คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2539

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5601

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5601/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 728

การบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นการแสดงเจตนาต่อบุคคลผู้ซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า เมื่อการแสดงเจตนาดังกล่าวส่งไปถึงภูมิลำเนาของจำเลยตามสำเนาทะเบียนบ้านแล้ว ย่อมถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงจำเลยซึ่งเป็นผู้รับการแสดงเจตนาแม้จะไม่มีผู้รับก็ตาม ถือว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองดังกล่าวชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5595

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5595/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55 พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ม. 54, 58 พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ม. 24

ตามบันทึกการประชุมคชก.จังหวัดพิจิตรซึ่งมีมติให้โจทก์ผู้เช่าสามารถซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่2ผู้รับโอนในราคา65,000บาทตามราคาที่จดทะเบียนไว้โดยไม่ได้มีการพิจารณาว่าขณะที่จำเลยที่2และที่3ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่1นั้นราคาที่ดินพิพาทตามราคาตลาดมีราคาสูงเท่าใดสูงกว่าราคาตามที่จดทะเบียนซื้อขายกันหรือไม่แม้มติคชก.ได้ถึงที่สุดไปแล้วก็ตามแต่การพิจารณาเฉพาะเรื่องราคาที่ให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทในราคา65,000บาทนั้นไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54วรรคหนึ่งศาลบังคับตามมติในเรื่องนี้ของคชก.ไม่ได้ตามมาตรา58ประกอบพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530มาตรา24แต่คำวินิจฉัยของคชก.ในส่วนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้เป็นเพียงส่วนประกอบส่วนคำวินิจฉัยที่ให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทนั้นเป็นคำวินิจฉัยส่วนหลักชอบด้วยกฎหมายไม่เสียไปดังนั้นในส่วนประกอบที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้ศาลมีอำนาจพิจารณาจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบแล้วพิพากษาให้ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา54ได้ ระยะเวลาที่โจทก์ขอซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่1ในราคาไร่ละ5,000บาทแต่จำเลยที่1ไม่ยอมขายให้แก่โจทก์ในราคาดังกล่าวห่างจากเวลาที่จำเลยที่1กับบุตรจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2และที่3ประมาณ1ปีและได้ความจากคำพยานโจทก์ว่านับแต่ปี2531เป็นต้นมาราคาที่ดินขยับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆเพิ่งหยุดนิ่งเมื่อปี2534และทางราชการปรับราคาประเมินที่ดินพิพาทในปี2535จากไร่ละ5,000บาทเป็นไร่ละ12,000บาทอันเนื่องมาจากสภาพของราคาที่ดินได้เพิ่มสูงขึ้นมากนั้นเองจึงเชื่อได้ว่าวันจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2และที่3นั้นราคาตลาดของที่ดินพิพาทสูงกว่าไร่ละ5,000บาทมากประกอบกับจำเลยทั้งสามนำสืบถึงราคาตลาดของที่ดินพิพาทว่าในขณะนั้นมีราคาไร่ละ12,000บาทเป็นราคาที่สมเหตุสมผลโจทก์จึงต้องซื้อที่ดินพิพาทในราคาไร่ละ12,000บาทตามราคาตลาดซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าราคาที่จำเลยที่2และที่3ซื้อไว้ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมฯมาตรา54วรรคหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา54บัญญัติให้ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาที่เช่าจากผู้รับโอนโดยตรงหากการขายนาที่เช่ามิได้ปฏิบัติตามมาตรา53เมื่อโจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทและผู้ให้เช่านาขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2และที่3โดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา53ทั้งโจทก์ได้ร้องขอต่อคชก.เพื่อวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์และได้ผ่านขั้นตอนการอุทธรณ์ต่อคชก.แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่2และที่3ผู้รับโอนที่ดินพิพาทขายที่ดินพิพาททั้งแปลงให้แก่โจทก์โดยไม่ต้องคำนึงว่าเดิมมีผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทบ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2539

พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 29 วรรคสอง, 41 (1) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 183

พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)บัญญัติไว้แต่เพียงว่าทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นศาลอาจมีคำสั่งเพิกถอนได้เมื่อผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องและแสดงได้ว่าผู้ร้องมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเท่านั้นหาได้บัญญัติว่าหากผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยโดยสุจริตแล้วจะมีสิทธิดีกว่าไม่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทและมีสิทธิจดทะเบียนในประเทศไทยก่อนโจทก์แล้วจำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์แม้โจทก์จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยก่อนจำเลยก็ตามทั้งสิทธิของจำเลยจะดีกว่าโจทก์หรือไม่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยจะเป็นที่นิยมแพร่หลายของสาธารณชนทั่วโลกหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์จำเลยเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าถือได้ว่าเป็นประเด็นเดียวกับการลวงขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5587

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5587/2539

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 56

โจทก์บรรยายฟ้องเพียงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดโดยไม่ได้บรรยายว่าการกระทำของจำเลยร้ายแรงอย่างไรแต่ในฎีกากลับอ้างว่าจำเลยทำลายป่าสงวนแห่งชาติและทำให้เสื่อมสภาพอุทยานแห่งชาติและป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นความผิดที่ร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติอย่างใหญ่หลวงสมควรได้รับการลงโทษในสถานหนักโดยไม่รอการลงโทษจำคุกจึงเป็นการคาดคะเนของโจทก์เองซึ่งอาจไม่เป็นเช่นนั้นก็ได้และไม่ปรากฎว่าจำเลยมีพฤติการณ์ว่าเคยกระทำความผิดทำนองเดียวกันนี้มาก่อนการกระทำของจำเลยไม่ร้ายแรงนักที่ศาลรอการลงโทษจำคุกจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5586

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5586/2539

พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 5, 41 (4), 121, 122, 123, 124, 125

แม้จำเลยที่1และที่2เป็นลูกจ้างทดลองงานก็มีฐานะเป็นลูกจ้างที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518จำเลยที่1และที่2จึงมีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กล่าวหาว่านายจ้างกระทำการอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา123และจำเลยที่3ถึงที่14ในฐานะคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจวินิจฉัยคำร้องดังกล่าวของจำเลยที่1และที่2ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5573

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5572 - 5573/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 443

แม้โจทก์ทั้งสองได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาก็ไม่ได้หมายความว่าโจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิปลงศพบุตรให้สมแก่ฐานานุรูปโจทก์ทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5567

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5567/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1387, 1400

เจ้าของเดิมได้สิทธิภารจำยอมโดยการใช้ติดต่อกันมากว่า10ปีเมื่อโจทก์ซื้อที่ดินมาจากเจ้าของเดิมภารจำยอมย่อมตกแก่โจทก์ด้วยเช่นกันเพราะเป็นการได้มาหลังจากที่ภารจำยอมนั้นเกิดมีขึ้นแล้วถึงหากโจทก์จะมีทางออกสู่ทางสาธารณะอีกทางหนึ่งแต่ก็ต้องผ่านที่ดินของผู้อื่นก็ไม่ทำให้ภารจำยอมในการใช้ทางพิพาทสูญสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554/2539

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 91 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 185

จำเลยมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเป็นความผิดกระทงหนึ่งและเมื่อเสพก็เป็นความผิดอีกกระทงหนึ่งส่วนกัญชานั้นเมื่อจำเลยมีไว้ในครอบครองก็เป็นความผิดกระทงหนึ่งและเมื่อเสพก็เป็นความผิดอีกกระทงหนึ่งหาใช่เป็นการกระทำเพียงกรรมเดียวไม่ คดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้วศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาให้เป็นคุณแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5553

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5553/2539

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 23, 58 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 195, 218

ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย15วันและบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้อีก15วันรวมจำคุก30วันศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ลงโทษกักขัง30วันแทนเป็นการแก้ไขเล็กน้อยต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคหนึ่งการที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นฎีกาดุลพินิจในการวางโทษจำเลยของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา58คำว่า"และศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิด"นั้นหมายความว่าจำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจริงๆคดีนี้ศาลอุทธรณ์ได้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังแทนตามมาตรา23ดังนั้นศาลอุทธรณ์จะนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ไม่ได้ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้..LONG

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5552

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5552/2539

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2465 ม. 65 วรรคแรก

การที่จำเลยแบ่งเฮโรอีนที่บรรจุอยู่ในหลอดพลาสติกบรรจุลงในหลอดกาแฟแล้วเอาเทียนไขลนปิดหัวท้ายเป็นการผลิตเฮโรอีนตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522มาตรา65วรรคหนึ่งแล้วไม่จำต้องเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายอันเป็นความผิดตามมาตรา65วรรคสอง

« »
ติดต่อเราทาง LINE