เผยแพร่เมื่อ: 2024-03-01

ศาลในประเทศไทย: ประเภท หน้าที่ และอำนาจของศาลแต่ละประเภท

หลายๆคนเวลาดูหรืออ่านข่าวคงพบเจอกันบ่อยๆว่า ขึ้นศาลอาญา ขึ้นศาลแพ่ง ขึ้นศาลปกครอง จริงๆแล้วในประเทศไทยมีทั้งหมดกี่ศาลกันแน่ บทความนี้ Legardy จะพาทุกท่านไปรู้จักศาลทั้งหมดในประเทศไทยกันครับ


ศาลมี 4 ประเภท ได้แก่

2.png

1.ศาลยุติธรรม

คือ สถาบันในระบบการศาลของประเทศ ที่มีหน้าที่และอำนาจในการพิจารณาและพิพากษาคดีความต่างๆตามกฎหมาย โดยศาลยุติธรรมมักแบ่งออกเป็นหลายระดับ ได้แก่

1.1 ศาลชั้นต้น

ศาลชั้นต้น เป็นศาลซึ่งรับคำฟ้องหรือคำร้องในชั้นเริ่มต้นคดีไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่ง คดีผู้บริโภค คดีสิ่งแวดล้อม คดีนักท่องเที่ยว คดีแรงงาน 
คดีภาษีอากร คดีล้มละลาย คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ หรือคดีอาญา โดยดำเนินกระบวนการตัดสินชี้ขาดเป็นชั้นศาลแรก ทั้งมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาในบางเรื่องด้วย โดยศาลชั้นต้นประกอบด้วย

  • ศาลอาญา
  • ศาลแพ่ง
  • ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
  • ศาลแรงงาน
  • ศาลภาษีอากร
  • ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
  • ศาลล้มละลาย
  • ศาลเยาวชนและครอบครัว
  • ศาลแขวง ใช้สำหรับคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000บาท หรือ คดีอาญาที่มีอัตราโทษสูงสุด จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับ
    ไม่เกิน 60,000 บาท

1.2 ศาลอุทธรณ์

เป็นศาลที่พิจารณาและพิพากษาคดีที่มีการอุทธรณ์จากศาลชั้นต้น เพื่อให้ความยุติธรรมและตรวจสอบความถูกต้องของการพิจารณาและพิพากษาคดีในศาลชั้นต้นและความพิเศษของศาลอุทธรณ์เป็นศาลชั้นอุทธรณ์ศาลเดียวที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดียาเสพติดทั่วราชอาณาจักร

  • ศาลอุทธรณ์
  • ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตั้งอยู่ที่ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
  • ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
  • ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชศรีมา
  • ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
  • ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
  • ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
  • ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
  • ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
  • ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
  • ศาลอุทธรณ์ชำนัญการพิเศษ ได้แก่ แผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ , แผนกคดีภาษีอากร , แผนกคดีแรงงาน , แผนกคดีล้มละลาย , แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว

1.3 ศาลฎีกา

เป็นศาลยุติธรรมชั้นสูงสุด มีเขตอํานาจทั่วทั้งราชอาณาจักรมีอํานาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายว่าด้วยการฎีกา และมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้นโดย ตรงต่อศาลฎีกา ไม่ต้องผ่านศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามกฎหมายเฉพาะ รวมทั้งมีอํานาจวินิจฉัยชี้ขาดหรือสั่งคําร้องคําขอที่ยื่นต่อศาลฎีกาตามกฎหมาย หรือสรุปง่ายๆคือ ศาลฎีกาคือศาลชั้นสุดท้ายและคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลฎีกานั้นถือเป็นที่สุด

ศาลฎีกามี 12 แผนกได้แก่

  • แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว
  • แผนกคดีแรงงาน
  • แผนกคดีภาษีอากร
  • แผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
  • แผนกคดีล้มละลาย
  • แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
  • แผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจ
  • แผนกคดีสิ่งแวดล้อม
  • แผนกคดีผู้บริโภค
  • แผนกคดีเลือกตั้ง
  • แผนกคดีปกครอง(ภายใน)
  • แผนกคำสั่ง/คำร้อง/คำขออนุญาต

คลิกเพื่ออ่าน : บทความทางกฎหมาย, คำปรึกษาจริงพร้อมคำตอบจากทนายความ, มาตราที่เกี่ยวข้องกับศาล 

 

 

1.png

2.ศาลปกครอง

ศาลปกครองเป็นศาลที่มีหน้าที่พิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับการกระทำของหน่วยงานรัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่รัฐ ในกรณีที่มีข้อพิพาทระหว่างประชาชนและหน่วยงานรัฐ ซึ่งศาลปกครองมีอำนาจในการสืบค้นหาข้อเท็จจริงและหลักฐานเอง ไม่ต้องพึ่งพาการนำเสนอหลักฐานจากคู่กรณีทั้งสองฝ่าย

เหตุผลที่ศาลปกครองมีระบบพิจารณาคดีโดยไม่ต้องพึ่งพาหลักฐานจากคู่กรณี

1.ส่วนใหญ่เป็นกรณีที่เกี่ยวข้องกับการออกกฎเกณฑ์หรือคำสั่งจากหน่วยงานรัฐ ซึ่งสามารถทำได้ฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องมีการตกลงหรือเจรจากับฝ่ายประชาชน

2.หลักฐานส่วนใหญ่ที่ใช้ในคดีปกครองมักจะอยู่ในการครอบครองของหน่วยงานรัฐ หากต้องให้ประชาชนหรือเจ้าหน้าที่รัฐที่ฟ้องคดีหาหลักฐานเอง จะเป็นการไม่ยุติธรรม เพราะพวกเขาไม่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลเท่ากับฝ่ายรัฐ

การที่ศาลปกครองสามารถสืบค้นหาหลักฐานได้เอง จึงเป็นการทำให้กระบวนการพิจารณาคดีมีความเป็นธรรมมากขึ้น สำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

โดยศาลปกครองมี 2 ศาลได้แก่

  • ศาลปกครองชั้นต้น
  • ศาลปกครองสูงสุด สำหรับพิจารณาคดีที่อุทธรณ์มาจากศาลปกครองชั้นต้น

อ่านคำปรึกษาจริงพร้อมคำตอบจากทนายความเรื่อง "ศาล"

Q: การยื่นคำฟ้องศาลปกครอง

Q: การฟ้อง ขึ้นศาล

Q: ขอเลื่อนนัดศาล


3.ศาลรัฐธรรมนูญ

ศาลที่มีหน้าที่และอำนาจในการพิจารณาและวินิจฉัยเกี่ยวกับความถูกต้องตามรัฐธรรมนูญของกฎหมาย กฎระเบียบ และการกระทำต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดิน รวมถึงการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ

ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ ดังนี้

1.) ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ตรวจสอบว่ากฎหมายที่ร่างหรือข้อบังคับที่ร่างของฝ่ายนิติบัญญัติที่ยังไม่ได้ประกาศใช้ ว่ามีความขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่

2.) ศาลรัฐธรรมนูญสามารถตรวจสอบได้ว่า กฎหมายต่างๆที่ประกาศใช้ไปแล้วนั้นมีความขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งหากพบว่าขัดแย้งก็สามารถยกเลิกกฎหมายหรือสั่งให้แก้ไขกฎหมายที่ขัดแย้งได้

3.) ศาลรัฐธรรมนูญสามารถพิจารณาได้ว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการ มีส่วนในการใช้งบประมาณอย่างเหมาะสมหรือไม่

4.) ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ตัดสินปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นๆ ที่มิใช่ศาล

5.) ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ตรวจสอบมติหรือข้อบังคับของพรรคการเมือง รวมถึงการอุทธรณ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการใช้สิทธิและเสรีภาพทางการเมืองว่าถูกต้องตามรัฐธรรมนูญหรือไม่

