สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง
วันนี้ทนายจะขอนำเสนอเรื่อง “สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง” นะครับ

สัญญายืมคืออะไร
คำว่า “สัญญายืม” คือสัญญาที่มีคู่สัญญา 2 ฝ่ายคือ “ผู้ให้ยืม” กับ “ผู้ยืม” โดยผู้ให้ยืมมีหน้าที่ให้ผู้ยืมได้ยืมหรือได้ใช้ประโยชน์ในทรัพย์ของตน เมื่อได้ใช้ประโยชน์เสร็จสิ้นแล้วผู้ยืมก็ต้องคืนทรัพย์นั้น
2 ประเภทของสัญญายืม
สัญญายืมในทางกฎหมายนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภท กล่าวคือ
ประเภทที่ 1: สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง
กฎหมายเกี่ยวกับสัญญายืมสิ้นเปลือง
สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองถูกบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 650 วรรคหนึ่งว่า:
อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น คือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมีกำหนดให้ไปแก่ผู้ยืมและผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิดและปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น
ประกอบ วรรคสองว่า:
สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม
ตัวอย่างของสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง
สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองนี้ต่างจากยืมใช้คงรูปเพราะผู้ให้ยืมได้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้ยืมนั้นไป ผู้ยืมจึงเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ยืมแต่ต้องนำทรัพย์จำนวนหรือปริมาณเท่ากันกับทรัพย์ที่ยืมมาคืน ไม่จำต้องคืนทรัพย์ชิ้นเก่า
ลักษณะของสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง
สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองมีตัวอย่างเช่น กระดาษสมุด (A ให้ B ยืมสมุดไปใช้จดบันทึกเมื่อ B ยืมไปใช้จดบันทึกแล้วสมุดนั้นย่อมเป็นของ B เพียงแต่ B ต้องคืน A ด้วยสมุดที่มีขนาดเท่ากับเล่มเดิม) , ข้าวสาร เพราะข้าวสารเมื่อยืมไปใช้หุงต้มย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นข้าวสวย
กรณีสัญญายืม( ไม้และสังกะสี )
มีฎีกาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการยืมใช้สิ้นเปลือง ฎีกาที่ 905/2505 จำเลยยืมไม้และสังกะสีของผู้ร้องเพื่อปลูกเรือนย่อมหมายความว่าเอาทรัพย์นั้นๆ มาขาดทีเดียว ไม่ใช่จะเอาทรัพย์นั้นไปคืนอีก จึงถือเป็นการยืมใช้สิ้นเปลือง กรรมสิทธิ์ในเรือนที่ปลูกขึ้นย่อมเป็นของจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 650
การกู้ยืม (เงิน )
สัญญากู้ยืมเงินก็เป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองด้วย เพราะเงินที่ถูกยืมมาเมื่อเรานำไปใช้ย่อมหมดสิ้นไปลูกหนี้ไม่สามารถคืนเงินจำนวนเก่าให้เจ้าหนี้ แต่สามารถคืนเงินจำนวนใหม่ที่มีมูลค่าเท่ากับตอนที่ยืมได้ เช่น บิวยืมเงิน B 1,000 บาทเป็นแบงก์ร้อย 10 ใบ บิวสามารถคืนเงิน B เป็นแบงก์พันหรือแบงก์ห้าร้อย 2 ใบก็ย่อมได้
แล้วถ้าลูกหนี้ไม่จ่ายหนี้ สามารถแจ้งควาได้ไหม ฟังคำตอบจากทนายชัดๆ คลิกเลย !
หลักฐานแห่งการกู้ยืม
ในการกู้ยืมเงินนั้นควรมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า:
“การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่”
กล่าวคือ ถ้ากู้ยืมเงินมากกว่า 2,000 บาทควรมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืม ลายมือชื่อผู้ให้ยืมไม่จำเป็นต้องมี ถ้าขาดหลักฐานเป็นหนังสือสัญญากู้ยืมสมบูรณ์เพียงแต่ฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้เท่านั้น
กรณีไม่ใช่สัญญายืม
ฎีกาที่ 409/2565 การที่พนักงานของรัฐขอยืมเงินทดรองจ่ายจากหน่วยงานของรัฐเพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในกิจการหน่วยงานของรัฐเอง ไม่เป็นการยืมใช้คงรูปหรือสิ้นเปลือง

ประเภทที่ 2: สัญญายืมใช้คงรูป
สัญญายืมใช้คงรูปถูกบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 640 ว่า
อันว่ายืมใช้คงรูปนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืม ให้บุคคลอีกคนเรียกว่าผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้น เมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว
ประกอบมาตรา 641 ที่บัญญัติว่า:
การให้ยืมใช้คงรูปนั้น ท่านว่าย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้ยืม
ตัวอย่างของสัญญายืมใช้คงรูป
สัญญายืมใช้คงรูปคือสัญญาที่ผู้ให้ยืมได้ให้ผู้ยืมได้ยืมทรัพย์ของตนเอง เมื่อผู้ยืมใช้ประโยชน์ในทรัพย์เสร็จแล้วก็ต้องคืนทรัพย์สินชิ้นนั้นให้ผู้ยืม เช่น นาย A ยืมปากกาแดงจากนาย B นาย A ต้องคืนปากกาแดงด้ามนั้นที่ยืมมาคืนให้นาย B นาย A ไม่สามารถคืนปากกาด้ามอื่นหรือคืนปากกาดำหรือปากกาน้ำเงินให้แก่นาย B ได้เลย
ความรับผิดชอบในการใช้ทรัพย์ที่ยืม
การยืมใช้คงรูปผู้ยืมจำต้องใช้ทรัพย์นั้นให้ถูกต้องตามลักษณะของทรัพย์นั้น ๆ ด้วย ไม่สามารถนำทรัพย์ไปใช้ให้ผิดจากหน้าที่ของทรัพย์ เช่น โบว์ขอยืมรถยนต์ของเมไป โบว์ต้องใช้รถยนต์คันนั้นในการขับรถเดินทาง จะนำรถยนต์ของเมไปใช้ผิดหน้าที่เช่นนำรถไปขนอิฐ ขนดินปูนหรือขนวัสดุต่างๆ ก็ทำไม่ได้
ลักษณะของสัญญายืมใช้คงรูป
สัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาให้ใช้สอยทรัพย์สินจึงเป็นสัญญาที่ไม่มีค่าตอบแทน (ผู้ยืมไม่ต้องเสียเงินค่ายืมของใช้ให้ผู้ให้ยืม) และเป็นสัญญาที่ไม่ได้มุ่งในการโอนกรรมสิทธิ์ กล่าวคือ ผู้ยืมไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ยืมมา เมื่อสัญญาไม่มีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ ผู้ให้ยืมจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นหรือไม่ก็ไม่สำคัญ
กรณีการยืมทรัพย์จากบุคคลที่สาม
เช่น บอยขอยืมลูกบาสจากบี บีไม่มีลูกบาสจึงหยิบบาสของเบิ้ลซึ่งเป็นพี่ชายไปให้บอยยืมใช้ สัญญายืมก็เกิดขึ้นแล้ว

การดูแลและบำรุงรักษาทรัพย์สินที่ยืม
ผู้ยืมมีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์ที่ยืมนั้นตามมาตรา 644 ที่บัญญัติว่า:
ผู้ยืมจำต้องสงวนทรัพย์สินซึ่งยืมไปเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง
ผู้ยืมมีหน้าที่จ่ายเงินเล็กๆ น้อยๆ เพื่อบำรุงรักษาทรัพย์นั้นตามมาตรา 647 ที่บัญญัติว่า:
ค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติแก่การบำรุงรักษาทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ผู้ยืมต้องเป็นผู้เสีย
กรณีไม่ใช่สัญญายืมใช้คงรูป
ขอหยิบยก ฎีกาที่ 828/2557 มีใจความว่าเจตนาที่แท้จริงของโจทก์ร่วมประสงค์จะให้จำเลยยืมทองรูปพรรณ มิใช่จำเลยเช่าซื้อ แม้โจทก์ร่วมและจำเลยทำสัญญาเช่าซื้อก็เกิดจากเจตนาลวง สัญญ่าเช่าซื้อย่อมตกเป็นโมฆะ
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



