คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2539

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 284

จำเลยเป็นหนี้ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนเล็กน้อยไม่ถึง60,000บาทแต่โจทก์นำยึดที่ดินและบ้านของจำเลยราคากว่า1,750,000บาทโดยภายในบ้านของจำเลยมีทรัพย์สินอื่นที่โจทก์สามารถนำยึดมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ถือได้ว่าโจทก์นำยึดทรัพย์สินของจำเลยที่2เกินกว่าที่จำเป็นแก่การบังคับคดีโจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยที่2ลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา284วรรคสองและต้องรับผิดใช้ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีในการยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายในส่วนที่เกินกว่าจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยที2ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 18, 420, 438, 1115 วรรคหนึ่ง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1115วรรคหนึ่งไม่ได้บัญญัติบังคับให้ผู้มีส่วนได้เสียต้องฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนหรือร้องขอให้ศาลสั่งบังคับให้เปลี่ยนชื่อในทันทีที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของชื่อบริษัทที่พ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อบริษัทอื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้วหรือตั้งไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับอื่นอันได้จดทะเบียนไว้แล้วแม้โจทก์ที่2จะมิได้ฟ้องจำเลยที่1และที่2ทันทีหลังจากที่จำเลยที่1จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ตามก็หาทำให้โจทก์ที่2เสียสิทธิฟ้องจำเลยที่1และที่2ไปไม่การที่โจทก์ที่2ฟ้องจำเลยที่1และที่2จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ที่2จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดเมื่อพ.ศ.2520โดยใช้ชื่อว่าบริษัทโอเรียลเต็ลแล็ปปิดารี่จำกัดและมีชื่อภาษาอังกฤษว่าORIENTALCAPIDARYCOMPANYLIMITEDส่วนจำเลยที่1จดทะเบียนนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดเมื่อพ.ศ.2530โดยใช้ชื่อว่าบริษัทโอเรียนเต็ลเจมส์แลปิดารี่จำกัดมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่าORIENTALGEMESLAPIDARYCOMPANYLIMITEDแม้ชื่อของโจทก์ที่2มีสองคำส่วนชื่อของจำเลยที่1มีสามคำก็ตามแต่ชื่อคำแรกของโจทก์ที่2และจำเลยที่1เป็นคำเดียวกันคือคำว่า"โอเรียนเต็ล"และ"ORIENTAL"ส่วนคำท้ายของชื่อโจทก์ที่2กับคำท้ายของชื่อจำเลยที่1นั้นแม้ในภาษาไทยจะสะกดต่างกันของโจทก์ที่2สะกดว่า"แล็ปปิดารี่"ส่วนของจำเลยที่1สะกดคำว่า"แล็ปปิดารี่"ก็ตามแต่คำทั้งสองก็เขียนและอ่านออกเสียงคล้ายคลึงกันมากทั้งในภาษาอังกฤษก็สะกดด้วยคำเดียวกันคือ"LAPIDARY"ชื่อของโจทก์ที่2และจำเลยที่1คงมีชื่อแตกต่างกันเพียงว่าชื่อของจำเลยที่1มีคำว่า"เจมส์"อยู่ตรงกลางโดยชื่อของโจทก์ที่2ไม่มีคำกล่าวเท่านั้นบุคคลทั่วไปเมื่อเห็นชื่อของโจทก์ที่2และชื่อของจำเลยที่1ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศย่อมเห็นได้ว่าชื่อดังกล่าวคล้ายกันโจทก์ที่2และจำเลยที่1ต่างเป็นนิติบุคคลประเภทเดียวกันทั้งต่างก็มีสถานประกอบการในกรุงเทพมหานครด้วยกันโดยจำเลยที่1จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประกอบการค้าหลังจากโจทก์ที่2เป็นเวลาถึง10ปีการกระทำของจำเลยที่1โดยจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ผู้เริ่มก่อการจึงเป็นการเลียนแบบชื่อของโจทก์ที่2ให้คล้ายคลึงกันจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้เป็นการละเมิดต่อสิทธิในนามของโจทก์ที่2ซึ่งจำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18ประกอบด้วยมาตรา420และจำเลยที่2ผู้เริ่มก่อการของจำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1115วรรคหนึ่ง แม้โจทก์ที่2นำสืบไม่ได้แน่ชัดว่าความเสียหายของโจทก์ที่2จากการที่จำเลยที่1ใช้ชื่อคล้ายกับชื่อของโจทก์ที่2เป็นจำนวนแน่นอนเพียงใดศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ที่2ได้ตามที่เห็นสมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1115วรรคหนึ่งค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เริ่มก่อกิจการบริษัทจะต้องรับผิดต่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียหมายความเฉพาะค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บริษัทแรกที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วหรือได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก่อนแล้วอันเนื่องมาจากการที่มีการตั้งชื่อบริษัทแล้วในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับหลังพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกนั้นจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้ในช่วงระยะเวลาระหว่างที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทแล้วดังกล่าวจนถึงเวลาที่ได้จดทะเบียนให้บริษัทหลังนั้นเป็นนิติบุคคลเท่านั้นส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อไปจากการใช้ชื่อพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกภายหลังจากที่บริษัทหลังได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วนั้นเมื่อบริษัทหลังมีฐานะเป็นนิติบุคคลแล้วบริษัทนั้นก็ย่อมเป็นผู้ที่จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการละเมิดต่อสิทธิในนามของบริษัทแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18ประกอบด้วยมาตรา420ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4762

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4762/2539

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 341, 343, 352 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 192 วรรคสาม

แม้ตามคำฟ้องของโจทก์ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา343ก็ตามแต่ความผิดฐานดังกล่าวเป็นการกระทำที่มีองค์ประกอบมาจากความผิดฐานฉ้อโกงประมวลกฎหมายอาญามาตรา341ด้วยดังนั้นเมื่อปรากฎในชั้นพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา352แม้โจทก์จะไม่ได้ขอให้ลงโทษตามมาตรานี้ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา192วรรคสามหาใช่เป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4744

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4744/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 521, 1469

การที่โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยมีกรรมสิทธิ์รวมตามบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมในระหว่างสมรส มีผลทำให้ที่ดินตกเป็นสินส่วนตัวของจำเลย ซึ่งบันทึกดังกล่าวเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ กรณีมิใช่การยกให้ซึ่งจะถอนคืนการให้ได้ต่อเมื่อมีเหตุเนรคุณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบอกล้างได้ตามมาตรา 1469

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4741

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4741/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 140 วรรคท้าย, 147 วรรคสอง, 271

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271ที่กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นย่อมมีความหมายว่าจะต้องดำเนินการเพื่อบังคับคดีภายใน10ปีนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไปเมื่อจำเลยที่1อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยที่1รับผิดร่วมกับจำเลยอื่นแต่จำเลยที่1ทิ้งอุทธรณ์เพราะมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่1ออกจากสารบบความโดยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่26ธันวาคม2529จึงต้องถือว่าคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่1ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในวันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา140วรรคท้ายและมาตรา147วรรคสองหาใช่ว่าถึงที่สุดในวันที่22กุมภาพันธ์2527อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไม่ดังนั้นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำแถลงต่อศาลขอให้ออกคำบังคับแก่จำเลยที่1เมื่อวันที่22กุมภาพันธ์2537และต่อมาในวันที่24มิถุนายน2537ยื่นคำขอให้ออกหมายบังคับคดีถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งภายใน10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4754/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 4 วรรคสอง, 609 วรรคสอง, 618, 875 วรรคสอง

