คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2539
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 306, 453, 456, 472 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 142
จำเลยตกลงขายสิทธิการเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อจากการเคหะแห่งชาติแก่โจทก์โดยจำเลยตกลงให้โจทก์ผ่อนส่งเงินในกำหนดระยะเวลาหนึ่งซึ่งโจทก์ได้ผ่อนชำระให้จำเลยแล้วจำนวน62,000บาทข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือแม้ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นการตกลงเพื่อให้โจทก์เข้าไปสวมสิทธิของจำเลยที่มีอยู่ต่อการเคหะแห่งชาติในการที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารต่อไปก็ตามแต่โจทก์ก็มิได้ฟ้องบังคับให้การเคหะแห่งชาติโอนที่ดินพร้อมอาคารให้แก่โจทก์อันจะต้องอยู่ในบังคับเรื่องการโอนสิทธิโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยเกี่ยวกับสิทธิเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารของการเคหะแห่งชาติซึ่งสิทธิเช่าซื้อดังกล่าวเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งที่สามารถซื้อขายกันได้ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการซื้อขายสิทธิแม้ไม่ทำเป็นหนังสือแต่ก็ได้มีการชำระหนี้เนื่องในการซื้อขายนี้กันบ้างแล้วอันมีผลผูกพันระหว่างจำเลยผู้ขายกับโจทก์ผู้ซื้อโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามข้อตกลงดังกล่าว (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่3/2539)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5457/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 142 วรรคหนึ่ง, 177, 183 วรรคสอง, 224 วรรคหนึ่ง, 243, 249 วรรคหนึ่ง, 288
ที่โจทก์ฎีกาว่าคำร้องขัดทรัพย์เคลือบคลุมเพราะไม่ได้บรรยายว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นของผู้ใดแต่ปรากฏว่าตามคำร้องได้ระบุไว้แล้วว่าเป็นของผู้ร้องกับส.ที่ผู้ตายทำพินัยกรรมยกให้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าข้ออ้างตามฎีกาของโจทก์ไม่เป็นความจริงจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าคำร้องขัดทรัพย์เคลือบคลุมหรือไม่แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยมาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้ ในประเด็นว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยฟังว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งซึ่งผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ร้องกับส. เมื่อผู้ตายถึงแก่กรรมที่ดินและบ้านพิพาทจึงตกเป็นสิทธิของผู้ร้องกับส.โจทก์ไม่มีสิทธินำยึดมาชำระหนี้โจทก์อุทธรณ์ว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบให้เห็นว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอื่นอีกและพินัยกรรมไม่ได้ระบุว่าให้ที่ดินแปลงใดหรือให้ที่ดินมีเอกสารสิทธิหรือไม่ทั้งสิ่งปลูกสร้างหรือบ้านที่กำหนดให้ก็มิได้ระบุว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างอะไรบ้านเลขที่เท่าใดตั้งอยู่ที่ไหนข้อความที่ตกเติมในพินัยกรรมก็ไม่มีลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมกำกับไว้จึงเป็นพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์เมื่อผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดกอื่นนอกจากที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งผู้ร้องยังไม่ได้มีการจัดการมรดกโจทก์จึงนำยึดมาชำระหนี้ได้ล้วนเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อที่ดินและบ้านพิพาทมีราคารวมกันไม่เกินห้าหมื่นบาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่ง การโต้เถียงว่าศาลวินิจฉัยคดีนอกประเด็นหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบแต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก่อนการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกคือที่ดินอีก20ไร่ก็เป็นการยกเหตุผลขึ้นมาสนับสนุนให้เห็นว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์ตามพินัยกรรมอันอยู่ในประเด็นพิพาทว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่หาใช่เป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5456/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 70 วรรคสอง, 174 (2), 246
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำแถลงของผู้ร้องว่าส่งให้โจทก์หากไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมายได้นั้นจะถือว่าศาลชั้นต้นกำหนดให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ด้วยหาได้ไม่กรณีเช่นนี้เพียงแต่ผู้ร้องนำเงินค่าธรรมเนียมในการส่งไปชำระแก่เจ้าหน้าที่ก็ถือว่าผู้ร้องได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์แล้วกรณีไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5453/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 587, 798 วรรคสอง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 85, 94 (ข), 142 (6)
กิจการที่ล. ตัวแทนเชิดของจำเลยจ้างโจทก์ผลิตฟองน้ำวิทยาศาสตร์ให้จำเลยโดยใช้สัมภาระที่โจทก์จัดหาให้นั้นเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ3ลักษณะ7มิได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใดการที่ล. เป็นตัวแทนจำเลยหรือไม่จึงไม่จำต้องมีหลักฐานที่ทำเป็นหนังสือมาแสดง โจทก์ส่งผลิตภัณฑ์ตามสัญญาจ้างให้แก่จำเลยรับไว้ครบถ้วนแล้วหรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานๆใดมาสืบได้ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐานตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา85บัญญัติไว้เมื่อณและกพยานบุคคลของโจทก์เป็นผู้รู้เห็นในเรื่องที่โจทก์ได้ส่งผลิตภัณฑ์ตามสัญญาจ้างให้แก่จำเลยตามที่ให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรงย่อมไม่ต้องห้ามรับฟังทั้งปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีใบส่งของที่ผู้รับของลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารมาแสดงดังนั้นการสืบพยานบุคคลว่าจำเลยได้รับของตามใบส่งของดังกล่าวไว้ครบถ้วนแล้วโดยที่ใบส่งของดังกล่าวไม่มีลายมือชื่อผู้รับของลงไว้ก็ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา94(ข) จำเลยต่อสู้คดีโดยไม่สุจริตการที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง142(6)พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ15ต่อปีนับแต่วันฟ้องจึงเป็นการสมควรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5451/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 145, 271 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 22, 114, 115, 135, 137
เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์เด็ดขาดของจำเลยแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการจำนองและการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านซึ่งเป็นอำนาจและหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องกระทำในคดีล้มละลายเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้นำมาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ทั้งหลายการกระทำของผู้ร้องจึงมิใช่กระทำการแทนจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้และการขอเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทก็ปรากฏว่าเป็นกรณีพิพาทกันระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านเท่านั้นซึ่งเป็นอำนาจและหน้าที่โดยเฉพาะของผู้ร้องจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483เพื่อที่จะติดตามเอาทรัพย์สินที่เคยเป็นของจำเลยกลับคืนเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยเพื่อจัดการแบ่งในระหว่างเจ้าหนี้นั้นเมื่อศาลได้ยกเลิกการล้มละลายผู้ร้องก็หมดอำนาจที่จะเก็บรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้อีกต่อไปแม้ว่าจำเลยหลุดพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายแล้วก็ตามจำเลยก็ไม่มีสิทธิขอให้บังคับในคดีที่ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการโอนและการจำนองให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ คำพิพากษาที่ให้เพิกถอนการโอนและการจำนองมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความคือระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านเมื่อการยกเลิกการล้มละลายมีผลทำให้ผู้ร้องหมดอำนาจที่จะรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยแล้วก็มีผลทำให้ผู้ร้องไม่สามารถบังคับคดีต่อไปได้หาใช่เป็นเรื่องการยกเลิกการล้มละลายจะเป็นการลบล้างคำพิพากษาหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 225 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ม. 29
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า เจ้าพนักงานกองตรวจสอบภาษีอากรของจำเลย ทบทวนประเด็นการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของโจทก์โดยมิได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาษีอากรเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบและขั้นตอนของทางราชการ จำเลยจึงไม่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์นั้นอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวมิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5401/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55, 88
ตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์ที่ว่าจำเลยเป็นผู้จัดสรรที่ดินโดยแบ่งเป็นแปลงย่อยๆขายให้ผู้อื่นซื้อและได้กันทางพิพาทไว้ให้ผู้ซื้อที่ดินแปลงย่อยและบุคคลทั่วไปใช้สอยอันเป็นการอุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินต่อจากบุคคลที่ซื้อที่ดินจากจำเลยต่อมาจำเลยปิดกั้นทางพิพาทเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจใช้ทางพิพาทเข้าออกที่ดินของโจทก์ได้และขอให้บังคับจำเลยเปิดทางพิพาทให้นั้นถือว่าโจทก์ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55แม้โจทก์ยังไม่ได้ปลูกบ้านในที่ดินโจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง โจทก์มีพยานที่ทราบข้อเท็จจริงเป็นอย่างดีต่างเบิกความตรงกันว่าจำเลยได้แบ่งหรือกันทางพิพาทไว้เป็นทางสาธารณะสำหรับคนที่ซื้อที่ดินแปลงย่อยและประชาชนทั่วไปไว้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะจึงฟังได้ดังที่โจทก์นำสืบส่วนฝ่ายจำเลยต้องห้ามมิให้นำพยานเข้าสืบเพราะไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานกรณีจึงฟังได้ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะจำเลยปิดกั้นทางดังกล่าวจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5398/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 223 พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2482 ม. 58
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลพ.ศ.2482ตามนัยมาตรา58วรรคแรกเมื่อศาลได้รับคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลแล้วให้ดำเนินการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยเร็วโดยให้เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้งที่มีส่วนได้เสียมีโอกาสต่อสู้การคัดค้านนั้นเมื่อศาลสั่งอย่างใดให้แจ้งคำสั่งไปยังเทศบาลโดยมิชักช้าคำสั่งศาลนั้นให้เป็นที่สุดดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องคำสั่งของศาลชั้นต้นจึงถือที่สุดและผู้ร้องไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา223ที่กำหนดในเรื่องการอุทธรณ์ไว้ว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นจะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 387, 388
วัตถุประสงค์แห่งสัญญาจะซื้อขายว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้ไม่มีพฤติการณ์ให้เห็นว่าระยะเวลาในการจัดหาทางภารจำยอมให้ได้ภายในวันที่11พฤศจิกายน2534ของจำเลยเป็นสาระสำคัญแก่ผลสำเร็จและประโยชน์ที่โจทก์จะพึงได้รับตามสัญญาซึ่งหากล่าช้าไปแล้วย่อมเป็นอันไร้ประโยชน์แก่โจทก์กรณีจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387กล่าวคือเมื่อจำเลยผิดสัญญายังไม่สามารถจัดหาทางภารจำยอมให้แก่ที่ดินพิพาทได้ตามสัญญาเป็นการไม่ชำระหนี้ในส่วนที่เป็นหน้าที่ของตนซึ่งเป็นเวลาก่อนกำหนดระยะเวลาโอนที่ดินพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ด้วยโจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยจัดหาทางภารจำยอมให้ได้โดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรก่อนถ้าจำเลยไม่ดำเนินการให้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้วโจทก์จึงจะเลิกสัญญาได้เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ปฏิบัติตามบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวโจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อขายการบอกเลิกสัญญาของทนายความโจทก์ต่อจำเลยตามเอกสารหมายจ.20ถึงจ.25จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมีผลผูกพันอยู่ดังนั้นโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินมัดจำ5,000,000บาทและเงินค่าที่ดินที่จำเลยเบิกล่วงหน้าไปจากโจทก์ก่อน2,000,000บาทเพราะเป็นเงินที่โจทก์ให้จำเลยไว้ตามข้อกำหนดในสัญญาจะซื้อขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5445/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 513 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 296, 308
การขายทอดตลาดทรัพย์มีความมุ่งหมายที่จะนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในขณะเดียวกันเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องให้ความคุ้มครองลูกหนี้ไม่ให้เกิดความเสียหายด้วยโดยต้องไม่ขายทรัพย์สินเกินความจำเป็นและเมื่อได้เงินมาพอจำนวนที่จะชำระหนี้แล้วก็ห้ามไม่ให้เอาทรัพย์สินอื่นที่ยึดหรืออายัดไว้ออกขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นอีกถ้าเห็นว่าราคาซึ่งมีผู้สู้สูงสุดในการขายทอดตลาดนั้นยังไม่เพียงพอเช่นราคาต่ำไปเจ้าพนักงานบังคับคดีอาจถอนทรัพย์สินจากการทอดตลาดได้หากฝ่าฝืนก็อาจถือได้ว่าเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสองเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้องเสียหายโดยการฝ่าฝืนนั้นอาจร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดไปต่ำกว่าราคาประเมินของทางราชการถึงไร่ละ40,000บาทที่ดินทั้งสองแปลงมีเนื้อที่รวม104ไร่จึงได้ราคาต่ำกว่าราคาประเมินถึง4,160,000บาทอีกทั้งโจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็รู้ดีว่าหากโจทก์ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยที่1ในวันขายทอดตลาดครั้งที่6จำนวน40,000บาทแล้วจำเลยที่1ก็จะเป็นหนี้โจทก์เพียงประมาณ40,000บาทเท่านั้นการขายทอดตลาดที่ดินแปลงหลังเพียงแปลงเดียวก็น่าจะเพียงพอแก่การชำระหนี้โจทก์ได้อยู่แล้วแม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้กระทำการโดยสุจริตแต่ไม่รักษาผลประโยชน์ให้แก่ลูกหนี้เท่าที่ควรจึงมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาดอันเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา513ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา308เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสอง