Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 557 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 557 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 557” คืออะไร? 


“มาตรา 557” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 557 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในกรณีอย่างใด ๆ ดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
              (๑) ถ้าทรัพย์สินที่เช่านั้นชำรุดควรที่ผู้ให้เช่าจะต้องซ่อมแซมก็ดี
              (๒) ถ้าจะต้องจัดการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อปัดป้องภัยอันตรายแก่ทรัพย์สินนั้นก็ดี
              (๓) ถ้าบุคคลภายนอกรุกล้ำเข้ามาในทรัพย์สินที่เช่าหรือเรียกอ้างสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเหนือทรัพย์สินนั้นก็ดี
              ในเหตุดังกล่าวนั้นให้ผู้เช่าแจ้งเหตุแก่ผู้ให้เช่าโดยพลัน เว้นแต่ผู้ให้เช่าจะได้ทราบเหตุนั้นอยู่ก่อนแล้ว
              ถ้าผู้เช่าละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัตินี้ไซร้ ท่านว่าผู้เช่าจะต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าในเมื่อผู้ให้เช่าต้องเสียหายอย่างใด ๆ เพราะความละเลยชักช้าของผู้เช่านั้น “

อ่านคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "สัญญาเช่า" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 557” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 557 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11 - 13/2503
อสังหาริมทรัพย์อาจตกอยู่ในภารจำยอมก็เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นเท่านั้น จะอ้างว่าใช้ที่ดินนั้นเพื่อประโยชน์แก่การค้าน้ำแข็งหาได้ไม่
ผู้ที่ต้องยอมรับภารจำยอม คือ เจ้าของทรัพย์ จำเลยเป็นเพียงผู้เช่าที่ดินของวัด จำเลยย่อมไม่มีหน้าที่จะเรียกวัดเข้ามาเป็นจำเลย
โจทก์ฟ้องอ้างภารจำยอม โดยกล่าวว่าโจทก์ได้ใช้ที่ดินนั้นเข้าออกเพื่อประโยชน์อื่น เช่นนี้ เป็นการฟ้องเคลือบคลุม ไม่แจ้งชัดว่าประโยชน์ใด โจทก์จะนำสืบมิได้เพราะไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง
ประเด็นในคดีเป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของโจทก์ภายหลังการกั้นรั้วของจำเลยหรือเพราะเหตุที่กั้นรั้วนั้นว่าโจทก์ยังสุขสบายตามสมควรหรือไม่ เช่นนี้ ศาลไม่จำเป็นต้องสืบพยานถึงความสุขสบายของโจทก์ตั้งแต่ครั้งที่จำเลยยังไม่กั้นรั้วและศาลยังไม่ไปเดินเผชิญสืบ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1387, ม. 557 (3)
ป.วิ.พ. ม. 172 วรรคสอง, ม. 57 (3), ม. 182, ม. 183, ม. 86 วรรคสอง


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11 - 13/2503
อสังหาริมทรัพย์อาจตกอยู่ในภาระจำยอม ก็เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นเท่านั้น จะอ้างว่าใช้ที่ดินนั้นเพื่อประโยชน์แก่การค้าน้ำแข็งหาได้ไม่
ผู้ที่ต้องยอมรับภารจำยอมคือ เจ้าของทรัพย์ จำเลยเป็นเพียงผู้เช่าที่ดินของวัด จำเลยย่อมไม่มีหน้าที่จะ ยกวัดเข้ามาเป็นจำเลย
โจทก์ฟ้องอ้างภาระจำยอม โดยกล่าวว่า โจทก์ได้ใช้ที่ดินนั้นเข้าออกเพื่อประโยชน์อื่น เช่นนี้ เป็นการฟ้องเคลือบคลุม ไม่แจ้งชัดว่าประโยชน์ใด โจทก์จะนำสืบมิได้ เพราะไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรค 2
ประเด็นในคดีเป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของโจทก์ภายหลังการกั้นรั้วของจำเลยหรือเพราะเหตุที่กั้นรั้วนั้น ว่าโจทก์ยังสุขสบายตามสมควรหรือไม่ เช่นนี้ ศาลไม่จำเป็นต้องสืบพยานถึงความสุขสบายของโจทก์ ตั้งแต่ครั้งที่จำเลยยังไม่กั้นรั้วและศาลยังไม่ไปเดินเผชิญสืบ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1367, ม. 557 (3)
ป.วิ.พ. ม. 57 (3), ม. 162, ม. 163
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที