คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2539

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 915

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 915/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 249, 296

ศาลอุทธรณ์ภาค2วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่2ไม่เกี่ยวกับคำสั่งศาลชั้นต้นถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นจำเลยที่2ฎีกาว่าฎีกาของจำเลยที่2เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีมีผู้เข้าสู้ราคาคนเดียวไม่มีคู่แข่งเข้าประมูลสู้ราคาและมิได้กระทำต่อหน้าจำเลยที่2เป็นการขายทอดตลาดที่มิชอบด้วยกฎหมายฎีกาของจำเลยที่2จึงมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค2เป็นฎีกาไม่ชัดแจ้งและเป็นฎีกาข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 138, 143 วรรคแรก

เมื่อได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้วย่อมผูกพันจำเลยตามนั้นสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาจะแก้ไขข้อผิดพลาดได้ต่อเมื่อเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆการเปลี่ยนแปลงจำนวนและสถานที่ผิดไปจากเดิมมิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยจำเลยไม่อาจจะขอแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 885

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 885/2539

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 83, 341 พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ม. 8, 30, 82

ส. ได้พูดชักชวนว่าจะส่งผู้เสียหายทั้งสองไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นโดยผู้เสียหายทั้งสองต้องเสียค่าใช้จ่ายคนละ180,000บาทแล้วส. พาว. สามีของจำเลยไปรับเงินค่าใช้จ่ายจากผู้เสียหาย22,000บาทกับพาผู้เสียหายเดินทางเข้ากรุงเทพมหานครระหว่างพักอยู่ในกรุงเทพมหานครว.ได้รับเงินจากผู้เสียหายทั้งสองอีกหลายครั้งการรับเงินจากผู้เสียหายดังกล่าวจำเลยอยู่ร่วมรู้เห็นด้วยในบางครั้งและจำเลยเป็นคนพาผู้เสียหายไปติดต่อทำหนังสือเดินทางและในระหว่างที่ผู้เสียหายทั้งสองพักอยู่ที่โรงแรมในกรุงเทพหานครและที่บ้านของจำเลยในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานีจำเลยเป็นคนช่วยดูแลและออกค่าใช้จ่ายต่างๆให้แก่ผู้เสียหายดังนี้แม้จำเลยมิได้ร่วมไปชักชวนผู้เสียหายตั้งแต่ขณะแรกแต่พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยร่วมกับพวกโดยแบ่งหน้าที่กันจัดหางานให้แก่คนงานเพื่อไปทางานที่ประเทศญี่ปุ่นโดยจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหางานเพื่อส่งคนงานไปทำงานในต่างประเทศและจำเลยกับพวกได้ร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยกับพวกสามารถส่งผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นได้อันเป็นความเท็จเป็นเหตุให้ผู้เสียหายหลงเชื่อมอบเงินแก่จำเลยกับพวกไปจริงจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341,83และพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2528มาตรา4,30,82 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2539

พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2500 ม. 9, 30, 34

โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนรับราชการเป็นครูในสังกัดขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตรังจำเลยที่3ต่อมาเทศบาลเมืองตรังได้ขยายเขตพื้นที่การปกครองออกไปรวมเอาโรงเรียนซึ่งโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนสอนอยู่เป็นของเทศบาลเมืองตรังด้วยโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนสมัครใจสอบในโรงเรียนเดิมจำเลยที่3จึงมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนออกจากราชการเพื่อรับบำนาญด้วยเหตุทดแทนในวันเดียวกันเทศบาลเมืองตรังได้มีคำสั่งบรรจุและแต่งตั้งโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนเข้าราชการเป็นพนักงานเทศบาลเมืองตรังโดยได้รับเงินเดือนเท่าเดิมเมื่อโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนซึ่งได้ออกจากราชการและมีสิทธิรับบำนาญตามมาตรา9แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นพ.ศ.2500แล้วได้ขอกลับเข้ารับราชการใหม่ในสังกัดเทศบาลโดยได้รับเงินเดือนเท่ากับเงินเดือนเดิมโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนจึงต้องบอกเลิกรับบำนาญตามมาตรา30และโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนจะต้องถูกงดบำนาญในระหว่างที่เข้ารับราชการใหม่ด้วยตามมาตรา34วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 203, 652 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 193

คำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่าคดีที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยากให้ดำเนินคดีอย่างคดีมโนสาเร่ เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งไว้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา จำเลยจึงไม่อาจอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ได้ การเรียกให้ชำระหนี้เงินยืมซึ่งมิได้กำหนดเวลาอันจะพึงชำระหนี้ไว้ ต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 203 วรรคแรก มิใช่เป็นการเรียกให้คืนทรัพย์สินซึ่งยืมไปตามมาตรา 652 เมื่อสัญญากู้ยืมมิได้กำหนดวันชำระคืนโจทก์ผู้ให้กู้ย่อมจะเรียกให้จำเลยผู้กู้ชำระหนี้โดยพลันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 653 วรรคสอง, 798, 821 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 142 วรรคหนึ่ง, 142 (5), 246, 247

การเป็นตัวแทนเชิดหาจำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือในการเป็นตัวแทนไม่แม้ส. ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์มาแสดงว่าส. เป็นตัวแทนของโจทก์จำเลยก็อาจอ้างได้ว่าส.เป็นตัวแทนเชิดของโจทก์รับชำระหนี้เงินกู้แทนโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยวินิจฉัยว่าส. ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์มาแสดงว่าส. เป็นตัวแทนของโจทก์จำเลยไม่อาจอ้างได้ว่าส. เป็นตัวแทนรับชำระหนี้เงินกู้แทนโจทก์ไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์ข้ออื่นอีกจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142ประกอบด้วยมาตรา246 คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้ฎีกาและต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงแต่เมื่อคู่ความได้นำสืบพยานหลักฐานกันมาแล้วศาลฎีกาจึงชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 224

โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทโจทก์จึงริบมัดจำและถือว่าสัญญาเลิกกันขอให้ขับไล่และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าโจทก์ผิดสัญญาจะซื้อขายเพราะไม่สามารถแบ่งแยกที่ดินได้ตามสัญญาขอให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาหรือคืนเงินมัดจำดังนั้นสภาพแห่งข้อหาจึงมิใช่คดีฟ้องขับไล่บุคคลใดออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ4,000บาทแต่เป็นคดีที่พิพาทกันตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งราคาทรัพย์หรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า50,000บาทจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 164 เดิม, 193/30, 453, 503, 504

โจทก์ทำสัญญาซื้อครอสอาร์มเลนท์จำนวน 1,100 ชิ้นจากจำเลยตามสัญญาซื้อขายเอกสารหมาย จ.1 ข้อ 1 มีความว่าสินค้ามีคุณสมบัติตรงตามสเปซิฟิเคชั่นที่เสนอต่อโจทก์ทุกประการจำหน่ายโดยบริษัทคังเซ้งประเทศไทย และข้อ 2 มีความว่าผู้ขายรับรองว่าสินค้าที่ขายให้ตามสัญญามีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ตามรายละเอียดที่กล่าวในข้อ 1 และตรงตามสเปซิฟิเคชั่นที่แนบท้ายสัญญาผู้ขายรับรองว่าเมื่อตรวจทดลองแล้วต้องมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ด้วยและก่อนทำสัญญาซื้อขายโจทก์ได้จัดให้มีการประกวดราคากำหนดคุณลักษณะและคุณภาพของสินค้าให้ผู้ยื่นซองประกวดราคาทราบเมื่อจำเลยประมูลได้แล้วจึงได้ทำสัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.1 การซื้อขายดังกล่าวเป็นการซื้อขายตามเงื่อนไขเรียกประกวดราคาของโจทก์นอกจากนี้การซื้อขายนี้ยังยอมให้โจทก์ตรวจสอบคุณภาพก่อนดังนั้นรายละเอียดแนบท้ายสัญญาจึงเป็นเพียงรายละเอียดประกอบสัญญาเท่านั้นจึงเป็นการซื้อขายธรรมดามิใช่การซื้อขายตามตัวอย่างอันผู้ขายจะต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ตรงตามตัวอย่างและในเรื่องนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความเป็นอย่างอื่นจึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม หรือ 193/30 ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2539

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 2 วรรคสอง พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ม. 4

ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4นั้นข้อเท็จจริงได้ความว่าขณะที่ผู้ออกเช็คออกเช็คนั้นเพื่อเป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อชั้นไต่สวนมูลฟ้องและชั้นพิจารณาโจทก์ไม่นำสืบว่าจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายให้แก่ศ. ผู้สลักหลังเช็คดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับภายหลังพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา2วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2539

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 91 148 (3), 337 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ม. 5 (1) (ก)

พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 5 (1) (ก) ได้บัญญัติยกเว้นมิให้ใช้บังคับแก่อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนของราชการทหารและตำรวจที่มีหรือใช้ในราชการ เมื่ออาวุธปืนของกลางเป็นของกรมตำรวจและจำเลยที่ 1 เบิกมาใช้ในราชการโดยชอบ จำเลยที่ 1จึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต แม้จะได้ความว่าจำเลยที่ 1 เบิกอาวุธปืนของกลางมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2532 และมิได้ส่งคืนเพื่อตรวจสอบในกำหนด 1 เดือนก็ตาม ก็เป็นเรื่องผิดระเบียบภายในของกรมตำรวจ หาทำให้การกระทำที่ไม่เป็นความผิด กลับกลายเป็นความผิดขึ้นไม่

จำเลยที่ 1 รับราชการตำแหน่งรองสารวัตรแผนก 5 กองกำกับการ 2 กองปราบปราม กรมตำรวจ ที่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 ได้ยื่นใบลาขอหยุดพักผ่อนประจำปีตั้งแต่วันที่ 22 ถึงวันที่ 29 กันยายน 2532 และได้เดินทางไปที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ต่อมาถูกจับและยึดอาวุธปืนของกลางได้ในวันที่ 3 ตุลาคม 2532 ที่ห้องพักโรงแรมพลาซ่า อำเภอสุไหงโก-ลก และจำเลยที่ 1 พาอาวุธปืนของกลางติดตัวไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 พาอาวุธปืนของกลางไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควร ทั้งการพาอาวุธปืนของกลางดังกล่าวไปในเมือง หมู่บ้านทางสาธารณะนั้น จำเลยที่ 1 มิได้อยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ราชการเนื่องจากจำเลยที่ 1 มิได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติราชการในท้องที่ดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานพาอาวุธปืนของกลางไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุอันควรด้วย

จำเลยที่ 1 กับพวกอีกหนึ่งคนมาที่บ้านผู้เสียหายแนะนำตัวว่าชื่อร้อยตำรวจโท อ.มาจากกองปราบปรามมาทำงานโดยขอความช่วยเหลือค่าใช้จ่ายและถามผู้เสียหายว่าจะให้เท่าใด ผู้เสียหายเป็นนักการพนันเข้าใจว่าเจ้าพนักงานตำรวจกองปราบปรามมาขอเงินกลัวจะถูกจับกุม เพราะในบ้านของผู้เสียหายมีการลักลอบเล่นการพนันเป็นประจำ จึงบอกว่าจะให้ 10,000 บาท จำเลยที่ 1 ขอ15,000 บาท ผู้เสียหายจึงให้เงินจำนวนดังกล่าว จากข้อเท็จจริงดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้แกล้งกล่าวหาผู้เสียหายในข้อหาใด ทั้งจำเลยที่ 1มิได้ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบแต่ประการใด จำเลยที่ 1 เพียงแต่พูดขอเงินค่าใช้จ่ายเป็นส่วนตัว ซึ่งผู้เสียหายจะให้หรือไม่ก็ได้จำเลยที่ 1 มิได้กระทำการอันใดอันเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งข่มขืนใจผู้เสียหายให้มอบเงิน จำเลยที่ 1ยังไม่มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 148

จำเลยที่ 1 เรียกร้องเงินจาก ส.และ อ.ผู้เสียหายแต่ละรายหากไม่ยอมให้เงินจะจับกุม จนผู้เสียหายทั้งสองรายกลัวจึงยอมให้เงินแก่จำเลยที่ 1แม้ผู้เสียหายทั้งสองเป็นเจ้ามือสลากกินรวบ ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การพนันแต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีหลักฐานยืนยันการกระทำผิดของผู้เสียหายทั้งสองรายนี้ทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 เรียกร้องเงินจากผู้เสียหายหลายรายในเวลาไล่เลี่ยกันแสดงว่าจำเลยมีเจตนามาแต่แรกที่จะใช้อำนาจในตำแหน่งเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิด ข่มขืนใจและจูงใจให้ผู้เสียหายทั้งสองมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 1โดยขู่ว่าถ้าไม่ให้เงินก็จะจับกุม การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการแกล้งกล่าวหาผู้เสียหายเพื่อเรียกร้องเอาเงินเท่านั้น ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 เรียกร้องเงินจากผู้เสียหายทั้งสองราย หากไม่ยอมให้จะจับกุมจึงเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบตามป.อ. มาตรา 148 และเป็นการข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้ทรัพย์สินแก่จำเลยที่ 1 ตามป.อ. มาตรา 337

จำเลยที่ 1 เรียกร้องเงินจาก พ. ผู้เสียหายโดยกล่าวในทำนองว่าถ้าไม่ให้เงินจะทำการจับกุมหญิงที่รับจ้างค้าประเวณี พ.ตกลงให้เงินแก่จำเลยที่ 1เพราะ พ.เป็นหัวหน้าผู้อำนวยการคุมผู้หญิงที่ประกอบอาชีพค้าประเวณีในเขตอำเภอสุไหงโก-ลก และ พ.ตกลงให้เงินเพราะไม่ต้องการให้เกิดความวุ่นวายในพวกสมาชิกหญิงที่มีอาชีพรับจ้างค้าประเวณี ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 เรียกร้องเงินจาก พ.ผู้เสียหาย หากไม่ยอมให้จะจับกุมหญิงที่รับจ้างค้าประเวณี ซึ่งอยู่ในความดูแลของพ.ผู้เสียหาย โดยพฤติการณ์ตามที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว จำเลยที่ 1 มีเจตนามาแต่แรกที่จะใช้อำนาจในตำแหน่งเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิด ข่มขืนใจให้ พ.ผู้เสียหายมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 1 โดยขู่ว่าถ้าไม่ให้เงินก็จะจับกุมหญิงค้าประเวณีซึ่งอยู่ในความดูแลของ พ. ผู้เสียหายทั้งที่ไม่ปรากฏว่าขณะข่มขู่ดังกล่าวมีการค้าประเวณีกันจริง กรณีจึงเป็นการแกล้งกล่าวหาขึ้นเพื่อจะเรียกเอาเงินเท่านั้นเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบตาม ป.อ.มาตรา 148 และเป็นการข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้ทรัพย์สินแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 337

ความผิดกระทงที่หนักที่สุดที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 นั้นเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 148 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 10 ปีขึ้นไป กรณีจึงต้องด้วย ป.อ. มาตรา 91 (3) ซึ่งเมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นจะต้องไม่เกินกำหนด 50 ปี

« »
ติดต่อเราทาง LINE