เปิดขั้นตอนการร้องเรียนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-08-03

เปิดขั้นตอนการร้องเรียนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ในโลกของการจ้างงาน มีผู้ประการจำนวนไม่น้อยปฎิบัติต่อลูกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นการเลิกจ้างลูกจ้างกระทันหันโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย หรือการไม่จ่ายเงินเดือนตามกำหนด ซึ่งพอเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวลูกจ้างหลายคนอาจจะไม่รู้ว่าต้องรับมืออย่างไรดี ในบทความนี้เราจึงได้หยิบยกประเด็นการร้องเรียนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมาฝาก เพื่อให้ลูกจ้างสามารถเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับตนเองได้

 

ร้องเรียนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรณีใดได้บ้าง?

  • ลูกจ้างถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม หรือนายจ้างเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิด ไม่มีเหตุผลที่สมควร เช่น เลิกจ้างเพราะรู้สึกไม่พอใจในเรื่องส่วนตัวระหว่างกัน หรือจงใจกลั่นแกล้งให้เดือนร้อน
  • นายจ้างจ่ายเงินช้ากว่ากำหนด 7 วัน หรือไม่จ่ายค่าจ้างโดยไม่มีเหตุอันควร
  • การกระทำใด ๆ ที่ขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หมวด 9 การกระทำอันไม่เป็นธรรม

 

ช่องทางร้องเรียนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ปัจจุบันแรงงานสามารถร้องเรียนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ผ่าน 4 ช่องทาง ได้แก่

  • ร้องเรียนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่ที่สำนักงานของนายจ้างตั้งอยู่
  • ระบบออนไลน์ เว็บไซต์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • Line official: @prdlpw
  • กระทรวงแรงงาน สายด่วน 1546 หรือ 1506 กด 3 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

 

ขั้นตอนการร้องเรียนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ขั้นตอนการร้องเรียนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน.png

1. ร้องเรียนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

เมื่อตัดสินใจจะยื่นร้องเรียนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ลูกจ้างสามารถร้องเรียนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่ที่สำนักงานของนายจ้างตั้งอยู่ หรือที่เป็นภูมิลำเนาของนายจ้าง หากไม่สะดวกเดินทางไปยื่นคำร้องด้วยตนเอง สามารถร้องเรียนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานผ่านช่องทางออนไลน์ ได้แก่ เว็บไซต์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน Line และช่องทางสายด่วน 1546 หรือ 1506 กด 3

2. พนักงานตรวจแรงงานสอบสวนข้อเท็จจริง

หลังจากได้รับคำร้อง พนักงานตรวจแรงงานจะเริ่มสอบสวนข้อเท็จจริงและออกคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวภายใน 60 วัน นับตั้งแต่ยื่นคำร้อง โดยเรียกนายจ้างและลูกจ้างมาสอบข้อเท็จจริง เช่น หากลูกจ้างโดนไล่ออกกระทันหัน พนักงานตรวจแรงงานจะวินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างโดยชอบธรรมหรือไม่

3. ออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชย

หากพนักงานตรวจแรงงานวินิจฉัยแล้วเห็นว่า เป็นการเลิกจ้างอย่างไม่ชอบธรรม และลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงิน พนักงานตรวจแรงงานจะมีการออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้าง หากนายจ้างไม่ปฎิบัติตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ไม่ยอมจ่ายเงินแก่ลูกจ้าง จะมีโทษทางอาญาจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 151 ของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานด้วย

4. ยื่นฟ้องต่อศาลแรงงาน

หลังจากจบกระบวนการร้องเรียนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ลูกจ้างก็สามารถยื่นฟ้องคดีต่อศาลแรงงานต่อไปได้ กรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยตามที่พนักงานตรวจแรงงานสั่ง หรือสามารถยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานโดยตรงตั้งแต่ต้น โดยไม่ต้องใช้บริการพนักงานตรวจแรงก็ได้ โดยเตรียมเอกสารที่เกี่ยวกับการถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และยื่นฟ้องด้วยวาจาต่อศาลแรงงานที่มีเขตอำนาจ

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม

 

เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ลูกจ้างมีสิทธิรับเงินอะไรบ้าง?

กรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม หรือไม่มีเหตุอันสมควรลูกจ้างมีสิทธิรับเงินชดเชยดังต่อไปนี้ 

  • ค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน ขึ้นไป โดยอัตราที่ได้รับขึ้นอยู่กับระยะเวลาการทำงาน ตามมาตรา 118 ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2562
  • ค่าชดเชยพิเศษ กรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ
  • ค่าชดเชยพิเศษ กรณีนายจ้างปรับปรุงหน่วยงานโดยนำเครื่องจักร มาแทนกำลังคน
  • สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ในกรณีที่นายจ้างไม่แจ้งกำหนดให้ทราบล่วงหน้า เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วันหรือ 60 วันแล้วแต่กรณี
  • ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

อ่านมาถึงตรงนี้ หวังว่าลูกจ้างที่กำลังเผชิญกับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมจากนายจ้าง จะไม่นิ่งเฉย และใช้สิทธิเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการร้องเรียนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือการยื่นฟ้องต่อศาลโดยตรง รวมทั้งฝ่ายนายจ้างก็ต้องพิจารณาให้ดีทุกครั้งก่อนเลิกจ้าง เพราะหากมีความเสี่ยงที่จะเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรม อาจถูกฟ้องศาลได้ เสียทั้งค่าชดเชย เวลา และชื่อเสียง

หากลูกจ้างมีปัญหาการถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม หรือมีข้อสงสัยว่าสิ่งที่นายจ้างทำเข้าข่ายการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ หรือต้องการร้องเรียนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แต่ไม่รู้จะเตรียมตัวอย่างไรดี สามารถปรึกษาทนายความมืออาชีพได้ที่ Legardy ตลอด 24 ชม. ทนายของเราพร้อมหาทางออกให้กับปัญหาของคุณ

 

แนะนำโดย Legardy
blog-cta
บริการปรึกษากฎหมาย 24 ชั่วโมง
ฟรี และ ไม่ระบุตัวตน
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท