คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2539
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 5701/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 224 วรรคหนึ่ง, 383 วรรคหนึ่ง
โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ19ต่อปีตามสัญญาที่จำเลยขอเปิดวงเงินเบิกเกินบัญชีจากโจทก์ดังนั้นเมื่อสัญญาเลิกกันแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราดังกล่าวจนกว่าจะชำระเสร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคหนึ่งเพราะถือว่าโจทก์มีเหตุที่อ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมายและดอกเบี้ยหลังจากสัญญาเลิกกันแล้วไม่ถือว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลจะมีอำนาจปรับลดลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3555/2539
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 ม. 30
แม้การขอกลับเข้ารับราชการใหม่กับการบอกเลิกรับบำนาญจะเป็นคนละเรื่องกันแต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้ยื่นเรื่องทั้งสองดังกล่าวพร้อมกันทั้งตามบทบัญญัติในมาตรา30วรรคสี่และวรรคห้าแห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพ.ศ.2494ก็ไม่ได้กำหนดระยะเวลาเริ่มต้นไว้ว่าจะต้องยื่นหนังสือการบอกเลิกรับบำนาญตั้งแต่เมื่อใดการที่โจทก์ยื่นหนังสือการบอกเลิกรับบำนาญพร้อมกับการยื่นหนังสือขอกลับเข้ารับราชการใหม่โดยไม่รอให้กรมเจ้าสังกัดมีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ารับราชการใหม่เสียก่อนก็หาขัดต่อมาตรา30วรรคสี่ไม่ มาตรา30วรรคห้าบัญญัติเพียงว่าการบอกเลิกรับบำนาญให้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อเป็นหลักฐานส่งไปยังกระทรวงการคลังโดยผ่านกระทรวงเจ้าสังกัดมิได้กำหนดว่าต้องยื่นต่อกองคลังในกรมและกระทรวงเจ้าสังกัดดังนั้นการที่โจทก์ยื่นหนังสือการบอกเลิกรับบำนาญต่อผู้อำนวยการกองอัตรากำลังและส่งเสริมสมรรถภาพภายในกรมและกระทรวงเจ้าสังกัดของโจทก์ต้องถือว่าเป็นการยื่นผ่านกระทรวงเจ้าสังกัดแล้วโจทก์จึงได้ปฏิบัติตามมาตรา30วรรคห้าแล้วจำเลยทั้งสองจึงต้องนับเวลาราชการช่วงแรกของโจทก์รวมกับเวลาช่วงที่โจทก์กลับเข้ามารับราชการใหม่เพื่อคำนวณบำนาญให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3553/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 379, 650
ข้อตกลงในสัญญากู้เงินที่ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนดแม้ผู้กู้จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ไม่ใช่ข้อตกลงที่เป็นเบี้ยปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7101/2539
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 59, 83 พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ม. 15, 66
ในการเจรจาติดต่อล่อซื้อเฮโรอีนของกลางตามที่เจ้าพนักงานตำรวจสืบทราบว่าจำเลยที่2มีพฤติการณ์ลักลอบจำหน่ายเฮโรอีนนั้นจ่าสิบตำรวจส. กับพวกได้ให้สายลับซึ่งรู้จักจำเลยที่1พาไปพบจำเลยที่1ให้ช่วยเจรจาในการล่อซื้อเฮโรอีนจากจำเลยที่2โดยจะให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยที่1เป็นเงิน2,000บาทจำเลยที่1จึงดำเนินการตามที่จ่าสิบตำรวจส. กับพวกขอร้องจนกระทั่งมีการนัดหมายส่งมอบเฮโรอีนในวันเกิดเหตุดังนี้การที่จำเลยที่1ดำเนินการให้น่าเชื่อว่าเกิดจากจำเลยที่1หวังผลตอบแทนจึงฟังได้ว่าจำเลยที่1เป็นเพียงคนกลางในการช่วยติดต่อเจรจาเพื่อล่อซื้อเฮโรอีนจากจำเลยที่2เพื่อให้การจับจำเลยที่2บรรลุผลเท่านั้นเมื่อจำเลยที่1รับเฮโรอีนจากจำเลยที่2ก็นำมามอบให้จ่าสิบตำรวจส.ทันทีจึงไม่พอฟังว่าจำเลยที่1มีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครองและจำหน่ายเฮโรอีนถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1มีเจตนากระทำความผิดจำเลยที่1จึงไม่มีความผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีนตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7086/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 177 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่1ชำระหนี้และบังคับจำนองโดยอ้างว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาวงเงินสินเชื่อและสัญญาจำนองเพราะไม่ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยที่1ออกให้แก่โจทก์ตามที่กำหนดไว้ในข้อสัญญาดังกล่าวจำเลยที่1ฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าเสียหายโดยอ้างว่าโจทก์ได้ให้สัญญาว่าจะให้จำเลยที่1กู้เงินเพื่อพัฒนาที่ดินและก่อสร้างอาคารต่อเนื่องเพิ่มเติมอีกแล้วโจทก์ไม่ยอมให้จำเลยที่1กู้เงินตามข้อตกลงเป็นการผิดสัญญาทำให้จำเลยที่1เสียหายดังนี้ฟ้องแย้งของจำเลยที่1เป็นคนละเรื่องกับที่โจทก์ฟ้องจึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมเป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1629 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 148 วรรคหนึ่ง
โจทก์คดีก่อนและโจทก์คดีนี้แม้จะเป็นบุคคลคนละคนแต่ต่างก็เป็นทายาทของถ. และต่างก็ฟ้องคดีเรียกคืนที่ดินพิพาทโดยอ้างสิทธิในฐานะทายาทผู้สืบสิทธิจากถ. ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาทคนเดียวกันจึงถือได้ว่าโจทก์คดีก่อนและโจทก์ในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันและการที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องในคดีก่อนโดยอ้างเหตุว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบตามฟ้องถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีแล้วฉะนั้นการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมีคำขออย่างเดียวกับคดีก่อนจึงเป็นการฟ้องคดีที่ให้มีการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 225 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 186
การที่จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโดยโจทก์และจำเลยไม่สืบพยานศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแต่รอการลงโทษไว้โจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยไปรายงานตัวต่อจ่าศาลเดือนละครั้งภายในกำหนด1ปีนอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นเป็นการใช้ดุลพินิจฟังข้อเท็จจริงและแสดงเหตุที่ไม่เห็นด้วยกับอุทธรณ์ของโจทก์ที่ขอให้ไม่รอการลงโทษจำเลยตามประเด็นที่โจทก์อ้างมาในอุทธรณ์แล้วส่วนข้อที่โจทก์อ้างมาในอุทธรณ์ว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนจึงเป็นเหตุที่จะรอการลงโทษให้จำเลยไม่ได้นั้นเมื่อโจทก์มิได้บรรยายมาในคำฟ้องจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค2ไม่วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้จึงชอบแล้วคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค2ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา186(6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7063/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 867, 887, 1015
กรมธรรม์ประกันภัยระบุเงื่อนไขว่าจำเลยจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยและไม่คุ้มครอบความเสียหายต่อทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัยหรือบุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้เก็บรักษาควบคุมหรือครอบครองทรัพย์สินนั้นแต่รถยนต์คันเกิดเหตุที่จำเลยรับประกันภัยค้ำจุนไว้จากจำเลยร่วมเป็นของจำเลยร่วมแม้ว่าโจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยร่วมแต่จำเลยร่วมจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลย่อมเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1015ดังนั้นจะถือว่าโจทก์เป็นผู้เอาประกันภัยด้วยหาได้ไม่ทั้งรถยนต์คันที่ได้รับความเสียหายเป็นของโจทก์มิใช่เป็นทรัพย์สินของจำเลยร่วมผู้เอาประกันภัยหรือของบุคคลดังกล่าวกรณีจึงไม่อยู่ในเงื่อนไขเข้าข้อยกเว้นดังกล่าวที่จำเลยจะปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นเจ้าของรถยนต์คันที่จำเลยรับประกันภัยค้ำจุนชนได้รับความเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7062/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 226, 234
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินให้โจทก์ตามฟ้องจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดการชี้สองสถานและงดสืบพยานศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์อ้างว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ดังนั้นการที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลซึ่งถือได้ว่าไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา234กำหนดไว้กรณีหากจำต้องให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกำหนดเวลาในจำเลยปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวก่อนไม่การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5672/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 150 พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 ม. 15 (4), 15 (6), 15 (7)
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารชุดโดยโจทก์ตกลงจะซื้อห้องชุดจากจำเลย1ห้องพร้อมระเบียงหน้าห้องชุดเพื่อโจทก์ใช้พักผ่อนและจำเลยได้แสดงเจตนาชัดแจ้งในขณะทำสัญญาว่าจำเลยไม่มีความประสงค์จะใช้ระเบียงดังกล่าวเป็นทรัพย์ส่วนกลางโจทก์เป็นผู้ที่จะใช้ประโยชน์ในระเบียงดังกล่าวเท่านั้นดังนี้ระเบียงพิพาทที่จำเลยทำสัญญาโอนให้แก่โจทก์จึงไม่ใช่ทรัพย์ในอาคารชุดที่มีไว้เพื่อให้ผู้ที่เป็นเจ้าของห้องชุดทั้งหมดหรือทุกคนในตัวอาคารใช้ประโยชน์ได้ร่วมกันไม่เป็นทรัพย์ส่วนกลางตามพระราชบัญญัติอาคารชุดพ.ศ.2522มาตรา15(4)(6)และ(7)ข้อตกลงจะซื้อจะขายระเบียงพิพาทจึงหาต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่