คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2539
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 132 เดิม, 361, 368
ตามประกาศของจำเลยมีข้อความให้ประชาชนผู้มีชื่อระบุเป็นผู้รับเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทง. ที่มีความประสงค์จะขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินไปติดต่อขอความยินยอมให้เปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อจำเลยตามวันเวลาและสถานที่ที่ระบุในประกาศเป็นหนังสือเชิญชวนให้ผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทง.ทำคำเสนอขอแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินจากจำเลยโดยจำเลยสงวนสิทธิที่จะไม่รับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใดๆก็ได้เมื่อโจทก์มีหนังสือแสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินถึงจำเลยจึงเป็นคำเสนอของโจทก์ที่มีต่อจำเลยแล้วการที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จำเลยรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ได้และขอให้โจทก์นำเอกสารต่างๆพร้อมด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินตามที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือแสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินไปติดต่อจำเลยเพื่อดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นของจำเลยนั้นถือว่าเป็นคำสนองของจำเลยที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์โดยไม่มีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องส่งตั๋วสัญญาใช้เงินไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาอีกครั่งหนึ่งก่อนดังนั้นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เกิดขึ้นและมีผลผูกพันกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วแม้ต่อมาจำเลยจะอ้างว่าธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติให้จำเลยรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์แต่ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่ได้เกิดมีขึ้นแล้วแต่อย่างใดจำเลยจึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิในภายหลังตามอำเภอใจได้ สำหรับประกาศของจำเลยที่มีข้อความในข้อ2ว่าบริษัทง.สงวนสิทธิที่จะไม่รับเปลี่ยนตัวสัญญาใช้เงินฉบับใดๆก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผล"ข้อความตามประกาศดังกล่าวเป็นเพียงให้สิทธิจำเลยในการพิจารณารับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นกรณีๆไปและในการพิจารณาจำเลยอาจยกข้อต่อสู้เช่นได้มีการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นแล้วหรือตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นไม่มีมูลหนี้ตามกฎหมายขึ้นต่อสู้โจทก์หรือประชาชนผู้แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวได้แต่จำเลยจะต้องยกขึ้นต่อสู้ก่อนที่จะมีการแสดงเจตนาสนองรับไปยังโจทก์มิใช่ว่าจำเลยจะสามารถมีสิทธิปฏิเสธหรือยกเลิกการรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินในภายหลังได้เสนอแม้จำเลยจะอ้างว่าต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติให้จำเลยรับเปลี่ยนตัวสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์แต่ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่ได้เกิดมีขึ้นแล้วได้ประกาศของจำเลยข้อ2นี้จึงหาอาจทำให้จำเลยสามารถเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์ในภายหลังได้แต่อย่างใด ตามประกาศของจำเลยข้อ3มีใจความว่าตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยรับเปลี่ยนให้มีหลักการดังนี้เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้และไม่มีดอกเบี้ยกับจะจ่ายเงินเท่ากับจำนวนเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินที่รับเปลี่ยนโดยทยอยจ่ายเงินคืนทุกปีภายในระยะเวลาไม่เกิน10ปีจะชำระคืนแต่ละงวดเท่ากับร้อยละ10ของจำนวนเงินตามหน้าตั๋วสัญญาใช้เงินจนกว่าจะครบจำนวนดังนี้การที่โจทก์แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อจำเลยตามประกาศดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ย่อมต้องผูกพันตามข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆตามประกาศดังกล่าวดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยเปลี่ยนตัวสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้โดยมีจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับละ500,000บาทปีละ4ฉบับมีกำหนดเวลา10ปีโดยไม่มีดอกเบี้ยสำหรับวันที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน4ฉบับแรกจะเริ่มต้นนับตั้งแต่เมื่อใดนั้นเมื่อปรากฏว่าจำเลยมีหนังสือลงวันที่10มิถุนายน2530แจ้งไปยังโจทก์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จำเลยรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์ได้และให้โจทก์นำเอกสารต่างๆไปติดต่อจำเลยเพื่อดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นของจำเลยโจทก์เพิ่งจะส่งเอกสารต่างๆไปให้จำเลยตามหนังสือลงวันที่24กุมภาพันธ์2532จำเลยได้รับเอกสารดังกล่าวเมื่อวันที่28กุมภาพันธ์2532จำเลยจึงต้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้4ฉบับแรกฉบับละ500,000บาทโดยไม่มีดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่1มีนาคม2532เป็นต้นไปและทุกวันที่1มีนาคมของปีถัดไปจนกว่าจะครบกำหนด10ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5501/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 110 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55
มูลนิธิโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าซึ่งเป็นของโจทก์ โดยโจทก์ต้องการนำที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งห้องเช่านั้นไปสร้างศูนย์การค้า ถือได้ว่าเป็นการจัดการทรัพย์สินของโจทก์ ทั้งไม่เป็นการกระทำเพื่อหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลอื่นใด หรือหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 110 โจทก์ชอบที่จะกระทำได้เพื่อที่จะหาผลประโยชน์ไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของโจทก์นั่นเอง จึงไม่ได้เป็นการกระทำที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5487/2539
พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ม. 10 พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ม. 44
สารวัตรกำนันมีหน้าที่เป็นเพียงผู้ช่วยและรับใช้สอบกำนันตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ.2457มาตรา44เท่านั้นมิได้เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายจึงไม่อาจเพิ่มโทษเป็นจำนวนสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามมาตรา10แห่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ.2534ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5485/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 174, 176, 192 วรรคท้าย
ในคดีอาญาโจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา174เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่และต้องนำสืบข้อเท็จจริงให้ฟังได้โดยปราศจากความสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดจริงการที่จำเลยตอบคำถามค้านว่าอาวุธปืนที่จำเลยใช้ยิงเป็นอาวุธปืนไม่มีทะเบียนจะถือเท่ากับว่าเป็นคำรับสารภาพตามมาตรา176หาได้ไม่เมื่อโจทก์ไม่สืบก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ ความผิดฐานพยายามฆ่ารวมการกระทำฐานทำร้ายร่างกายอยู่ด้วยศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตามที่พิจารณาได้ความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5483/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 177, 183
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาทหรือไม่ย่อมแปลได้ว่าถ้าหากการครอบครองที่พิพาทของจำเลยยังไม่เข้าเกณฑ์ที่จะได้กรรมสิทธิ์โจทก์ก็ยังเป็นเจ้าของที่พิพาทอยู่แต่ถ้าหากการครอบครองที่พิพาทของจำเลยเข้าเกณฑ์ได้กรรมสิทธิ์โจทก์ก็ไม่ได้เป็นเจ้าของที่พิพาทอีกต่อไปประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดดังกล่าวจึงคลอบคลุมไปถึงปัญหาที่ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่การกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 5462/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 31 (1), 33
แม้การที่ผู้ถูกกล่าวหาอ้างว่าจะเอาเงินไปให้ผู้พิพากษาจะกระทำนอกบริเวณศาลแต่การอ้างเช่นว่านั้นก็เพื่อเป็นอามิสสินจ้างในการดำเนินคดีในศาลผลที่เกิดขึ้นจึงมุ่งหมายให้มีผลในการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลย่อมถือได้ว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลโดยเฉพาะคดีนี้ยังมีการทวงถามเงินดังกล่าวในบริเวณศาลอันเป็นการกระทำต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของการเรียกเงินจากผู้กล่าวหาด้วยจึงเป็นการละเมิดอำนาจศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5449/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 314 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 116, 124, 135 (3)
แม้คำร้องที่ผู้ร้องขอให้ยกเลิกการล้มละลายของจำเลยอ้างว่าจำเลยมีทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่1ได้อายัดไว้มากกว่าหนี้ของเจ้าหนี้ที่เหลือหลายเท่าตัวผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องถูกเพิกถอนการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งทำให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโอนกลับคืนเข้าไปเป็นกองทรัพย์สินของจำเลยผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ยกเลิกการล้มละลายของจำเลยได้ก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นผู้ร้องได้ขอวางเงินในจำนวนที่เพียงพอแก่การชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รวมทั้งค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตแล้วการที่ผู้ร้องซึ่งต้องเสียสิทธิในที่ดินที่ได้รับซื้อฝากเพราะศาลฎีกาได้พิพากษาให้เพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา116ให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมก็เพื่อให้ที่ดินเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยเพื่อจัดการแบ่งในระหว่าง>เจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา124หากเจ้าหนี้ทั้งหลายได้รับชำระหนี้โดยครบถ้วนแล้วผู้คัดค้านที่1ก็ไม่มีความจำเป็นต้องรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยต่อไปตลอดจนไม่ต้องเก็บรวบรวมที่ดินของผู้ร้องที่ถูกเพิกถอนนั้นถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียด้วยในการชำระหนี้จึงชอบที่จะเข้าชำระหนี้นั้นได้แม้จะเป็นการเข้าชำระหนี้โดยขืนใจจำเลยก็ตามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา314วรรคสองเมื่อผู้ร้องเป็นผู้เข้าชำระหนี้ของจำเลยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายรวมทั้งค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในอันที่จะขอให้ศาลยกเลิกการล้มละลายของจำเลยเพราะเหตุที่หนี้สินของบุคคลล้มละลายได้ชำระเต็มจำนวนแล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา135(3)ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 104
การที่จำเลยที่2ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่1ก่อขึ้นต้องได้ความว่าจำเลยที่1เป็นลูกจ้างและกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่2เมื่อพยานโจทก์เบิกความเพียงว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่2มาชนรถยนต์ของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายส่วนข้อที่ว่าจำเลยที่1จะเป็นลูกจ้างและกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่2หรือไม่พยานมิได้เบิกความถึงประกอบกับจำเลยที่2ก็นำสืบปฎิเสธว่าจำเลยที่1ไม่ได้เป็นลูกจ้างของตนด้วยโจทก์จึงนำสืบได้ไม่สมฟ้องการที่ศาลสันนิษฐานหรือถือว่าจำเลยที่1เป็นลูกจ้างและกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่2จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5475/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 230, 314 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 32, 45
การที่ผู้ร้องซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง14แปลงแทนลูกหนี้ของผู้ล้มละลายเสนอเงื่อนไขการชำระหนี้จำนองต่อที่ประชุมเจ้าหนี้เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกซึ่งมีส่วนได้เสียที่จะเสี่ยงภัยเสียสิทธิในที่ดินของผู้ร้องผู้ร้องย่อมมีสิทธิที่จะเข้าใช้หนี้เสียแทนลูกหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา230,314 เมื่อข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องแทนลูกหนี้มีผลทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องถอนการยึดที่ดินทั้ง14โฉนดอันเป็นทรัพย์ในคดีล้มละลายศาลชอบที่จะให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องตามมาตรา32แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5474/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 305 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 22, 110, 122, 146
ขณะศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของลูกหนี้ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ในคดีแพ่งแต่การบังคับคดียังไม่สำเร็จบริบูรณ์กำลังประกาศขายทอดตลาดจึงไม่อาจใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านได้ที่ดินพิพาทจึงตกอยู่ในอำนาจจัดการของผู้คัดค้านตามมาตรา 22(1) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เมื่อสิทธิตามสัญญาที่ ส.ขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามโดยโอนที่ดินพิพาทให้แก่ ส.นั้น เป็นผลแห่งสัญญาที่ลูกหนี้กระทำขึ้นภายหลังที่ผู้ร้องนำยึดที่ดินพิพาทของลูกหนี้ไว้ในคดีแพ่งแล้ว ซึ่งการก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดดังกล่าวไม่อาจใช้ยันแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 305(1) แล้วผลแห่งการนั้นก็ย่อมไม่อาจใช้ยันต่อผู้คัดค้านได้เช่นกันผู้คัดค้านจึงไม่ชอบที่โอนที่ดินพิพาทให้แก่ ส.