คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2539

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2814

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2814/2539

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 56, 90, 91, 264, 265, 268 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 138, 247 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 15, 219

แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้เป็นให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้อันเป็นการแก้ไขมากแต่ศาลอุทธรณ์ยังลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน2ปีและปรับไม่เกิน40,000บาทย่อมห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา219ดังนี้ที่โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้นจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยคดีนี้เป็นคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายซึ่งโจทก์ฎีกาว่าการที่จำเลยปลอมเอกสารต่างๆเพื่อกู้เงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการจำกัดกับการปลอมเช็คเพื่อนำเข้าบัญชีของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันไม่ใช่ความผิดกรรมเดียวกันการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน การที่จำเลยปลอมเอกสารต่างๆเพื่อกู้เงินและปลอมเช็คเพื่อนำเงินเข้าบัญชีของจำเลยเป็นการกระทำต่อเนื่องโดยเจตนาเดียวกันเพื่อให้จำเลยได้เงินกู้จากสหกรณ์ในนามของผู้เสียหายการที่สหกรณ์จ่ายเงินให้เป็นเช็คจำเลยจะยังไม่ได้เงินจนกว่าจะได้รับเงินตามเช็คดังนี้การที่จำเลยปลอมเช็คก็เพื่อให้ได้รับเงินมาเป็นของจำเลยสมดังเจตนาที่วางไว้แต่ต้นทั้งหมดนั่นเองการกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2812

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2812/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 248 วรรคหนึ่ง

คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทจึงเป็นคดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงมาว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินของโจทก์และที่ดินของจำเลยมีเลขที่ดินต่างกันทั้งรูปที่ดินทั้งสองแปลงก็ไม่เหมือนกันฟังไม่ได้ว่าน.ส.3ก.ของจำเลยออกทับน.ส.3ก.ของโจทก์โจทก์จึงร้องขอให้เพิกถอนน.ส.3ก.ของจำเลยไม่ได้การที่โจทก์ฎีกาว่าล.พยานโจทก์เบิกความว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนได้มาโดยทางมรดกต่อมาได้ขายให้แก่อ.ต่อมาอ.ขายให้แก่โจทก์โจทก์ได้ครอบครองต่อเนื่องมาจำเลยมิใช่ผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาทการที่จำเลยไปขอออกเอกสารสิทธิในที่ดินจึงเป็นการออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบกรณีมีเหตุเพิกถอนน.ส.3ก.ของจำเลยเพราะออกทับที่ดินน.ส.3ก.ของโจทก์นั้นจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่ามีเหตุเพิกถอนน.ส.3ก.ของจำเลยหรือไม่จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 869, 880

คำว่า"ทุพพลภาพ"หมายถึงหย่อนกำลังความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติโจทก์ประกอบอาชีพรับจ้างซ่อมรถจักรยานยนต์และจำหน่ายอะไหล่รถจักรยานยนต์โจทก์ย่อมต้องใช้การฟังเสียงเครื่องยนต์ประกอบในการซ่อมรถจักรยานยนต์และต้องพูดคุยกับลูกค้าที่มาซื้ออะไหล่รถจักรยานยนต์การที่ประสาทหูทั้งสองข้างของโจทก์เสียไม่ได้ยินเสียงโจทก์จึงหย่อนความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติโดยสิ้นเชิงตลอดไปถือได้ว่าโจทก์ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงแล้ว กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า"การบอกกล่าวเรียกร้องผู้เอาประกันต้องบอกกล่าวให้บริษัททราบถึงการทุพพลภาพดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันสมควรยังไม่อาจแจ้งให้บริษัททราบ"ตามข้อความดังกล่าวมิได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดว่าโจทก์ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้จำเลยทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพทุกกรณีในกรณีมีเหตุจำเป็นอันสมควรโจทก์อาจไม่ต้องปฏิบัติตามนั้นได้โจทก์ไปติดต่อจำเลยด้วยตนเองแต่ไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพราะโจทก์ใช้มือเขียนหนังสือไม่ได้ซึ่งจำเลยก็ได้รับคำบอกกล่าวของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วแสดงว่าจำเลยไม่ติดใจที่จะให้โจทก์ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพตามที่กำหนดไว้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2539

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ม. 31, 65

จำเลยกระทำการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร(ฉบับที่2)พ.ศ.2535มาตรา31ระหว่างวันที่1พฤศจิกายน2535จนถึงวันที่5สิงหาคม2536ดังนั้นนอกจากจะต้องลงโทษตามมาตรา65วรรคหนึ่งแล้ววรรคสองของมาตราดังกล่าวยังบัญญัติให้ปรับเป็นรายวันตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนมาตรา31คือตลอดเวลาที่ยังควบคุมการก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากวิธีการและเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตก่อสร้างดัดแปลงหรือรื้อถอนอาคารจึงต้องปรับจำเลยเป็นรายวันตลอดระยะเวลาดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3008