6.) ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ตรวจสอบและตัดสินว่าผู้ที่ดำรงตำแหน่งเหล่านี้มีคุณสมบัติและสมาชิกภาพตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดหรือไม่


4.ศาลทหาร

ศาลทหารเป็นศาลที่มีหน้าที่พิจารณาและพิพากษาคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่อยู่ในอำนาจของศาลทหาร ซึ่งโดยปกติแล้วคือคดีที่เกี่ยวข้องกับทหารที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญา แต่ศาลทหารไม่มีอำนาจในการพิจารณาคดีแพ่ง แม้ว่าคดีแพ่งนั้นจะเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลทหารก็ตาม

โดยศาลทหารนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 3ศาล ดังนี้

1) ศาลทหารชั้นต้น เป็นศาลที่เทียบได้กับศาลชั้นต้นของศาลอื่นๆ โดยศาลทหารชั้นต้นมี 4 ประเภท ได้แก่ 

  • ศาลทหารกรุงเทพ 
  • ศาลมณฑลทหาร 
  • ศาลจังหวัดทหาร 
  • ประจำหน่วยทหาร

2) ศาลทหารกลาง เป็นศาลที่เทียบได้กับศาลอุทธรณ์ของศาลอื่นๆมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทหารชั้นต้น 
3) ศาลทหารสูงสุด เป็นศาลที่เทียบได้กับศาลฎีกาของศาลพลเรือน มีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่มีการโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลทหาร โดยคดีที่ศาลทหารสูงสุดได้พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งแล้วถือว่าเป็นที่สุด 

กรณีดังต่อไปนี้ต้องพิพากษาที่ศาลทหาร

  • หากคดีเป็นข้อพิพาทหรือการกระทำความผิดระหว่างทหารด้วยกันเอง คดีนี้จะขึ้นศาลทหาร
  • หากทหารประจำการทำร้ายบุคคลอื่น (ที่ไม่ใช่ทหาร) คดีนี้จะขึ้นศาลทหาร เนื่องจากผู้กระทำความผิดเป็นทหาร
  • หากบุคคลทั่วไปทำร้ายทหาร คดีนี้จะไม่ขึ้นศาลทหาร แต่จะขึ้นศาลยุติธรรมตามปกติ

กร็ดความรู้กับ Legardy : หนีทหารมีโทษอย่างไรตามกฎหมาย คลิกเพื่ออ่าน !


คำถามที่พบเจอบ่อยเกี่ยวกับศาล

คำถาม : ศาลไม่อนุญาตให้ฎีกาคดีอาญา

  • ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยครับ หากข้อเท็จจริงนั้นชัดเจนมากแล้วและได้รับการพิจารณาจากศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์ ก็จะไม่อนุญาตให้ฎีกาครับ
  • หากศาลท่านพิจารณาเห็นแล้วว่า การยื่นขอฎีกานั้นเป็นการยื่นขอเพื่อถ่วงเวลา ศาลท่านอาจไม่อนุญาตให้ฎีกาได้ครับ
  • ดังนั้นหากจะยื่นขอฎีกา ให้ตรวจสอบเวลาหรือหาเหตุผลให้ชัดเจนในการขอฎีกานะครับ

คำถาม : ศาลตัดสินคดีรถหาย

ขึ้นอยู่กับลักษณะของคดีครับ ว่าเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา

หากเป็นคดีแพ่ง เป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับการเรียกร้องค่าเสียหาย เช่น การฟ้องบริษัทประกันภัยหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง คดีนี้จะขึ้นอยู่กับศาลแพ่ง

หากเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทางอาญา เช่น การโจรกรรมรถ การโดนขโมยรถ คดีนี้จะขึ้นอยู่กับศาลอาญา


กำลังหาที่ปรึกษากฎหมายอยู่ใช่ไหม? สามารถปรึกษากฎหมายผ่าน Legardy ใช้ได้ตลอด 24ชั่วโมง ! คลิกที่ลิงค์นี้ได้เลยครับ

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE