คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2539

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5430

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5430/2539

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 90, 91 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2499 ม. 7, 72, 55 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ม. 78

การมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา7,72วรรคแรกส่วนการมีกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองไม่ได้ไว้ในครอบครองเป็นความผิดตามมาตรา55,788วรรคแรกการที่กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตราย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่ามีความประสงค์จะแยกความผิด2ฐานนี้ออกจากกันแม้จำเลยจะมีอาวุธปืนและกระสุนปืนดังกล่าวไว้ในครอบครองในเวลาเดียวกันก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5390

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5390/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 287

ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวน4,473,237.18บาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์จำเลยทั้งสามไม่ชำระโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยที่2ออกขายทอดตลาดป. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่2ซึ่งศาลพิพากษาให้จำเลยที่2โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงที่โจทก์นำยึดให้แก่ป. และรับเงินจำนวน5,789,303.39บาทตามสัญญาจะซื้อขายได้นำเงินจำนวนดังกล่าวมาวางต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนจำเลยที่2และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดที่ดินแปลงดังกล่าวเมื่อที่ดินที่โจทก์นำยึดเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่2กับผู้ร้องผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอกันส่วนในเงินที่ป. นำมาวางแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้กึ่งหนึ่งในฐานะเจ้าของรวมสิทธิขอกันส่วนของผู้ร้องมิใช่มีแต่กรณีบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่2เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421/2539

พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 16 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 5

เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปนกในลักษณะประดิษฐ์คล้ายรูปนกอินทรีซึ่งเป็นนกประเภทเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยรูปนกดังกล่าวเป็นรูปนกในลักษณะกางปีกหงายลำตัวด้านท้องออกหันหัวไปทางด้านซ้ายมือมีหงอนที่หัวและขาทั้งสองข้างถือเกรียงโบกปูนอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมและมีอักษรไทยกำกับภายใต้รูปนกว่า"ตรานกถือเกรียง"ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะสำคัญเป็นรูปนกอินทรีกางปีกหันข้างและขาทั้งสองข้างมิได้ถือเกรียงโบกปูนและอยู่ภายในกรอบวงกลมโดยมีอักษรไทยคำว่าบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัดและอักษรโรมันคำว่าSIAMCITYCEMENTCO.,LTD. วางอยู่ระหว่างวงกลมชั้นนอกและชั้นในและในอีกลักษณะหนึ่งวางอยู่ในกรอบวงกลมชั้นเดียวเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่าสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยคือรูปนกอินทรีมีลักษณะเด่นคือรูปนกอินทรีที่กางปีกอยู่ในกรอบคล้ายคลึงกันประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกขานว่าตรานกอินทรีแม้จะมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างตรงที่รูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปนกอินทรีหันหน้าไปทางด้านซ้ายหงายลำตัวด้านท้องออกและขาทั้งสองข้างถือเกรียงโบกปูนและมีอักษรไทยคำว่าตรานกถือเกรียงอยู่ใต้รูปนกก็ตามก็เป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้นทั้งรูปเกรียงและอักษรไทยดังกล่าวก็มีขนาดเล็กไม่ใช่ลักษณะเด่นไม่เป็นสาระสำคัญแก่การสังเกตประกอบกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นเด่นชัดว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสินค้าของจำเลยจำเลยขอจดทะเบียนใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าน้ำยาเคมีผสมซีเมนต์แม้จะเป็นสินค้าในจำพวกที่1ต่างจำพวกกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวกที่17แต่ก็เป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์โจทก์ได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีมานานและได้โฆษณาทางหนังสือพิมพ์วิทยุและโทรทัศน์เป็นที่แพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไปจำเลยเพิ่งจะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทภายหลังโจทก์20ปีจำเลยเคยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีหันข้างและกางปีกเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้จำเลยเคยถูกฟ้องในข้อหาเสียลนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีและถูกศาลลงโทษไปแล้วเมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปของมงกุฎรูปเพชรและรูปสิงโตใช้กับปูนซีเมนต์ก็ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยในรูปเพชรมีปีกมงกุฏมีปีกและสิงโตคู่เหยียบลูกโลกใช้กับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ซึ่งเป็นคดีฟ้องร้องกันอยู่แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับโจทก์เป็นคู่ๆโดยมุ่งหมายที่จะอาศัยแอบอ้างชื่อเสียงเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตจำเลยจึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5410

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5410/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 46

คดีส่วนแพ่งมีประเด็นว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่และจำเลยบุกรุกที่ดินพิพาททำให้โจทก์เสียหายหรือไม่แต่ในคดีส่วนอาญาศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ที่ดินพิพาทจะเป็นของจำเลยหรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยยังถือไม่ได้ว่ามีเจตนาบุกรุก ยังไม่ได้วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของใคร ฉะนั้นข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาจึงไม่มีผลผูกพันคดีส่วนแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5405

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5405/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 248

จำเลยทั้งสองต่างเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของโจทก์คนละส่วนเป็นส่วนสัดแยกต่างหากจากกัน ซึ่งโจทก์จะฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองเป็นคนละคดีได้ แม้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสอง เข้ามาในคดีเดียวกัน แต่การพิจารณาว่าคดีมีทุนทรัพย์เท่าใด ย่อมจะต้องถือตามราคาที่ดินที่จำเลยแต่ละคนต่างเข้าไป ยึดถือครอบครองมิใช่นับรวมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5404

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5404/2539

พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ม. 8, 37

สัญญาเช่านาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่15ครบกำหนดวันที่13กรกฎาคม2534จำเลยที่15ผู้ให้เช่ามีหนังสือบอกเลิกการเช่ามาถึงโจทก์ผู้เช่าโจทก์ได้รับหนังสือวันที่4มิถุนายน2533แต่การประชุมของคชก.จังหวัดปทุมธานีเมื่อวันที่18มีนาคม2534เพิ่งได้มีการกำหนดให้วันที่1มิถุนายนของทุกปีเป็นวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นของจังหวัดปทุมธานีซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกการเช่าแล้วดังนั้นขณะที่จำเลยที่15มีหนังสือบอกเลิกการเช่าถึงเวลาโจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกการเช่าจึงยังไม่มีวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นที่จะใช้สำหรับนับระยะเวลาในการบอกเลิกการเช่าการที่จำเลยที่15ทำหนังสือบอกเลิกการเช่านาซึ่งโจทก์ได้รับในช่วงต้นฤดูการทำนาก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่าเกินกว่าหนึ่งปีจึงชอบด้วยกฎหมายโจทก์จะนำวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นที่กำหนดขึ้นภายหลังมาลบล้างผลแห่งการบอกเลิกสัญญาที่เกิดขึ้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์อยู่ก่อนแล้วให้เสียไปหาได้ไม่ ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา37มิได้กำหนดให้ผู้เช่าต้องบอกรายละเอียดตามมาตรา37(1)(4)ไว้ในหนังสือบอกเลิกการเช่าหากแต่เหตุผลดังกล่าวต้องแสดงต่อคชก.ตำบลเมื่อได้ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่ากับผู้เช่าแล้วและปรากฏว่าแม้จำเลยที่15มิได้บอกเหตุผลตามที่ระบุไว้ใน(1)-(4)ของมาตรา37ไว้ในเอกสารหมายจ.6ก็ตามแต่จำเลยที่15ก็ได้มีหนังสือถึงประธานคชก.ตำบลลำลูกกาและสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่านาให้ทราบแล้วซึ่งเมื่อคชก.ตำบลลำลูกกาทราบได้มีการประชุมของคชก.ตำบลลำลูกกาเมื่อวันที่22สิงหาคม2533โดยได้มีมติให้โจทก์อยู่ในที่เช่าได้ต่อไปจำเลยที่15จึงได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.ตำบลลำลูกกาต่อทางคชก.จังหวัดปทุมธานีเมื่อวันที่19กันยายน2533โดยได้ชี้แจงในอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.ตำบลลำลูกกาและนำสืบด้วยว่าจะใช้ที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองตามความเหมาะสมจึงฟังได้ว่าการบอกเลิกการเช่าของจำเลยที่15ชอบด้วยมาตรา37แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 291, 292, 715, 850

ข้อตกลงประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณาที่ว่าเมื่อโจทก์ทั้งสองชำระหนี้จำนองแทนจำเลยครึ่งหนึ่งก็ก่อให้โจทก์ทั้งสองเกิดสิทธิจะรับโอนที่ดินตามข้อตกลงเช่นนี้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าหนี้ที่โจทก์ทั้งสองจะต้องชำระหนี้จำนองครึ่งหนึ่งแทนจำเลยตามข้อตกลงดังกล่าวนั้นโจทก์ทั้งสองจะต้องทำการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนจะต้องชำระหนี้สิ้นเชิงอันถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา291ดังนั้นการที่โจทก์ที่1ชำระหนี้จำนองตามข้อตกลงย่อมมีผลเป็นการชำระหนี้แทนโจทก์ที่2ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา292โดยเหตุนี้แม้โจทก์ที่2จะถอนคำฟ้องแต่เมื่อโจทก์ที่1ได้ชำระหนี้ตามข้อตกลงแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วโจทก์ทั้งสองก็มีสิทธิรับโอนที่ดินจากจำเลยตามข้อตกลงได้ทันที ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ทั้งสองและจำเลยยอมรับผิดในหนี้จำนองคนละครึ่งฉะนั้นหนี้จำนองทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยจำนวนครึ่งหนึ่งซึ่งเป็นส่วนของโจทก์ทั้งสองที่โจทก์ทั้งสองยอมรับตามสัญญาณวันที่26ธันวาคม2531เป็นต้นไปจึงตกเป็นภาระแก่โจทก์ทั้งสองดอกเบี้ยที่เกิดจากยอดเงินในส่วนที่โจทก์ทั้งสองต้องรับผิดจึงตกเป็นภาระหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองจะต้องร่วมกันชำระจำเลยคงมีภาระที่จะต้องชำระดอกเบี้ยจำนองของยอดเงินในส่วนที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญานับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ทั้งสองเป็นต้นไปเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5389

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5389/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1516 (2), 1516 (3), 1516 (4)

การที่ภริยาต่อว่าญาติและเพื่อนของสามีต่อหน้าสามีว่าทำไมไม่ออกเงินค่าสุราอาหารเองบ้างและการที่ภริยากล่าวว่าตนโตมาได้เพราะพ่อแม่ชุบเลี้ยงไม่ใช่เพราะแม่ของสามียังไม่ถึงขนาดทำให้สามีได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรงหรือเป็นการเหยียดหยามบุพการีของสามีอย่างร้ายแรงไม่เป็นเหตุหย่าตามกฎหมาย การที่ภริยาออกจากบ้านที่อยู่กินกับสามีเพราะสามีนำหญิงอื่นมาพักอาศัยในบ้านแล้วขับไล่ภริยาออกจากบ้านถือไม่ได้ว่าภริยาจงใจละทิ้งร้างสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5336

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5336/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1350 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 145

ที่ดินโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินจำเลยเป็นเหตุให้ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะโดยผ่านทางพิพาทซึ่งเป็นที่ดินจำเลยจำเลยปิดกั้นที่ดินโจทก์ด้านที่ติดกับทางพิพาทโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องขอใช้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1350แม้จำเลยจะได้รับโอนที่ดินที่แบ่งแยกรวมทั้งส่วนที่เป็นทางพิพาทมาภายหลังก็ตามจะปฏิเสธสิทธิของโจทก์ในการขอใช้ทางจำเป็นหาได้ไม่และทางจำเป็นหาจำต้องเชื่อมต่อกับทางสาธารณะโดยตรงไม่แต่โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยเปิดทางจำเป็นบนที่ดินของบุคคลอื่นซึ่งมิใช่คู่ความในคดีด้วยหาได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5386

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5386/2539

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 83, 91, 341 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 158, 195, 215, 225 พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ม. 30, 82

ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้แม้จะไม่ได้ยกขึ้นในศาลล่างทั้งสอง คำฟ้องของโจทก์ในตอนแรกที่บรรยายว่าจำเลยกับพวกร่วมกันจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายซึ่งประสงค์จะไปทำงานให้แก่นายจ้างที่ประเทศญี่ปุ่น โดยจำเลยกับพวกเรียกและรับเงินค่าบริการเป็นค่าตอบแทนจากผู้เสียหายโดยจำเลยกับพวกมิได้รับใบอนุญาตจัดหางานจากนายทะเบียนตามกฎหมายส่วนคำฟ้องตอนหลังที่บรรยายว่าจำเลยกับพวกสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานยังประเทศญี่ปุ่นได้ความจริงแล้วจำเลยกับพวกไม่ได้รับอนุญาตจัดหางานและไม่สามารถจัดส่งคนไปทำงานตามที่ได้หลอกลวงเป็นเหตุให้ผู้เสียหายหลงเชื่อตกลงให้จำเลยกับพวกจัดหางานให้และเป็นเหตุให้จำเลยกับพวกได้ไปซื้อทรัพย์สินจากผู้เสียหายโดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องยืนยันว่าจำเลยกระทำผิดคราวเดียวกัน2ฐานปล่อยให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดจากผลการพิจารณาข้อเท็จจริงเอาเองทั้งจำเลยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาแสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อกล่าวหาได้ดีฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม แม้คำฟ้องตอนแรกบรรยายว่าจำเลยจัดหางานโดยเรียกรับค่าบริการโดยไม่ได้รับอนุญาตจัดหางานจากนายทะเบียนตามกฎหมายแต่คำฟ้องตอนหลังที่ว่าจำเลยกับพวกได้ร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าจำเลยกับพวกสามารถจัดส่งคนงานไปทำงานยังประเทศญี่ปุ่นได้ความจริงแล้วจำเลยกับพวกไม่สามารถจัดส่งคนไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น ตามที่ได้หลอกลวงแต่อย่างใดเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานการกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2528มาตรา30,82

« »
ติดต่อเราทาง LINE