คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2539
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5401/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55, 88
ตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์ที่ว่าจำเลยเป็นผู้จัดสรรที่ดินโดยแบ่งเป็นแปลงย่อยๆขายให้ผู้อื่นซื้อและได้กันทางพิพาทไว้ให้ผู้ซื้อที่ดินแปลงย่อยและบุคคลทั่วไปใช้สอยอันเป็นการอุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินต่อจากบุคคลที่ซื้อที่ดินจากจำเลยต่อมาจำเลยปิดกั้นทางพิพาทเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจใช้ทางพิพาทเข้าออกที่ดินของโจทก์ได้และขอให้บังคับจำเลยเปิดทางพิพาทให้นั้นถือว่าโจทก์ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55แม้โจทก์ยังไม่ได้ปลูกบ้านในที่ดินโจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง โจทก์มีพยานที่ทราบข้อเท็จจริงเป็นอย่างดีต่างเบิกความตรงกันว่าจำเลยได้แบ่งหรือกันทางพิพาทไว้เป็นทางสาธารณะสำหรับคนที่ซื้อที่ดินแปลงย่อยและประชาชนทั่วไปไว้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะจึงฟังได้ดังที่โจทก์นำสืบส่วนฝ่ายจำเลยต้องห้ามมิให้นำพยานเข้าสืบเพราะไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานกรณีจึงฟังได้ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะจำเลยปิดกั้นทางดังกล่าวจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5398/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 223 พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2482 ม. 58
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลพ.ศ.2482ตามนัยมาตรา58วรรคแรกเมื่อศาลได้รับคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลแล้วให้ดำเนินการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยเร็วโดยให้เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้งที่มีส่วนได้เสียมีโอกาสต่อสู้การคัดค้านนั้นเมื่อศาลสั่งอย่างใดให้แจ้งคำสั่งไปยังเทศบาลโดยมิชักช้าคำสั่งศาลนั้นให้เป็นที่สุดดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องคำสั่งของศาลชั้นต้นจึงถือที่สุดและผู้ร้องไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา223ที่กำหนดในเรื่องการอุทธรณ์ไว้ว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นจะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 387, 388
วัตถุประสงค์แห่งสัญญาจะซื้อขายว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้ไม่มีพฤติการณ์ให้เห็นว่าระยะเวลาในการจัดหาทางภารจำยอมให้ได้ภายในวันที่11พฤศจิกายน2534ของจำเลยเป็นสาระสำคัญแก่ผลสำเร็จและประโยชน์ที่โจทก์จะพึงได้รับตามสัญญาซึ่งหากล่าช้าไปแล้วย่อมเป็นอันไร้ประโยชน์แก่โจทก์กรณีจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387กล่าวคือเมื่อจำเลยผิดสัญญายังไม่สามารถจัดหาทางภารจำยอมให้แก่ที่ดินพิพาทได้ตามสัญญาเป็นการไม่ชำระหนี้ในส่วนที่เป็นหน้าที่ของตนซึ่งเป็นเวลาก่อนกำหนดระยะเวลาโอนที่ดินพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ด้วยโจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยจัดหาทางภารจำยอมให้ได้โดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรก่อนถ้าจำเลยไม่ดำเนินการให้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้วโจทก์จึงจะเลิกสัญญาได้เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ปฏิบัติตามบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวโจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อขายการบอกเลิกสัญญาของทนายความโจทก์ต่อจำเลยตามเอกสารหมายจ.20ถึงจ.25จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมีผลผูกพันอยู่ดังนั้นโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินมัดจำ5,000,000บาทและเงินค่าที่ดินที่จำเลยเบิกล่วงหน้าไปจากโจทก์ก่อน2,000,000บาทเพราะเป็นเงินที่โจทก์ให้จำเลยไว้ตามข้อกำหนดในสัญญาจะซื้อขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5445/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 513 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 296, 308
การขายทอดตลาดทรัพย์มีความมุ่งหมายที่จะนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในขณะเดียวกันเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องให้ความคุ้มครองลูกหนี้ไม่ให้เกิดความเสียหายด้วยโดยต้องไม่ขายทรัพย์สินเกินความจำเป็นและเมื่อได้เงินมาพอจำนวนที่จะชำระหนี้แล้วก็ห้ามไม่ให้เอาทรัพย์สินอื่นที่ยึดหรืออายัดไว้ออกขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นอีกถ้าเห็นว่าราคาซึ่งมีผู้สู้สูงสุดในการขายทอดตลาดนั้นยังไม่เพียงพอเช่นราคาต่ำไปเจ้าพนักงานบังคับคดีอาจถอนทรัพย์สินจากการทอดตลาดได้หากฝ่าฝืนก็อาจถือได้ว่าเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสองเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้องเสียหายโดยการฝ่าฝืนนั้นอาจร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดไปต่ำกว่าราคาประเมินของทางราชการถึงไร่ละ40,000บาทที่ดินทั้งสองแปลงมีเนื้อที่รวม104ไร่จึงได้ราคาต่ำกว่าราคาประเมินถึง4,160,000บาทอีกทั้งโจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็รู้ดีว่าหากโจทก์ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยที่1ในวันขายทอดตลาดครั้งที่6จำนวน40,000บาทแล้วจำเลยที่1ก็จะเป็นหนี้โจทก์เพียงประมาณ40,000บาทเท่านั้นการขายทอดตลาดที่ดินแปลงหลังเพียงแปลงเดียวก็น่าจะเพียงพอแก่การชำระหนี้โจทก์ได้อยู่แล้วแม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้กระทำการโดยสุจริตแต่ไม่รักษาผลประโยชน์ให้แก่ลูกหนี้เท่าที่ควรจึงมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาดอันเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา513ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา308เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5435/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 425, 852 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 142
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดด้วย อันเป็นการฟ้องจำเลยที่ 2 นายจ้างให้ร่วมรับผิดในมูลละเมิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างตามป.พ.พ. มาตรา 425 คดีจึงไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามสัญญาประนี-ประนอมยอมความหรือไม่ แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ก.อันทำให้สิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาศาลก็จะพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5430/2539
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 90, 91 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2499 ม. 7, 72, 55 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ม. 78
การมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา7,72วรรคแรกส่วนการมีกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองไม่ได้ไว้ในครอบครองเป็นความผิดตามมาตรา55,788วรรคแรกการที่กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตราย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่ามีความประสงค์จะแยกความผิด2ฐานนี้ออกจากกันแม้จำเลยจะมีอาวุธปืนและกระสุนปืนดังกล่าวไว้ในครอบครองในเวลาเดียวกันก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5390/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 287
ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวน4,473,237.18บาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์จำเลยทั้งสามไม่ชำระโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยที่2ออกขายทอดตลาดป. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่2ซึ่งศาลพิพากษาให้จำเลยที่2โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงที่โจทก์นำยึดให้แก่ป. และรับเงินจำนวน5,789,303.39บาทตามสัญญาจะซื้อขายได้นำเงินจำนวนดังกล่าวมาวางต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนจำเลยที่2และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดที่ดินแปลงดังกล่าวเมื่อที่ดินที่โจทก์นำยึดเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่2กับผู้ร้องผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอกันส่วนในเงินที่ป. นำมาวางแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้กึ่งหนึ่งในฐานะเจ้าของรวมสิทธิขอกันส่วนของผู้ร้องมิใช่มีแต่กรณีบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่2เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421/2539
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 16 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 5
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปนกในลักษณะประดิษฐ์คล้ายรูปนกอินทรีซึ่งเป็นนกประเภทเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยรูปนกดังกล่าวเป็นรูปนกในลักษณะกางปีกหงายลำตัวด้านท้องออกหันหัวไปทางด้านซ้ายมือมีหงอนที่หัวและขาทั้งสองข้างถือเกรียงโบกปูนอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมและมีอักษรไทยกำกับภายใต้รูปนกว่า"ตรานกถือเกรียง"ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะสำคัญเป็นรูปนกอินทรีกางปีกหันข้างและขาทั้งสองข้างมิได้ถือเกรียงโบกปูนและอยู่ภายในกรอบวงกลมโดยมีอักษรไทยคำว่าบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัดและอักษรโรมันคำว่าSIAMCITYCEMENTCO.,LTD. วางอยู่ระหว่างวงกลมชั้นนอกและชั้นในและในอีกลักษณะหนึ่งวางอยู่ในกรอบวงกลมชั้นเดียวเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่าสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยคือรูปนกอินทรีมีลักษณะเด่นคือรูปนกอินทรีที่กางปีกอยู่ในกรอบคล้ายคลึงกันประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกขานว่าตรานกอินทรีแม้จะมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างตรงที่รูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปนกอินทรีหันหน้าไปทางด้านซ้ายหงายลำตัวด้านท้องออกและขาทั้งสองข้างถือเกรียงโบกปูนและมีอักษรไทยคำว่าตรานกถือเกรียงอยู่ใต้รูปนกก็ตามก็เป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้นทั้งรูปเกรียงและอักษรไทยดังกล่าวก็มีขนาดเล็กไม่ใช่ลักษณะเด่นไม่เป็นสาระสำคัญแก่การสังเกตประกอบกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นเด่นชัดว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสินค้าของจำเลยจำเลยขอจดทะเบียนใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าน้ำยาเคมีผสมซีเมนต์แม้จะเป็นสินค้าในจำพวกที่1ต่างจำพวกกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวกที่17แต่ก็เป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์โจทก์ได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีมานานและได้โฆษณาทางหนังสือพิมพ์วิทยุและโทรทัศน์เป็นที่แพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไปจำเลยเพิ่งจะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทภายหลังโจทก์20ปีจำเลยเคยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีหันข้างและกางปีกเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้จำเลยเคยถูกฟ้องในข้อหาเสียลนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีและถูกศาลลงโทษไปแล้วเมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปของมงกุฎรูปเพชรและรูปสิงโตใช้กับปูนซีเมนต์ก็ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยในรูปเพชรมีปีกมงกุฏมีปีกและสิงโตคู่เหยียบลูกโลกใช้กับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ซึ่งเป็นคดีฟ้องร้องกันอยู่แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับโจทก์เป็นคู่ๆโดยมุ่งหมายที่จะอาศัยแอบอ้างชื่อเสียงเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตจำเลยจึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5410/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 46
คดีส่วนแพ่งมีประเด็นว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่และจำเลยบุกรุกที่ดินพิพาททำให้โจทก์เสียหายหรือไม่แต่ในคดีส่วนอาญาศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ที่ดินพิพาทจะเป็นของจำเลยหรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยยังถือไม่ได้ว่ามีเจตนาบุกรุก ยังไม่ได้วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของใคร ฉะนั้นข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาจึงไม่มีผลผูกพันคดีส่วนแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5405/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 248
จำเลยทั้งสองต่างเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของโจทก์คนละส่วนเป็นส่วนสัดแยกต่างหากจากกัน ซึ่งโจทก์จะฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองเป็นคนละคดีได้ แม้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสอง เข้ามาในคดีเดียวกัน แต่การพิจารณาว่าคดีมีทุนทรัพย์เท่าใด ย่อมจะต้องถือตามราคาที่ดินที่จำเลยแต่ละคนต่างเข้าไป ยึดถือครอบครองมิใช่นับรวมกัน