การที่บริษัทเอผู้ขายและผู้เอาประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางทะเลได้รับชำระราคาสินค้านั้นแล้วได้ส่งใบตราส่งใบกรมธรรม์ประกันภัยใบกำกับสินค้าและใบรายการบรรจุหีบห่อไปให้บริษัทบีย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของบริษัทเอว่าประสงค์จะโอนสินค้าซึ่งเป็นวัตถุที่เอาประกันภัยไปให้บริษัทบีแล้วและเมื่อปรากฎว่าสินค้าที่ขนส่งได้รับความเสียหายบริษัทบีก็ได้ทวงถามให้จำเลยซึ่งบริษัทเชื่อว่าเป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าดังกล่าวชดใช้ค่าเสียหายแต่จำเลยเพิกเฉยจึงทวงถามโจทก์ผู้รับประกันภัยโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้บริษัทบีไปย่อมทำให้เชื่อว่าบริษัทเอผู้เอาประกันภัยได้บอกกล่าวการโอนสินค้าซึ่งเป็นวัตถุที่เอาประกันภัยไปยังโจทก์ผู้รับประกันแล้วมิฉะนั้นย่อมไม่มีเหตุที่โจทก์จะยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัทบี ฉะนั้นสิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันภัยดังกล่าวย่อมโอนไปยังบริษัทบี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา875วรรคสองเมื่อโจทก์ได้ชำระค่าเสียหายให้บริษัทบีโจทก์จึงเป็นผู้รับช่วงสิทธิของบริษัทดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยรับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวได้ การที่จำเลยขอนำเรือเข้าติดต่อขอเช่าเรือลากจูงนำหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารมาวางเป็นประกันต่อกรมเจ้าท่าและการท่าเรือแห่งประเทศไทยและการที่จำเลยเป็นผู้ออกใบปล่อยสินค้าพิพาทเห็นได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมือผู้รับตราส่งซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายจำเลยจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา618ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับการรับขนของทางทะเลในขณะเกิดเหตุข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4753

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4753/2539

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 357

ในวันเกิดเหตุลักรถจักรยานยนต์ของกลาง ก. ได้ขับรถจักรยานยนต์ของกลางไปพบจำเลยที่ 3 ที่คิวรถและบอกขายเครื่องยนต์ของรถคันดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3ซึ่งจำเลยที่ 3 ทราบดีว่าเครื่องยนต์ที่ตนรับซื้อไว้ไม่ใช่ของ ก. ผู้บอกขายหากแต่เป็นของบุคคลอื่น ทั้งสถานที่บอกขายก็มิใช่สถานที่มีการขายและขายในราคาต่ำแต่จำเลยที่ 3 ยังรับซื้อและนำไปให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ช่วยกันถอดเปลี่ยนตัวเครื่องยนต์เพื่อสับเปลี่ยนกับรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ 3 ซึ่งทำให้หมายเลขตัวเครื่องยนต์ของรถจักรยานยนต์ทั้งสองคันมีหมายเลขไม่ตรงกับรายการจดทะเบียนในสมุดคู่มือจดทะเบียน แม้ต่อมาภายหลังจำเลยทั้งสามจะนำรถจักรยานยนต์ของกลางและของจำเลยที่ 3 ไปถอดตัวเครื่องยนต์และชิ้นอุปกรณ์อื่นที่บริเวณหน้าบ้านจำเลยที่ 1 เป็นที่เปิดเผยก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 เคยรับจ้างซ่อมรถจักรยานยนต์ที่บริเวณหน้าบ้านของจำเลยที่ 1 ย่อมทำให้ผู้พบเห็นเข้าใจได้ว่าการถอดตัวเครื่องยนต์และชิ้นส่วนอุปกรณ์อื่นในคราวเกิดเหตุนี้เป็นการซ่อมรถจักรยานยนต์อย่างที่จำเลยที่ 1 เคยรับจ้างมาก็เป็นได้ พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 รับซื้อตัวเครื่องยนต์แล้วนำไปจ้างให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ถอดเครื่องยนต์และชิ้นส่วนอุปกรณ์ของรถจักรยานยนต์ของกลางไว้โดยรู้อยู่ว่าเป็นทรัพย์ที่ถูกลักมา การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานรับของโจร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4751

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4751/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 145 วรรคแรก ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 226

ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดให้ศาลที่พิจารณาคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งดังนั้นในการพิพากษาคดีอาญาศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีแพ่งแต่ต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยที่นำสืบใหม่ในคดีอาญาที่โจทก์อ้างว่าคำพิพากษาต้องผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคแรกนั้นย่อมผูกพันคู่ความเฉพาะในคดีแพ่งดังกล่าวเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2539

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 341, 352 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 158

ตามคำฟ้องแยกข้อหาฉ้อโกงไว้ข้อก. ข. และง. และข้อหายักยอกไว้ข้อค. เมื่อพิเคราะห์คำฟ้องข้อก. ข. และง. แล้วมีความหมายพอเข้าใจได้ว่าประกาศกระทรวงได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้งโดยหลอกลวงโจทก์ร่วมในฟ้องข้อก.ว่าโจทก์ร่วมต้องเสียภาษีต่อกรมสรรพากรเป็นจำนวน147,053บาทและในฟ้องข้อข. และง. ว่าโจทก์ร่วมต้องเสียภาษีต่อกรมสรรพากรเป็นจำนวน60,813.58บาทและ71,999.20บาทซึ่งเป็นความเท็จส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องตอนต่อมาในข้อก.ว่าจำเลยกลับไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีต่อกรมสรรพากรเพียง122,543.65บาทและในข. และง. ว่าจำเลยกลับทำแบบแสดงรายการภาษีโดยไม่ต้องชำระภาษีต่อกรมสรรพากรนั้นเท่ากับโจทก์ได้บรรยายว่าความจริงแล้วโจทก์ต้องเสียภาษีในฟ้องข้อก. เพียงใดหรือไม่หรือเสียภาษีในฟ้องข้อข. และง.เลยจนโจทก์ร่วมหลงเชื่อได้จ่ายเงินให้จำเลยไปตามที่จำเลยขอเบิกแล้วจำเลยได้เอาเงินส่วนที่เบิกเกินไปตามข้อก. และส่วนที่ไม่ได้ชำระภาษีเลยตามข้อข. และง. ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวจึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ครบองค์ประกอบความผิดในข้อหาฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341แล้ว การบรรยายคำฟ้องในการกระทำผิดข้อหายักยอกนั้นต้องระบุถึงวันเวลาที่จำเลยเบียดบังเอาทรัพย์ซึ่งเป็นวันกระทำผิดมาในฟ้องด้วยส่วนวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์ไม่ใช่วันกระทำผิดเพราะผู้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นไว้แต่ไม่ได้เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริตผู้นั้นย่อมไม่มีความผิดข้อหายักยอกตามคำฟ้องข้อค. ที่กล่าวแต่เพียงวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์ที่โจทก์แต่ไม่มีข้อความแสดงว่าจำเลยได้เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนวันเวลาใดจะถือเอาวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์เป็นวันที่จำเลยกระทำผิดหาได้ไม่เพราะไม่มีข้อความตอนใดที่จะให้เข้าใจได้เช่นนั้นจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4734

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4734/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 43, 50, 249 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 18, 131 (2), 144, 151

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา43บัญญัติให้อำนาจพนักงานอัยการที่จะเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายเท่านั้นค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์จากสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมาในคดีนี้ไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดพนักงานอัยการจึงฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าวในคดีเดิมแทนผู้เสียหายไม่ได้โจทก์ในคดีนี้ซึ่งคือผู้เสียหายในคดีก่อนมิได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาเรื่องก่อนนั้นด้วยและการกระทำของจำเลยผู้เช่าซื้อซึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้ออาจเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองทางคือในมูลละเมิดและในมูลหนี้แห่งสัญญาเช่าซื้อเมื่อในคดีอาญาเรื่องก่อนศาลมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์ของโจทก์กรณีจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144 การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่าโจทก์ไม่สามารถนำประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยไว้แล้วในคดีอาญาเรื่องก่อนมาฟ้องร้องบังคับจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา50,249มีคำสั่งให้ยกฟ้องค่าฤชาธรรมให้เป็นพับดังนี้เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา131(2)มีผลเป็นการพิพากษาแล้วมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา18จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา151

« »
ติดต่อเราทาง LINE