คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2539

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9784

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9784/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 575 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

จำเลยได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ซึ่งมีผลเมื่อวันที่27กรกฎาคม2538นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยในฐานะลูกจ้างและนายจ้างย่อมระงับสิ้นสุดลงในวันดังกล่าวต่อมาเมื่อมีการสั่งให้โจทก์กลับเข้าปฎิบัติหน้าที่ตามเดิมนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยในฐานะลูกจ้างนายจ้างย่อมเริ่มต้นเมื่อโจทก์ได้รายงานตัวเข้าปฎิบัติหน้าที่ส่วนช่วงระยะเวลาระหว่างที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จนถึงก่อนวันที่โจทก์รายงานตัวเข้าทำงานใหม่นั้นโจทก์และจำเลยหาได้มีนิติสัมพันธ์ในฐานะลูกจ้างนายจ้างไม่ สิทธิในค่าจ้างก็ดีค่าเล่าเรียนบุตรก็ดีจึงไม่อาจมีได้ทั้งคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์กลับเข้าปฎิบัติหน้าที่ตามเดิมก็มิได้ระบุให้โจทก์ใดๆในระหว่างเลิกจ้างนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9783

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9783/2539

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคสองนั้นมีความหมายว่าเป็นการที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปโดยเด็ดขาดโดยไม่จ่ายค่าจ้างให้ด้วยซึ่งสภาพความเป็นนายจ้างและลูกจ้างสิ้นสุดลงไม่ใช่เรื่องกาให้ลูกจ้างหยุดงานเพียงชั่วคราวซึ่งสภาพการเป็นนายจ้างและลูกจ้างยังไม่สิ้นสุดลงและลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับค่าจ้างถ้านายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างให้หยุดงานชั่วคราวลูกจ้างก็มีสิทธิเรียกเอาได้ส่วนข้อความที่ว่า"ไม่ว่าเพราะเหตุอื่นใด"ในกฎหมายดังกล่าวนั้นก็หมายถึงมูลเหตุของกรณีที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปโดยเด็ดขาดโดยไม่จ่ายค่าจ้างนั้นเองมิใช่กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานชั่วคราวหรือพักงานแต่อย่างใดเช่นนี้การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยเพื่อรอการลงโทษจนกว่าคดีอาญาที่โจทก์ต้องหาว่าลักทรัพย์ของนายจ้างจะถึงที่สุดนั้นนับว่าเป็นการให้ลูกจ้างหยุดงานเป็นการชั่วคราวสภาพการเป็นนายจ้างลูกจ้างยังคงมีอยู่ต่อไปไม่ใช่เป็นกรณีจำเลยไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไปโดยเด็ดขาดเพราะเมื่อคดีถึงที่สุดปรากฎว่าโจทก์ไม่มีความผิดจำเลยก็ต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปเสมือนหนึ่งว่าไม่เคยเลิกจ้างและจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานให้แก่โจทก์เพราะการที่โจทก์ไม่ได้ทำงานนั้นเนื่องมาจากฝ่ายจำเลยเองก็ไม่มอบงานให้ทำแต่จำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์การสั่งพักงานโจทก์จึงไม่เป็นการเลิกจ้างตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6586

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6586/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 142 (5), 246, 247 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 22, 153

พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22กำหนดว่าเมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วจำเลยไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดีเพราะกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวจำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอในคดีแพ่งเรื่องอื่นที่จำเลยถูกฟ้องเพื่อมิให้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยและปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยมาตรา246,247และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9782

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9782/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 205, 900 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 84, 142

โจทก์ไม่ปฎิบัติตามสัญญาโดยโจทก์มิได้ตรวจซ่อมระบบแอร์และการปรับอากาศให้สมบูรณ์ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเมื่อเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวและโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยจึงมีสิทธิไม่ชำระหนี้ให้โจทก์โดยมีคำสั่งว่าให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทได้ เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าระบบแอร์และการปรับอากาศไม่สมบูรณ์มีข้อบกพร่องเนื่องจากการติดตั้งของโจทก์และโจทก์ไม่ได้ซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ก่อนกำหนดตามสัญญาเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา900และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา84แล้วเห็นว่าจำเลยมีสิทธิไม่ชำระหนี้ตามเช็คพิพาทศาลอุทธรณ์จึงฟังข้อเท็จจริงไม่ผิดจากพยานหลักฐานในสำนวนและวินิจฉัยพยานหลักฐานตรงตามประเด็นตรงตามภาระการพิสูจน์และหน้าที่นำสืบของจำเลยตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7196/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1012 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 91

ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้จะต้องเป็นบุคคลโดยจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ได้เมื่อกลุ่มครูโรงเรียนอุดรเจ้าหนี้มิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเพราะเป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเท่านั้นเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ การรวมกลุ่มของครูผู้เป็นสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนอุดรไม่ได้ประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1012จึงไม่มีลักษณะคล้ายห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียนแม้กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนอุดรจะเป็นตัวแทนของสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าวและอยู่ในลักษณะเจ้าของรวมแต่ตามคำขอรับชำระหนี้ปรากฏชัดว่าผู้ขอรับชำระหนี้คือ"กลุ่มครูโรงเรียนอุดรโดยนายเรืองยศรมณียชาติ ผู้รับมอบอำนาจ"ไม่ใช่กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าวฉะนั้นกลุ่มครูโรงเรียนอุดรซึ่งไม่มีฐานะเป็นบุคคลจึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6557

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6557/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 199, 238

จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องเท่านั้นและจำเลยมีสิทธิเพียงอ้างตนเองเป็นพยานกับซักค้านพยานโจทก์เท่านั้นไม่มีสิทธินำพยานจำเลยเข้าสืบไม่ว่าพยานบุคคลหรือพยานเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา199วรรคสองการที่ทนายความจำเลยทั้งสองนำสำเนาหนังสือสัญญากู้ยืมเงินให้ตัวโจทก์ดูประกอบการถามค้านตัวโจทก์ตัวโจทก์ไม่ตอบคำถามเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวแล้วทนายความจำเลยทั้งสองส่งเอกสารนั้นต่อศาลชั้นต้นนั้นตัวโจทก์ไม่ได้เบิกความรับรองเอกสารดังกล่าวเท่ากับจำเลยทั้งสองเรียกพยานหลักฐานของตนเข้าสืบฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังกล่าวสำเนาหนังสือสัญญากู้ยืมเงินจึงต้องห้ามมิให้รับฟังที่ศาลอุทธรณ์นำเอกสารดังกล่าวมาวินิจฉัยประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องเป็นเอกสารปลอมจึงเป็นการไม่ชอบเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมายศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 5141 - 5146/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 583 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

ตามระเบียบข้อบังคับจำเลยอาจออกคำสั่งให้โจทก์ทั้งหกไปทำงานนอกสถานที่ได้จำเลยจึงออกคำสั่งให้โจทก์ทั้งหกไปทำงานที่บริษัทอ. ได้ส่วนในการไปทำงานที่บริษัทดังกล่าวของโจทก์ทั้งหกต้องเดินทางออกจากที่อ้อมน้อยเวลา6นาฬิกาและขากลับถึงที่อ้อมน้อยเวลา19นาฬิกานั้นเป็นเรื่องของเวลาเดินทางกรณีจะถือเอาเวลาเดินทางไปทำงานมารวมเป็นเวลาทำงานหาได้ไม่จึงถือไม่ได้ว่าคำสั่งของจำเลยขัดต่อเวลาทำงานตามที่จำเลยกับโจทก์ทั้งหกตกลงให้เข้าทำงานเวลา8.30นาฬิกาและเลิกงานเวลา17.30นาฬิกาคำสั่งของจำเลยชอบด้วยระเบียบข้อบังคับและกฎหมายแล้วการที่โจทก์ทั้งหกปฏิเสธไม่ไปทำงานตามคำสั่งของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583โจทก์ทั้งหกไม่มีสิทธิเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แม้การที่โจทก์ทั้งหกปฏิเสธไม่ไปทำงานตามคำสั่งของจำเลยเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยแต่กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายและลำพังเหตุที่โจทก์ทั้งหกปฏิเสธไม่ไปทำงานตามคำสั่งของจำเลยก็ไม่ใช่กรณีร้ายแรงยังไม่อาจทำให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนายจ้างจะต้องตักเตือนเป็นหนังสือแล้วด้วยจึงจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9781

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9781/2539

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 80, 81, 83, 86, 288

จำเลยเป็นผู้ขับรถยนต์จักรยานยนต์มีพวกของจำเลยซ้อนท้ายมายังบริเวณที่เกิดเหตุแล้วรอรับพาพวกของจำเลยหลบหนีโดยจำเลยจอดรถรอห่างประมาณ7ถึง8วาแม้แต่เมื่อผู้เสียหายที่1กอดปล้ำกับพวกของจำเลยจำเลยก็ไม่ได้แสดงปฏิกิริยาอย่างไรอีกทั้งวันเกิดเหตุเป็นวันสงกรานต์ที่เกิดเหตุเป็นร้านค้าและไม่ปรากฏว่าจำเลยมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้เสียหายทั้งสามมาก่อนพยานโจทก์เพียงเท่านี้จึงยังไม่พอฟังว่าจำเลยร่วมยิงกับพวกของจำเลยฟังได้เพียงว่าจำเลยให้ความสะดวกในการที่พวกของจำเลยมากระทำความผิดจำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด การที่พวกของจำเลยใช้อาวุธปืนยิงใส่กลุ่มชาวบ้านซึ่งมีผู้เสียหายทั้งสามรวมอยู่ด้วยโดยยิงในระยะใกล้แต่กระสุนปืนที่ถูกที่หน้าอกผู้เสียหายที่1จำนวน3ลูกได้รับบาดเจ็บเพียงเป็นบาดแผล0.4เซนติเมตรผู้เสียหายที่2ถูกกระสุนปืนที่ต้นขาซ้าย1ลูกและผู้เสียหายที่3ถูกกระสุนปืนที่ต้นขาซ้าย1ลูกแพทย์ผู้รักษาผู้เสียหายทั้งสามให้การในชั้นสอบสวนว่าผู้เสียหายที่1ได้รับบาดเจ็บมากที่สุดแต่เนื่องจากกระสุนปืนกระจายออกและไม่ถูกอวัยวะสำคัญโดยกระสุนปืนไปฝังอยู่บริเวณชั้นกล้ามเนื้อถ้าหากไม่ได้รับการรักษาในทันทีก็ยังไม่ถึงกับเสียชีวิตได้การที่ยิงในระยะใกล้แต่กระสุนปืนฝังแค่ชั้นกล้ามเนื้อแสดงว่าอาวุธปืนที่พวกของจำเลยยิงไม่มีประสิทธิภาพไม่สามารถทำให้ถึงกับเสียชีวิตได้อันถือได้ว่าการกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นของพวกของจำเลยไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา81วรรคหนึ่งจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288ประกอบมาตรา81วรรคหนึ่งมาตรา86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9780

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9780/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 150 พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ม. 25, 26, 39

ในกรณีมีที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในเขตปฏิรูปที่ดิน พระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 16(1) บังคับให้ต้องจัดที่ดินแปลงอื่นให้พลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันแทน และให้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เฉพาะกรณีที่ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นพลเมืองยังคงใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นอยู่หากเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่เลิกใช้ประโยชน์แล้วก็ไม่ต้องมีการจัดที่ดินแปลงอื่นให้พลเมืองใช้ร่วมกันแทนโดยคณะกรรมการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแต่อย่างใด และพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินมีผลเป็นการถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับที่ดินสาธารณประโยชน์เหล่านั้นด้วย โดยมิต้องดำเนินการถอนสภาพตามประมวลกฎหมายที่ดินอีก พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา 39ห้ามบุคคลที่ได้รับสิทธิให้ทำกินในที่ดินโดยการปฏิรูปที่ดินโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่น ดังนั้น หากมีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวกันเอง ก็เป็นการขัดกับบทบัญญัติดังกล่าวสัญญาซื้อขายตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113(เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 624, 625

การที่จำเลยที่1ออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้แก่บริษัทก.เป็นเพียงหลักฐานเพื่อให้บริษัทดังกล่าวนำไปขอรับสินค้าจากเรือได้เท่านั้นแต่ถ้ายังมิได้มีการขนถ่ายสินค้าก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัทก. แล้วเพราะสินค้ายังอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่1เมื่อเริ่มมีการขนถ่ายสินค้าในวันที่4มิถุนายน2533ก็ต้องถือว่าจำเลยที่1เริ่มส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัทก. แต่เมื่อการขนถ่ายสินค้าไม่แล้วเสร็จในวันนั้นและได้มีการขนถ่ายสินค้าต่อมาทุกวันจนแล้วเสร็จในวันที่9เดือนเดียวกันก็ต้องถือว่าจำเลยที่1ได้ทยอยส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัทดังกล่าวตลอดมาจนส่งมอบเสร็จสิ้นในวันที่9มิถุนายน2533การนับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624จึงต้องนับตั้งแต่วันที่ส่งมอบสินค้าแล้วเสร็จคือวันที่9มิถุนายน2533โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่5มิถุนายน2534ยังไม่พ้นกำหนด1ปีนับแต่วันส่งมอบสินค้าจึงไม่ขาดอายุความ ใบตราส่งมีเงื่อนไขจำกัดความรับผิดของจำเลยที่1ผู้ขนส่งไว้แต่เมื่อทางนำสืบของจำเลยที่1ไม่ปรากฎว่าผู้ส่งสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยในการจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าผู้ส่งสินค้าตกลงโดยชัดแจ้งให้จำเลยที่1จำกัดความรับผิดดังกล่าวข้อจำกัดความรับผิดจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา625

« »
ติดต่อเราทาง LINE