คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2539
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 448, 456, 798, 1332 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55, 249
การซื้อขายรถยนต์พิพาทเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคากว่าห้าร้อยบาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือได้วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456วรรคท้าย การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการดังกล่าว หากไม่มีการวางมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนแล้ว ก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 798 วรรคสอง
จำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 มิได้แต่งตั้งหรือแสดงออกว่าจำเลยที่ 1ที่ 2 เป็นตัวแทนในการขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ และในขณะโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 นั้น กรรมสิทธิ์ยังเป็นของจำเลยที่ 3 อยู่ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจนำรถยนต์ดังกล่าวไปขายให้แก่โจทก์
ที่โจทก์ฎีกาว่าได้รถยนต์พิพาทมาโดยการซื้อจากพ่อค้าได้ค้าขายกันในท้องตลาดมีค่าตอบแทนโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332 โจทก์จึงไม่จำต้องคืนรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 5 หรือใช้ราคาตามฟ้องแย้งนั้น โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งแต่เพียงว่า โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 ในราคาตามท้องตลาด ชำระราคาครบถ้วนและรับมอบรถยนต์แล้วโดยสุจริต มิได้ให้การว่าได้รถยนต์พิพาทโดยการซื้อจากพ่อค้าในท้องตลาดตามมาตรา 1332 แต่อย่างใด ฎีกาของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 3 ฟ้องแย้งขอให้โจทก์คืนรถยนต์พิพาทในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามเอาทรัพย์สินของตนคืนและเรียกค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์ครอบครองทรัพย์ไว้โดยมิชอบ เพราะซื้อทรัพย์จากบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าของอันเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 3 จึงเป็นหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด โจทก์ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด ดังนั้น ก่อนฟ้องแย้งจำเลยที่ 3 หาจำต้องมีหนังสือทวงถามให้โจทก์ส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนหรือให้ชดใช้ค่าขาดประโยชน์ไม่ จำเลยที่ 3จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์
จำเลยที่ 5 เป็นเพียงหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ต่างหากจากจำเลยที่ 3 โดยไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทร่วมกับจำเลยที่ 3 ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 5 ในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ถูกโต้แย้งสิทธิอันเนื่องจากรถยนต์พิพาท จำเลยที่ 5 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งเรียกคืนรถยนต์พิพาทและเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ในการใช้รถยนต์พิพาท อำนาจฟ้องแย้งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคสอง
เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองรถยนต์พิพาทย่อมเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 3 อยู่ตลอดเวลาจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์พิพาทคืน จำเลยที่ 3 มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ และเมื่อจำเลยที่ 3 เรียกค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไปซึ่งโจทก์ยังครอบครองรถยนต์พิพาทอันเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 3 อยู่ จึงไม่มีปัญหาเรื่องอายุความว่าจะนับแต่เมื่อใด คดีจึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4862/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 177 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าโจทก์ซื้อที่ดินและ ตึกแถวพิพาทมาจาก ส. และผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม จำเลยเช่าตึกแถวดังกล่าวจาก ส. ครบกำหนดแล้วโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอยู่อีกต่อไปจำเลยฟ้องแย้งว่า ส. ให้จำเลยเช่าที่ดินและตึกแถวพิพาทมีกำหนด 10 ปี โดยมีเงื่อนไขว่าหากจะขายทรัพย์สินที่ให้เช่าก่อนครบสัญญาจะต้องแจ้งให้จำเลยทราบก่อน เพื่อให้โอกาสจำเลยได้ซื้อก่อน แต่โจทก์สมคบกับส. และ ก. ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมฉ้อฉลจดทะเบียนโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์โดยไม่ให้สิทธิแก่จำเลยก่อนทำให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ ขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินและตึกแถวพิพาท ให้โจทก์กับ ส. และ ก. ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย ดังนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นและไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ทั้งเป็นการขอให้บังคับบุคคลอื่นที่ไม่ได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วย ต้องไปฟ้องร้องเป็นคดีต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4855/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 23
แม้พนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายความคนเดิมของจำเลยที่2และที่3จะย้ายไปดำรงตำแหน่งที่อื่นก็ตามพนักงานอัยการคนเดิมนั้นก็ยังเป็นทนายความของจำเลยที่2และที่3มีสิทธิที่จะดำเนินคดีต่อไปได้ฉะนั้นการที่พนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายความคนใหม่ของจำเลยที่2และที่3ยื่นคำร้องขอคัดสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาก่อนครบกำหนดยื่นฎีกา1วันโดยอ้างว่าเพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นทนายความของจำเลยที่2และที่3เนื่องจากทนายความคนเดิมย้ายไปดำรงตำแหน่งที่อื่นจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะให้ศาลสั่งขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4882/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 680 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 94 (ข), 148, 227, 228 (3)
สัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา380วรรคสองบังคับให้ต้องมีมาแสดงตรงตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94โจทก์คงมีเพียงเอกสารซึ่งมีข้อความระบุว่าจำเลยที่5เป็นผู้ค้ำประกันและผู้ค้ำประกันทำสัญญาค้ำประกันค่าเช่าซื้อให้แก่ถ้าผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้ตามสัญญาหรือผู้เช่าซื้อตายหรือล้มละลายหรือหนี้เหตุหนึ่งเหตุใดซึ่งกระทำให้ผู้ให้เช่าต้องเสียหายผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชอบชำระหนี้ตลอดจนค่าเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งสิ้นซึ่งเป็นสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อมาแสดงต่อศาลเท่านั้นหาใช่สัญญาค้ำประกันมูลหนี้การซื้อขายตามฟ้องมาแสดงต่อศาลไม่การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยที่5ทำสัญญาค้ำประกันมูลหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาเอกสารจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา94(ข)จึงต้องฟังว่าโจทก์ไม่มีเอกสารสัญญาค้ำประกันมูลหนี้ตามฟ้องมาแสดงต่อศาลโจทก์จึงฟ้องร้องให้จำเลยที่5รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่1ไม่ได้ ฟ้องโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับโอนที่ดินซึ่งจำเลยที่2ถึงที่6รับโอนเกินส่วนไปคืนแก่จำเลยที่1หากจำเลยทั้งหกไม่ดำเนินการก็ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทนนั้นไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอีกเรื่องหนึ่งดังนี้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องของโจทก์ในคำฟ้องส่วนนี้นั้นเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา18และมาตรา228(3)ซึ่งมิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องหากเสร็จไปแต่ประเด็นบางข้อโจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้เมื่อศาลพิพากษาคดีดังกล่าวแล้วตามบทบัญญัติวรรคสามของมาตรา228แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คำฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่1เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่1ในนามของตนเองให้จำเลยที่2ถึงที่6โอนสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงดังกล่าวแล้วคืนให้แก่จำเลยที่1โดยปลอดจำนองเพื่อป้องกันสิทธิของโจทก์ในมูลหนี้ตามสัญญาจะซื้อขายและหากจำเลยทั้งหกไม่ยอมปฏิบัติตามก็ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนหาได้มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคำฟ้องในคดีก่อนซึ่งโจทก์ฟ้องโดยอาศัยเหตุว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาไม่ยอมโอนสิทธิการครอบครองที่ดินดังกล่าวแล้วให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายจึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่1โอนสิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าวแล้วแก่โจทก์คำฟ้องคดีนี้จึงไม่ซ้ำเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4881/2539
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 352 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 43, 44, 47
โจทก์เป็นพนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา352และให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินที่จำเลยยักยอกแก่โจทก์ร่วมด้วยตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา43ดังนี้แม้คดีส่วนอาญาศาลเห็นว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานยักยอกศาลก็ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมตามที่พนักงานอัยการโจทก์ขอได้หาจำต้องให้โจทก์ร่วมไปฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากจำเลยเป็นคดีแพ่งอีกไม่ (หมายเหตุ:ศาลฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยรับเงินของโจทก์ร่วมไว้แต่เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4879/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 531
จำเลยเป็นน้องสาวโจทก์ก่อนที่จำเลยจะด่าว่าโจทก์โจทก์และจำเลยทั้งสองโต้เถียงกันเรื่องที่จำเลยจะขายที่ดินพิพาทแต่โจทก์ไม่ยอมให้ขายการที่จำเลยด่าโจทก์ว่าอีเหี้ยอีสัตว์อีดอกทองและไอ้หมาเป็นเพียงคำหยาบคายดูถูกเหยียดหยามและสบประมาทโจทก์เท่านั้นยังไม่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงอันเป็นการประพฤติเนรคุณอันโจทก์จะเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4861/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 378 (1)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา378(1)มัดจำนั้นถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเงินมัดจำที่ริบจะจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนได้ต่อเมื่อมีการปฏิบัติการชำระหนี้ถูกต้องกันตามสัญญาเมื่อจำเลยที่1เป็นฝ่ายผิดสัญญาและมีการเลิกสัญญาแสดงว่าจำเลยที่1มิได้ปฏิบัติการชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสัญญาเงินมัดจำที่ริบจึงไม่อาจจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนสำหรับหนี้ค่าจ้างก่อสร้างที่จำเลยที่1ค้างชำระแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2539
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535
ตามกฎกระทรวงฉบับที่6(พ.ศ.2535)ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535ข้อ2(1)กำหนดจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นว่าจำนวนเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทสำหรับความเสียหายต่อร่างกายเมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลไปจำนวน14,413บาทจำเลยผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ไม่เกิน10,000บาทตามกฎกระทรวงดังกล่าวจำเลยจะขอเอาเงินที่โจทก์ได้รับชดใช้ตามสัญญาประกันชีวิตจากบริษัทม.มาหักมิได้เพราะเป็นเรื่องนิติสัมพันธ์ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทดังกล่าวโดยเฉพาะหานำมาลบล้างหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยได้ไม่และถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4859/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 210, 211, 369 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 145 วรรคสอง, 177 วรรคสอง, 246, 247
โจทก์กล่าวอ้างว่าในวันที่5กุมภาพันธ์2534จำเลยไม่โอนที่ดินให้แก่โจทก์ยังไม่ได้จัดการทำถนนท่อระบายน้ำไฟฟ้าและยังไม่ได้แบ่งแยกที่ดินจึงถือว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาจำเลยให้การสู้คดีว่าได้มีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ทั้งสองไปรับโอนที่ดินในวันที่5กุมภาพันธ์2534แต่คำให้การของจำเลยไม่ได้ปฏิเสธในเรื่องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยยังไม่ได้จัดการทำถนนท่อระบายน้ำและติดตั้งเสาไฟฟ้าจึงต้องถือว่าจำเลยยังไม่ได้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวจริงและข้อเท็จจริงปรากฏว่าในวันที่27กุมภาพันธ์2534จำเลยยังไม่ได้แบ่งแยกที่ดินในส่วนที่จะจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์แล้วเสร็จทั้งตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและหนังสือรับเงินค่าที่ดินมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าจำเลยจะต้องแบ่งแยกที่ดินออกจากโฉนดที่ดินเดิมสร้างถนนเข้าที่ดินกว้าง5เมตรทำท่อระบายน้ำและตั้งเสาไฟฟ้าให้เรียบร้อยเมื่อจำเลยยังไม่ได้จัดการแบ่งแยกที่ดินทำถนนเข้าที่ดินทำท่อระบายน้ำและตั้งเสาไฟฟ้าจำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้โจทก์ชำระค่าที่ดินที่ยังค้างชำระและจดทะเบียนรับโอนที่ดินที่จะซื้อขายกันการที่โจทก์ไม่ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยและไม่ได้จดทะเบียนโอนที่ดินกันในวันที่5กุมภาพันธ์2534ย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาแม้โจทก์ไปที่สำนักงานที่ดินก็ไม่อาจจะจดทะเบียนโอนที่ดินกันได้และการที่จำเลยยังไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาทั้งเมื่อจำเลยแบ่งแยกที่ดินแล้วจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้อื่นเช่นนี้จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญา ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ถอนชื่อส. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและมิได้เป็นคู่ความในคดีออกจากโฉนดที่ดินที่พิพาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคสองศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4834 - 4835/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 76, 420, 421, 438, 801, 1304 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 47 พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ม. 5, 10 พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 ม. 4
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า"กระทรวงการคลังโดยก.อธิบดีกรมธนรักษ์ผู้รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอมอบอำนาจให้ผู้บัญชาการทหารเรือมีอำนาจดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งกับผู้บุกรุกพร้อมบริวารให้ออกไปจากที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ชบ.481ตามข้อความดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยเฉพาะเจาะจงแก่ผู้ที่บุกรุกที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ชบ.481หาใช่มอบอำนาจทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา801ไม่และในกรณีเช่นนี้ก็ไม่อาจระบุชื่อผู้ที่จะถูกฟ้องไว้ล่วงหน้าก็ได้เมื่อจำเลยที่1และที่2ถูกกล่าวหาว่าบุกรุกที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ชบ.481ผู้รับมอบอำนาจก็ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่1และที่2ตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินอำเภอบางละมุงจังหวัดชลบุรีพ.ศ.2479มีความมุ่งหมายกำหนดเขตหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าสำหรับไว้ใช้ในราชการทหารที่ดินที่หวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(3)แม้ต่อมาในปี2498จะมีผู้แจ้งการครอบครองที่ดิน(ส.ค.1)นั้นตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497มาตรา5ก็ตามที่ดินนั้นก็ยังคงเป็นที่หวงห้ามต่อไปตามมาตรา10ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้แจ้งที่ดินดังกล่าวจึงเป็นที่ราชพัสดุตามความหมายของมาตรา4แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุพ.ศ.2518 จำเลยทั้งสี่ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบเมื่อผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบแจ้งให้จำเลยทั้งสี่ออกจากที่ดินพิพาทจำเลยทั้งสี่ไม่ยอมออกการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นการไม่ชอบการที่โจทก์ที่2ถึงที่8ได้กระทำการขัดขวางมิให้จำเลยทั้งสี่เข้าครอบครองที่ดินพิพาทจึงเป็นการปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่แต่ละคนมีอยู่มิได้มีเจตนาจะกลั่นแกล้งจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นละเมิดต่อจำเลยทั้งสี่การทำละเมิดของบริษัทจำเลยที่1ได้แสดงออกโดยจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้แทนและเป็นการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่1จำเลยที่2จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา76วรรคสอง จำเลยที่1และที่2ไม่ได้นำดินลูกรังไปไถไปถมทะเลแต่นำที่ดินลูกรังไปถมทำถนนและถมที่ดินพิพาทแล้วปรับพื้นที่ให้ทราบจำเลยที่1และที่2ไม่ได้นำดินลูกรังออกไปจากพื้นที่ของโจทก์ที่1ดินลูกรังยังคงอยู่ในที่ดินของกระทรวงการคลังโจทก์ที่1มิได้สูญหายไปไหนโจทก์ที่1จึงมิได้เสียหายเกี่ยวกับดินลูกรัง