
รู้จักคดียาเสพติด ประกันตัวได้ไหม?
คดียาเสพติดยังคงเป็นปัญหาใหญ่ในประเทศไทย โดยเฉพาะปัจจุบันที่สามารถเข้าถึงยาเสพติดง่ายขึ้นผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งเมื่อโดนคดีแล้ว ย่อมกังวลว่าคดียาเสพติดประกันตัวได้ไหม? โดนคดียาเสพติดครั้งแรกต้องทำอย่างไร? บทความนี้เราจึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคดียาเสพติด ทั้งประเด็นโดนคดียาเสพติด ครั้งแรก การประกันตัวคดียาเสพติด พร้อมแนะนำที่ปรึกษามืออาชีพตลอด 24 ชม.
โดนคดียาเสพติด ครั้งแรก ทำอย่างไร?
กรณีโดนคดียาเสพติด ครั้งแรก ศาลจะอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ประกอบการพิจารณาในเรื่องการลดโทษหรือรอการลงโทษไ้วก่อนแล้วแต่กรณี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 เพราะเล็งเห็นว่าเป็นความผิดครั้งแรก ผู้กระทำผิดอาจจะเป็นคนดีแก่สังคมได้มากกว่าที่จะลงโทษจำคุก จึงปล่อยตัวไปเพื่อให้โอกาสกลับตัวกลับใจเพื่อตนเองและสังคม
ปัจจัยลดโทษหรือรอการลงโทษคดียาเสพติด
- เป็นผู้ไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน มีคดียาเสพติดครั้งแรกครั้งเดียว รวมทั้งไม่เคยคดีอื่น ๆ แต่อย่างใด
- ของกลางมีจำนวนเล็กน้อย
- เป็นผู้มีประวัติทำประโยชน์ให้แก่สังคม
- เป็นผู้มีอาชีพสุจริต มีสถานที่ทำงานเป็นหลักแหล่ง
- เป็นนักเรียนหรือนักศึกษา จะมีผลต่อการพิจารณาค่อนข้างมาก เพราะยังมีเวลาและความสามารถในการประพฤติตนตอบแทนสังคมมากว่าโทษจำคุกในเรือนจำ
- เคยถูกกักขังหรือจำคุกในชั้นพิจารณาคดีมาก่อนสำหรับคดีที่จะมีการพิพากษาขึ้น
- เป็นเพศหญิงและ/หรือมีโรคป่วยร้ายแรง
- เป็นผู้ป่วยจิตเวชทั่วไปหรือผู้ป่วยนิติจิตเวชในภาวะที่อันตราย
ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !
คดียาเสพติดประกันตัวได้ไหม?
คดียาเสพติดสามารถขอประกันตัวได้ เพราะสิทธิในการประกันตัวเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน แต่จะได้รับอนุญาตให้ประกันตัวหรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล
ประกันตัวคดียาเสพติดใช้หลักประกันอะไรบ้าง?
หลักประกันที่สามารถใช้ประกันตัวคดียาเสพติด เช่น เงินสด โฉนดที่ดิน พันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน สมุดเงินฝากประจำที่ฝากไว้กับธนาคารต่าง ๆ เช็กที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย หรือใช้บุคคลเป็นหลักประกัน โดยต้องมีหนังสือรับรองจากต้นสังกัดแสดงสถานะ ตำแหน่งระดับอัตราเงินเดือน เป็นต้น ทั้งนี้หากถูกตั้งข้อหาหลายข้อหาร่วมกัน หลักทรัพย์ก็จะมูลค่าสูงขึ้นตามไปด้วย
ขั้นตอนขอประกันตัวคดียาเสพติด
1. เตรียมหลักประกันตัวให้ครบถ้วน ซึ่งคดียาเสพติดแต่ละข้อหาก็ใช้หลักประกันตัวแตกต่างกันออกไป
2. กรณีที่หลักประกันไม่ใช่ของผู้ประกัน ต้องทำหนังสือมอบอำนาจ ณ ที่ว่าการอำเภอที่มีภูมิลำเนาหรือหลักทรัพย์ตั้งอยู่เพื่อแสดงให้เห็นว่าได้รับความยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ให้นำหลักทรัพย์นั้นมาทำการประกัน โดยให้นายอำเภอหรือผู้รักษาราชการแทนลงลายมือชื่อและประทับตราประจำตำแหน่งรับรองการมอบอํานาจ
3. ขอแบบพิมพ์คำร้องขอประกันตัวได้จากเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของศาล
4. เขียนคำร้องขอประกันตัว ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยคดียาเสพติดลงชื่อในคำร้อง
5. ผู้ขอประกันยื่นคำร้องขอประกันตัวพร้อมหลักประกันที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของศาล
6. เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์จะนำเสนอคำร้องต่อผู้พิพากษาเพื่อพิจารณาคำสั่งร้อง
7. เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตประกันตัวแล้ว ผู้ต้องหาหรือจำเลยคดียาเสพติดจะถูกปล่อยตัวในวันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว
8. หากศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว ผู้ขอประกันตัวสามารถขอรับหลักทรัพย์คืนได้จากเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
หากใครที่โดนคดียาเสพติดมาแล้วยังไม่มีทนายความและกำลังมองหาทนายความช่วยแก้ต่างคดีให้คุณ ไม่ว่าจะเป็นคดียาเสพติด ครั้งแรก หรือครั้งอื่น ๆ ทนายความมืออาชีพที่ Legardy พร้อมให้คำปรึกษาเพื่อหาช่องทางต่อสู้คดีให้กับคุณ รวมทั้งสามารถประเมินเบื้องต้นได้ว่าคดียาเสพติดของคุณจะเป็นอย่างไรในชั้นศาล เริ่มใช้บริการได้แล้ววันนี้ที่ Legardy 24 ชม.
หากมีข้อสงสัยต้องการปรึกษาทนายความเพื่อหาทางออกกฎหมาย สามารถติดต่อผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมงครับ
คำถามที่พบบ่อย
1. ประกันตัวคดียาเสพติดกี่บาท?
วงเงินประกันตัวคดียาเสพติดจะแตกต่างกัน โดยพิจารณาว่าเป็นผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผู้ครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือผู้เสพ ซึ่งจะมีอัตราลดหลั่นกันไป รวมทั้งประเภทของยาเสพติด เช่น เป็นผู้ผลิต นำเข้า หรือส่งออกยาเสพติดประเภท 1 (ยาบ้า ยาอี) วงเงินประกัน 500,000 บาทขึ้นไป หากเป็นผู้เสพ วงเงินประกันเริ่มต้น 10,000 บาทขึ้นไป
2. คดียาเสพติดยื่นฎีกาได้ไหม?
สามารถทำการขออนุญาตฎีกาต่อศาลฎีกาได้ โดยทำเป็นคำร้องขออนุญาตฎีกาต่อศาล
3. ศาลฎีกา ตัดสินจำคุก ประกันตัวได้ไหม?
หากยังไม่พ้นระยะเวลา 30 วันนับจากวันมีคำพิพากษา สามารถอุทธรณ์หรือฎีกาในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาและสามารถประกันตัวได้
4. ประกันตัวคดียาเสพติดใช้อะไรบ้าง?
- บัตรประชาชน บัตรข้าราชการ หรือบัตรแสดงตำแหน่งหน้าที่การงาน ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนาของจำเลยและผู้ประกัน
- หลักประกันหรือหลักทรัพย์
- หลักฐานการยินยอมของคู่สมรส กรณีผู้ประกันมีคู่สมรส
- หนังสือมอบอำนาจ กรณีหลักทรัพย์ไม่ใช่ของผู้ประกัน
- หนังสือรับรองจากต้นสังกัดหรือนายจ้าง กรณีขอประกันตัวด้วยตำแหน่งหน้าที่
- หนังสือรับรองราคาประเมิน กรณีใช้โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นหลักประกัน
- หนังสือรับรองจากธนาคาร กรณีใช้สมุดเงินฝากเป็นหลักประกัน
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



