คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2540

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 177

จำเลยให้การว่า โจทก์ประพฤติตนเป็นที่เสียหายและเสื่อมเสียแก่กิจการโรงพยาบาลของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างอันเป็นเหตุให้เลิกจ้างโจทก์ได้ โดยยกเอาการรักษาณ. ผู้ป่วยของโจทก์มาเป็นตัวอย่างว่าโจทก์ประพฤติตนเป็นที่เสียหายและเสื่อมเสียแก่จำเลยอย่างไรบ้าง เป็นคำให้การที่ชัดแจ้งแล้ว ส่วนที่กล่าวในคำให้การว่ายังมีคนไข้อีกหลายรายที่โจทก์กระทำในทำนองเดียวกันก็เป็นรายละเอียดที่จำเลยชอบที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ และเมื่อจำเลยนำพยานต่าง ๆ เข้าสืบถึงความประพฤติของโจทก์ที่เป็นที่เสียหายและเสื่อมเสียแก่จำเลยแล้ว ศาลย่อมนำมาวินิจฉัยว่า การกระทำของโจทก์เป็นการประพฤติตนเป็นที่เสียหายและเสื่อมเสียแก่จำเลยได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 37, 38, 165 (7) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 59 (1)

จำเลยที่ 1 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 1 ตำบลวังใหม่ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี แห่งหนึ่ง และเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 40 หมู่ที่ 1 ตำบลวังสมบูรณ์ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี อีกแห่งหนึ่งแล้วจำเลยที่ 1 ย้ายจากบ้านเลขที่ 40 ดังกล่าวไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 355 หมู่ที่ 3แขวงลาดยาว เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ต่อมาจำเลยที่ 1 ย้ายจากบ้านเลขที่355 ไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 42/57 หมู่ที่ 8 อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 42/57 หมู่ที่ 8อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี แห่งหนึ่งและยังมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 100หมู่ที่ 1 ตำบลวังใหม่ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี อีกแห่งหนึ่งด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 1 ตำบลวังใหม่ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี โดยไม่ปรากฏว่าเป็นความผิดพลาดบกพร่องของผู้ใด และจำเลยที่ 1 ไม่ได้แจ้งย้ายออกไป หรือขอให้ทางราชการแก้ไขจำหน่ายชื่อออก แสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาที่จะย้ายภูมิลำเนาออกจากบ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 1 ตำบลวังใหม่ อำเภอวังน้ำเย็นจังหวัดปราจีนบุรี ถือได้ว่าบ้านเลขที่ 100 ดังกล่าวตามฟ้องเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1อีกแห่งหนึ่งด้วย แม้จำเลยที่ 2 จะมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลจังหวัดปราจีนบุรีอันเป็นศาลชั้นต้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1) และมาตรา 5

โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการออกบัตรซื้อของเชื่อให้แก่สมาชิกผู้พำนักอยู่ในประเทศไทย เพื่อใช้ซื้อสินค้าและบริการทั่วไปได้จากสถานประกอบการต่าง ๆ ในเครือห้างของบริษัททั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีสัญญายอมรับบัตรซื้อของเชื่อนั้นเพื่อขายสินค้าและบริการโดยโจทก์จะชำระเงินแทนแล้วโจทก์มาเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้บัตรที่โจทก์ออกให้ในภายหลัง ในการออกบัตรนี้โจทก์เรียกเก็บเงินค่าสมัครเป็นสมาชิกค่าธรรมเนียมรายปี เมื่อปรากฏว่าการให้บริการของโจทก์ โจทก์ได้เรียกเก็บค่าสมาชิกค่าธรรมเนียมรายปีด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ และการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้ว จึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกทดรองไปก่อน ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้ารับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 165 (7) เดิมที่ใช้อยู่ในขณะโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้

จำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วม มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ ประกอบกับจำเลยที่ 1 เป็นสมาชิกบัตร จำเลยที่ 2 เป็นสมาชิกบัตรเสริม สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อจำเลยทั้งสองเป็นอย่างเดียวกัน การที่จำเลยที่ 1 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ถือได้ว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้ว เช่นกัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 59 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2496

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2496/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 229 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 153

การยื่นอุทธรณ์ในคดีล้มละลายในส่วนที่ผู้อุทธรณ์ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมที่ตนต้องใช้แทนอีกฝ่ายหนึ่งนั้นพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา229ที่ว่าผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นมาใช้บังคับโดยอนุโลมหมายความว่าคู่ความฝ่ายที่จะได้รับชดใช้ค่าธรรมเนียมคืนจากคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะต้องได้เสียค่าธรรมเนียมไปจริงจึงมีสิทธิจะได้รับชดใช้คืนเมื่อผู้คัดค้านไม่ได้เสียค่าธรรมเนียมใดๆในการดำเนินคดีนี้เลยผู้ร้องจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2495

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2495/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1643, 1713

ผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมของจ. ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดกและจ. ได้ถึงแก่ความตายไปก่อนเจ้ามรดกเช่นนี้ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่จ. ได้เพราะผู้ร้องไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของจ. ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกในอันที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 27, 244

ศาลอุทธรณ์ส่งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปให้ศาลชั้นต้นอ่านให้คู่ความฟังโดยสั่งว่าก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังให้ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มให้ถูกต้องหากโจทก์ไม่ยอมชำระให้ส่งคำพิพากษาและสำนวนคืนเพื่อดำเนินการต่อไปปรากฎว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยไม่ได้มีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาและปรากฎเหตุที่มิได้ปฎิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ศาลชั้นต้นต้องปฎิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบศาลฎีกาจึงให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นปฎิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้ครบถ้วนถูกต้องโดยให้คืนฎีกาแก่โจทก์ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2494

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2494/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 391, 812

โจทก์ฟ้องว่าภายหลังจากที่จำเลยรับมอบปุ๋ยจากโจทก์แล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาไม่ชำระค่าปุ๋ยตามกำหนดเวลาในสัญญาไม่ทำรายงานจำนวนปุ๋ยที่จำหน่ายไปแล้วและปุ๋ยคงเหลือและไม่ส่งบัญชีรายชื่อผู้ซื้อปุ๋ยให้โจทก์ทราบภายในวันที่5ของทุกเดือนตามแบบที่โจทก์กำหนดอันเป็นสาระสำคัญของสัญญาข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นเรื่องของสัญญาข้อ13และข้อ15ที่ตกลงว่าหากจำเลยผิดสัญญาในส่วนนี้อยู่มีผลตามสัญญาข้อ17ที่ระบุว่าถ้าตัวแทนซึ่งหมายถึงจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหรือตัดสิทธิการเป็นตัวแทนและมีสิทธิริบหลักประกันตามสัญญาข้อ18.1หรือเรียกร้องให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินทันทีตามสัญญาข้อ18.2พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ15ต่อปีนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันชำระเงินให้แก่ตัวการเสร็จสิ้นเท่านั้นซึ่งตามสัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยดังกล่าวไม่มีข้อใดระบุว่าเมื่อจำเลยผิดสัญญาจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายอีกตันละ500บาทดังกรณีตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ10แต่อย่างใดดังนี้เมื่อจำเลยผิดสัญญาโดยมิได้คืนปุ๋ยแก่โจทก์และโจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระค่าปุ๋ยทั้งหมดโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการคืนปุ๋ยแก่โจทก์ไม่ถูกต้องกรณีไม่อาจที่จะแปลว่าเมื่อจำเลยไม่คืนปุ๋ยย่อมฟังเป็นปริยายว่าปุ๋ยขาดจำนวนไปจากการดูแลรักษาของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2491

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2491/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1298, 1387, 1390 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ม. 1, 30, 32

ช.เจ้าของที่ดินเดิมที่ทำการจัดสรรที่ดินมีเจตนาให้ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณูปโภคแก่หมู่บ้าน อ. และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286ได้บัญญัติขึ้นโดยมีเจตนาคุ้มครองแก่ผู้ที่ซื้อที่ดินจากการจัดสรร ในการจัดสรรที่ดินของ ช.เจ้าของเดิมก็ได้ปฏิบัติเกี่ยวกับที่ดินตรงตามความหมายของคำจำกัดความประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ดังกล่าว ข้อ 1 ทุกประการ แม้ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ข้อ 30 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติต่อมาว่า "สาธารณูปโภค ซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตเช่นถนน สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น ให้ถือว่าตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรและให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์คนต่อไปที่จะบำรุงรักษากิจการดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดไป และจะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้"จะระบุใช้บังคับแก่ผู้จัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตก็จริง แต่หากพิจารณาประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวข้อ 32 ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและได้จำหน่ายที่ดินจัดสรรไปแล้วบางส่วน หรือได้จัดให้มีสาธารณูปโภคหรือ…ไปแล้วบางส่วน…ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ เว้นแต่การอันเป็นสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินให้อยู่ภายใต้บังคับข้อ 30 ด้วย" มาประกอบเข้าด้วยกันแล้วจะเห็นได้ว่าข้อความประโยคสุดท้ายของบทบัญญัติข้อนี้ได้ยกเว้นในเรื่องกิจการสาธารณูปโภคกับผู้จัดสรรที่ดินก่อนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับซึ่งผู้จัดสรรที่ดินไม่ต้องขออนุญาต แต่ในเรื่องสาธารณูปโภคก็ยังคงให้อยู่ภายใต้บังคับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ข้อ 30 ได้ตามที่ข้อ 32 บัญญัติไว้ ดังนี้ ที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และเป็นที่ดินที่อยู่ในหมู่บ้าน อ.ที่โจทก์ซื้อและจำเลยร่วมได้ซื้อจากจำเลยในระหว่างที่โจทก์จำเลยพิพาทกัน โดย ช.เจ้าของที่ดินเดิมที่ทำการจัดสรรที่ดินมีเจตนาให้ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณูปโภคแก่หมู่บ้าน อ.ย่อมตกเป็นภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรหมู่บ้าน อ.ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จำเลยร่วมจึงมีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนภาระจำยอมที่ดินพิพาทตามที่กฎหมายได้บังคับไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2490

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2490/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420, 438

จำเลยเข้าทำประโยชน์บนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่หลวงโดยสุจริตและโดยผู้บังคับบัญชาซึ่งครอบครองดูแลที่ดินพิพาทเป็นผู้อนุญาต มิได้จงใจบุกรุกที่ดินพิพาทของโจทก์ การเข้าทำประโยชน์บนที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นละเมิด

จำเลยนำที่ดินพิพาทของโจทก์ไปให้บุคคลอื่นเช่าโดยละเมิดเป็นการแสวงหาประโยชน์จากการให้เช่าที่ดินพิพาท ดังนั้นค่าเช่าที่ดินจึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการกระทำละเมิด ส่วนค่าธรรมเนียมการจัดให้เช่ามิใช่ค่าเสียหายโดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2489

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 2489/2540

พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ม. 18, 21

ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวรคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา18ประกอบมาตรา21วรรคสุดท้ายเจ้าของหรือผู้ครอบครองจะได้รับค่าตอบแทนเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนก็เฉพาะกรณีที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขายหรือประกอบการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนนั้นเท่านั้นโจทก์ได้ให้น.เช่าอาคารที่ต้องเวนคืนประกอบธุรกิจการค้าเปิดเป็นร้านขายอาหารและใช้เป็นที่อยู่อาศัยมาเป็นเวลานานหลายปีแล้วซึ่งแสดงว่าโจทก์หรือผู้ที่เป็นเจ้าของอาคารมิได้อยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขายหรือประกอบการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอาคารที่ต้องเวนคืนนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนค่าความเสียหายอันเนื่องจากการขาดผลประโยชน์ที่ได้จากการให้เช่าอาคารที่ต้องเวนคืนนั้นเพราะสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทนจากการไม่ได้ใช้ประโยชน์อาคารทั้งสี่หลังดังกล่าวได้แก่น.ผู้เช่าแต่ฝ่ายเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 47 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 22 (1)

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา22วรรคหนึ่งคำว่าจำเลยถูกจับในท้องที่หนึ่งหมายถึงเจ้าพนักงานจับจำเลยตามข้อหาที่ถูกกล่าวหาในคดีที่จะนำมาฟ้องเท่านั้นแต่ตามบันทึกการจับกุมจำเลยกับคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีของโจทก์ปรากฎว่าจำเลยถูกจับในความผิดฐานพยายามฆ่าและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่และความผิดฐานอื่นๆนอกเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรีซึ่งมิใช่ความผิดตามที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้แต่เจ้าพนักงานตำรวจได้อายัดตัวจำเลยมาสอบสวนในคดีนี้และโจทก์ขอยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีดังนี้กรณีถือไม่ได้ว่าคดีนี้จำเลยถูกจับในท้องที่ซึ่งอยู่เขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา47ภูมิลำเนาของผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายได้แก่เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัวบทบัญญัติดังกล่าวได้แยกผู้ที่ถูกจำคุกออกเป็น2กรณีต่างหากจากกันกล่าวคือถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลเป็นกรณีหนึ่งและถูกจำคุกตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นอีกกรณีหนึ่งหาใช่เป็นกรณีเดียวกันไม่เมื่อปรากฎว่าในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีซึ่งเป็นศาลชั้นต้นจำเลยถูกจำคุกตามคำพิพากษาซึ่งยังไม่ถึงที่สุดอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีดังนี้จะถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา47ไม่ได้

« »
ติดต่อเราทาง LINE