื่อใด และต้องมีการลงลายมือชื่อของผู้กู้ด้วย โดยรายละเอียดที่ต้องระบุในสัญญากู้ยืมเงินนั้น ได้แก่
- วันที่ที่ทำสัญญากู้ยืมเงิน
- ชื่อ – นามสกุล ทั้งของผู้ขอกู้เงินและผู้ให้กู้เงิน
- จำนวนเงินที่กู้ (ต้องระบุจำนวนเงินเป็นตัวหนังสือกำกับไว้ให้ชัดเจน)
- กำหนดการที่จะต้องชำระคืน
- ดอกเบี้ยต่อเดือน หรือต่อปี (ถ้ามี)
- ลายมือชื่อของผู้กู้ยืม
- ลายมือชื่อของผู้ให้กู้ (มีหรือไม่ก็ได้)
- รายละเอียดอื่น ๆ เช่น สถานที่ที่ทำสัญญา ผลที่เกิดขึ้นเมื่อทำผิดสัญญา พยานในการทำสัญญา เป็นต้น
คลิกเลย อ่านมากกว่า 15คำปรึกษาจริง เรื่องการยืมเงินและมีสัญญากู้
Q: ลูกหนี้เป็นข้าราชการ ทร. มีสัญญากู้ยืม
Q: ยืมเงินไม่คืน มีหลักฐานการยืมผ่านแชท,สำเนาบัตรปชช. แต่ไม่มีสัญญากู้ยืม
Q: ต้องการฟ้องแฟนเก่า ฐานะลูกหนี้
ข้อควรระวังก่อนลงชื่อในสัญญาเงินกู้
- ตรวจสอบสัญญาให้รอบคอบก่อนลงลายมือชื่อ ก่อนเซ็นต์สัญญากู้ยืมเงินทุกครั้ง ต้องอ่านและตรวจสอบรายละเอียดให้รอบคอบ โดยทำความเข้าใจเนื้อหาในสัญญากู้ยืมเงินอย่างรอบคอบ เจ้าหนี้บางรายอาจพิมพ์ข้อความในสัญญาด้วยภาษากฎหมายที่เข้าใจยาก ซึ่งหากวิเคราะห์ไม่ถี่ถ้วนก็อาจทำให้ผู้กู้เสียเปรียบได้
- ระวังสัญญากู้ยืมเงินที่มีการเว้นช่องว่างเฉพาะจุด หากพบการเว้นวรรค หรือช่องไฟระหว่างคำที่ผิดปกติ เราแนะนำว่าไม่ควรเซ็นต์ลายมือชื่อลงไป เพราะช่องว่างเหล่านี้อาจถูกแก้ไข เติมแต่งข้อความลงไปภายหลังจากที่ผู้กู้ลงลายเซ็นต์แล้วได้
- เพิ่มลายนิ้วมือลงไปในสัญญากู้ยืม เพื่อป้องกันการปลอมแปลงลายเซ็น ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้การปลอมแปลงลายเซ็นต์ทำได้ง่ายขึ้น ทั้งยังพิสูจน์ได้ยาก เพื่อความปลอดภัยและป้องกันปัญหา แนะนำให้พิมพ์ลายนิ้วมือของผู้กู้ลงไปในเอกสารสัญญาด้วย เพราะลายนิ้วมือนั้นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะบุคคลที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบ หรือปลอมแปลงได้ หรือหากต้องการความรัดกุมที่มากขึ้น แนะนำให้เซ็นต์ชื่อกำกับลายนิ้วมือเอาไว้ด้วย
- เอกสารที่ต้องใช้ในการทำสัญญากู้ยืมเงิน
- เอกสารประจำตัวผู้กู้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาบัตรข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ อย่างใดอย่างหนึ่ง
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาทะเบียนสมรส หรือ ทะเบียนหย่า
- สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล
- ใบรับรองเงินเดือน หรือ หลักฐานการรับเงินเดือนจากนายจ้าง
- สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ในกรณีของผู้ที่มีรายได้ประจำ
- สัญญาจ้าง(ต้องอ่าน! สัญญาจ้างสำคัญอย่างไร) หรือ หลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้าง (Quotation) ในกรณีที่เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ
- ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พร้อมบัญชีเงินฝาก สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพแพทย์ ทนายความ วิศวกร สถาปนิก ฯลฯ
- หลักฐานรายได้อื่นๆ เช่น ใบหุ้น พันธบัตรรัฐบาล บัญชีเงินฝากธนาคาร ฯลฯ
กรณีผู้กู้เป็นนิติบุคคล เอกสารสำหรับการกู้ยืม ต้องเพิ่มเติมเอกสารต่อไปนี้
- สำเนาทะเบียนการค้า หรือ หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (สรุปมาให้แล้ว! 7 ขั้นตอนจดทะเบียนบริษัทแบบเข้าใจง่าย คลิกเพื่ออ่าน)
- เอกสารแสดงรายได้ หรือเอกสารบอกที่มารายได้ของผู้กู้
การทำสัญญาเงินกู้นับเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนพอสมควร หากผิดพลาดแม้เพียงเล็กน้อย อาจทำให้กลายเป็นคดีความในภายหลังได้ การทำเอกสารจึงต้องมีความละเอียดรอบคอบ และก่อนกู้ยืมควรเลือกเจ้าหนี้เงินกู้ที่ไว้ใจได้ ไม่งั้นอาจพบปัญหาจากการทวงหนี้ หรือดอกเบี้ยสูงแบบผิดกฎหมายได้ หรือใครยังมีข้อสงสัยสามารถเข้ามาขอคำแนะนำจาก Legardy ทีมงานทนายความออนไลน์ ที่พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
แหล่งที่มา
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