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3008/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 914, 959

การที่จำเลยที่1สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อชำระค่าหน้าดินตามสัญญาเมื่อจำเลยที่1ผิดสัญญาและไม่มีสิทธิระงับการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทแม้ต่อมาโจทก์จะบอกเลิกสัญญาก็ตามจำเลยก็ยังคงต้องชำระเงินตามเช็คพิพาทต่อโจทก์ จำเลยที่2เป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยที่2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา914ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2886

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2886/2539

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 362, 365

การที่จำเลยเข้าไปล้อมรั้วในที่ดินพิพาทเพื่อถือการครอบครองและรบกวนการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ร่วมโดยปกติสุขตั้งแต่เวลากลางวันความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา362ได้เกิดขึ้นและสำเร็จลงแล้วส่วนการครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาเป็นเพียงผลของการบุกรุกไม่เป็นความผิดต่อเนื่องติดต่อเกิดขึ้นตลอดเวลาอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา365

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2858

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857 - 2858/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 193/12, 224, 321 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 146

จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าเครื่องประดับให้แก่โจทก์ด้วยเช็ค 2 ฉบับ เป็นเช็คลงวันที่20 กุมภาพันธ์ 2532 และเช็คลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2532 ครั้นเช็ค 2 ฉบับดังกล่าวถึงกำหนดชำระแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อได้ความดังกล่าวถือได้ว่า กำหนดเวลาชำระหนี้ค่าเครื่องประดับ คือ วันเดือนปีที่กำหนดไว้ในเช็ค 2 ฉบับ มิใช่วันที่ซื้อขายหรือวันที่ส่งมอบเครื่องประดับ เพราะโจทก์จะไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าเครื่องประดับก่อนวันเดือนปีที่กำหนดไว้ในเช็คได้

คดีรวมการพิจารณาพิพากษา แม้ข้อเท็จจริงในสำนวนแรกจะยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพราะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหนี้ทั้งสองสำนวนมาจากมูลกรณีเดียวกันและเป็นการชำระหนี้อันแบ่งแยกจากกันไม่ได้ และถือว่าคำพิพากษาอันเป็นที่สุดของศาลสองศาลขัดกัน จึงต้องถือตามคำพิพากษาของศาลที่สูงกว่า คือ คำพิพากษาของศาลฎีกาในสำนวนหลังนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ และเมื่อฟังว่าจำเลยที่ 2 มิได้ทำสัญญาค้ำประกันการซื้อทรัพย์สินครั้งที่สองตามเช็คฉบับที่สองด้วย เมื่อราคาทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ที่ฝากโจทก์ขายและนำไปตีชำระหนี้มีราคามากกว่าหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2จึงไม่มีหนี้ที่ต้องชำระให้แก่โจทก์ในสำนวนแรก ส่วนการบังคับคดีในสำนวนแรกให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2809

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2808 - 2809/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 5, 193, 237, 387, 1367, 1382 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55, 148 (3)

แม้ว่าตามสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์ที่3และจำเลยข้อ3มีว่าหากจำเลยไม่ชำระค่าที่ดินให้โจทก์ที่3เป็นเวลา2เดือนถือว่าสละสิทธิและเงินที่ส่งมาถือเป็นค่าเช่าก็ตามแต่ตามทางปฏิบัติเมื่อชำระเงินมัดจำให้โจทก์ที่3จำนวน30,000บาทแล้วจำเลยได้ผ่อนชำระให้โจทก์ที่3เรื่อยมาแต่ไม่ติดต่อกันทุกเดือนและขาดส่งเกินกว่า2เดือนแล้วก็มีหลังจากนั้นเมื่อจำเลยชำระให้โจทก์ที่3ก็รับชำระอีกการซื้อที่ดินแปลงที่3ก็เช่นเดียวกันจำเลยได้ชำระค่าเช่าที่ดินจำนวน140,000บาทเท่านั้นแสดงให้เห็นว่าโจทก์ที่3และจำเลยต่างไม่ถือเอากำหนดระยะเวลาในสัญญาข้อ3เป็นสาระสำคัญอีกต่อไปดังนั้นการเลิกสัญญาจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387คือโจทก์ที่3จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรหากจำเลยไม่ชำระหนี้โจทก์ที่3จึงจะบอกเลิกสัญญาได้แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่3ได้บอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยดังนั้นสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยและโจทก์ที่3จึงยังมีผลใช้บังคับอยู่ โจทก์ที่3ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินและโอนการจัดสรรที่ดินให้โจทก์ที่1แม้ในสัญญาดังกล่าวจะไม่ระบุถึงจำเลยหรือผู้ซื้อที่ดินรายอื่นๆว่าได้ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่3ก็ดีแต่ขณะที่โจทก์ที่7ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ที่1นั้นจำเลยได้ปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัยรวมทั้งสร้างอู่ซ่อมรถยนต์ในที่ดินพิพาทก่อนแล้วและโจทก์ที่1ได้เคยเสนอขอแลกห้องแถวสองห้องของตนกับที่ดินพิพาทของจำเลยอีกด้วยแสดงว่าโจทก์ที่1รู้อยู่แล้วในขณะทำสัญญาซื้อขายที่ดินและรับโอนการจัดสรรที่ดินซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่3ว่าจำเลยได้ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่3อยู่ก่อนและการที่โจทก์ที่2รับโอนที่ดินที่จัดสรรแทนโจทก์ที่1ก็ถือได้ว่าโจทก์ที่2ทราบแล้วว่าจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับโจทก์ที่3อยู่ก่อนแล้วเพราะโจทก์ที่1เป็นกรรมการของโจทก์ที่2อยู่ด้วยเมื่อโจทก์ที่1และที่2ทราบมาก่อนแล้วว่าจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่3การที่โจทก์ที่1และที่2ยังซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่3เช่นนี้การรับโอนในส่วนที่ดินพิพาทจึงมิได้เป็นไปโดยสุจริตการที่โจทก์ที่2นำคดีมาฟ้องขับไล่จำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์ที่2ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ จำเลยกับโจทก์ที่3เท่านั้นที่เป็นคู่สัญญาในการซื้อขายที่ดินพิพาทกันโจทก์ที่1และที่2มิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยด้วยแม้โจทก์ที่1จะเป็นผู้ซื้อที่ดินซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทไปจากโจทก์ที่3โดยโจทก์ที่2เป็นผู้รับโอนแทนโจทก์ที่1โดยรู้อยู่ก่อนแล้วว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ก็หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกำหนดให้นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับโจทก์ที่3ตกติดไปอันจะมีผลทำให้โจทก์ที่1และที่2ต้องรับไปซึ่งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์ที่3กับจำเลยด้วยไม่ดังนั้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่2แบ่งแยกที่ดินพิพาทเพื่อโอนให้แก่จำเลยได้ จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่3โดยยังชำระราคาไม่ครบถ้วนและการที่โจทก์ที่3โอนขายที่ดินรวมทั้งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่1โดยโจทก์ที่1ให้โจทก์ที่2รับโอนแทนนั้นเป็นการโอนโดยไม่สุจริตและเป็นทางให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบคดีของจำเลยจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237แต่จำเลยมิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างโจทก์ที่3กับโจทก์ที่2จึงไม่อาจพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนดังกล่าวได้แต่ไม่ตัดสิทธิของจำเลยที่จะนำคดีมาฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148(3) ตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์ที่3และจำเลยระบุให้จำเลยผู้ซื้อเข้าปลูกบ้านในที่ดินพิพาทได้ทันแม้ยังอยู่ระหว่างผ่อนชำระราคาก็ตามการที่จำเลยเข้าปลูกบ้านอาศัยในที่ดินพิพาทก็โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวเป็นการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ที่3ไม่ใช่โดยอาศัยอำนาจของตนเองการครอบครองที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นปรปักษ์จนกว่าจำเลยจะบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือให้โจทก์ที่3ทราบว่าจะยึดถือที่ดินพิพาทเพื่อตนเองเมื่อจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ที่3แม้จะนานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2949

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2949/2539

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 90, 137, 267 พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 ม. 14

จำเลยแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เทศบาลให้จดข้อความอันเป็นเท็จลงในบันทึกคำให้การรับรองผู้ขอมีบัตรสำหรับเจ้าบ้านหรือบุคคลน่าเชื่อถือ บันทึกคำให้การผู้ขอมีบัตรคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ อันเป็นเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานในการแสดงตัวบุคคลเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,267 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526มาตรา 14 อันเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน มีเจตนาเดียวกันที่จะให้ทางราชการออกบัตรประชาชนให้เท่านั้น จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1713 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 264

ในคดีขอตั้งผู้จัดการมรดกที่มีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าผู้ร้องหรือผู้คัดค้านสมควรเป็นผู้จัดการมรดกนั้นประโยชน์ของผู้ร้องและผู้คัดค้านอยู่ที่การจะได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่เท่านั้นไม่ได้อยู่ที่การจะได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกของผู้ตายการที่ผู้คัดค้านขอคุ้มครองชั่วคราวในเรื่องเกี่ยวกับการรักษาประโยชน์ในทรัพย์มรดกจึงไม่อยู่ในกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา264

« »
ติดต่อเราทาง LINE