คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2539
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3939/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 18, 132, 150 วรรคแรก, ตาราง 1 ข้อ 1 ( ก )
ในคดีที่โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในเวลายื่นคำฟ้องนั้น หากศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องของโจทก์และกำหนดระยะเวลาให้โจทก์แถลงเกี่ยวกับกรณีที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้อีกฝ่ายไม่ได้ทั้ง ๆ ที่โจทก์ยังมิได้เสียค่าขึ้นศาล และศาลยังมิได้กำหนดระยะเวลาให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาล คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งรับฟ้องโจทก์ตลอดจนกระบวนพิจารณาต่อจากนั้นจนถึงคำสั่งจำหน่ายคดีย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย อุทธรณ์ที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ (2)(ก)กำหนดให้เรียกค่าขึ้นศาลเรื่องละ 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3931/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 227
แม้ผู้เสียหายที่1และผู้เสียหายที่2จะเป็นพยานคู่รู้เห็นเหตุการณ์ในความเดียวกันแต่ก็ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติบังคับให้โจทก์ต้องนำพยานคู่มาเบิกความในคราวเดียวกันอันเป็นข้อห้ามไม่ให้รับฟังเป็นข้อพิจารณาของศาลแต่ประการใดศาลย่อมนำคำเบิกความของผู้เสียหายทั้งสองไปพิเคราะห์เทียบเคียงให้เห็นเท็จและจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5704/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 148 (3), 172 วรรคสอง, 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามบัญชีเดินสะพัดเมื่อบรรยายฟ้องก็กล่าวถึงเวลาขอเปิดบัญชีในวงเงินที่กำหนดและมีการเบิกจ่ายเงินและชำระหนี้กันเป็นระยะเวลาหลายปีจนถึงผลสุดท้ายก็มียอดหนี้ของจำเลยทั้งสองรวมทั้งดอกเบี้ยแม้เอกสารการ์ดบัญชีที่แสดงว่าเป็นหนี้กันอยู่จะแนบมาพร้อมฟ้องเพียงบางส่วนก็นับว่าชัดแจ้งพอที่จะเข้าใจข้อหาและจำนวนหนี้ได้ดีฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม จำเลยทั้งสองมิได้ต่อสู้คดีไว้ว่าจะต้องรับผิดไม่เกิน200,000บาทตามสัญญาเท่านั้นเพิ่งยกขึ้นโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจำเลยทั้งสองมิได้โต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ไม่ถูกต้องประการใดบ้างกลับโต้แย้งว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดเกิน200,000บาทจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง เมื่อหนี้ยังไม่ระงับจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยตามสัญญาแต่ดอกเบี้ยที่คิดมาในฟ้องศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ชอบสมควรให้คิดใหม่โดยพิพากษาให้ยกฟ้องและไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ซึ่งเป็นอำนาจศาลอุทธรณ์ที่จะพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7175/2539
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 36
จำเลยที่1ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่4ซึ่งจะต้องชำระภายในวันที่9กรกฎาคม2536เป็นต้นมาเพิ่งชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระหนี้ทั้งหมดในวันที่18มกราคม2537ก่อนที่จำเลยที่1จะถูกจับมาดำเนินคดีในความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้เพียง1วันรายการชำระค่าเช่าซื้องวดที่4ถึงที่8จึงไม่ถูกต้องเพราะเป็นการลงรายการชำระค่าเช่าซื้อย้อนหลังเพื่อเป็นหลักฐานว่าจำเลยที่1ไม่ได้ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อติดต่อกันหลายงวดอันเป็นการส่อถึงความไม่สุจริตในการยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์กระบะของกลางเมื่อพิเคราะห์ประกอบกับข้อตกลงระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่1ว่าหลังจากได้รับรถยนต์กระบะของกลางคืนแล้วผู้ร้องจะให้จำเลยที่1เช่าซื้อต่อไปรวมตลอดถึงข้อความตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อข้อ9ว่าในกรณีที่ผู้เช่าซื้อต้องคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อแต่ไม่สามารถส่งมอบคืนให้ได้ผู้เช่าซื้อจะต้องชดใช้ราคาทรัพย์สินเท่าราคาค่าเช่าซื้อพร้อมกับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระและค่าเสียหายต่างๆให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าผู้ร้องมีเจตนาเพียงต้องการที่จะได้รับเงินค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อเท่านั้นผู้ร้องจึงเพิกเฉยไม่บอกเลิกสัญญาไม่ติดตามยึดรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อคืนทั้งๆที่จำเลยที่1ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อติดต่อกันมาหลายงวดจนกระทั่งจำเลยที่1นำรถยนต์กระบะของกลางไปใช้ในการกระทำความผิดและถูกริบในคดีนี้ผู้ร้องจึงมาขอรถยนต์ดังกล่าวคืนอันเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่1เข้าลักษณะเป็นผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยที่1ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถยนต์กระบะของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7121/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 75, 900, 901, 1144
จำเลยที่1และที่2เป็นผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คของบริษัทอ. ได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทซึ่งเป็นของบริษัทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ของบริษัทและของจำเลยที่1แต่จำเลยที่1และที่2มิได้ประทับตราของบริษัทด้วยจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1และที่2ไม่ได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คโดยระบุว่ากระทำการแทนบริษัทดังกล่าวดังนั้นจำเลยที่1และที่2จึงต้องร่วมกันรับผิดตามเนื้อความที่ปรากฏในเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา900,901
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7120/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 23, 229
โจทก์ยื่นคำฟ้องอุทธรณ์โดยมิได้วางเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนจำเลยมาพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบ แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้สั่งรับเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ โจทก์ไม่ขัดขืน อาศัยมาตรา 23 แห่ง ป.วิ.พ. ศาลมีอำนาจขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนอีกฝ่ายหนึ่งได้ พฤติการณ์แห่งคดีสมควรขยายเวลาให้ ไม่ควรยกอุทธรณ์ของโจทก์เสียทีเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7105/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 249, 254 (2)
ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระหว่างพิจารณาโดยให้จำเลยขนคนงานและสิ่งของนอกเหนือจากที่ตกเป็นของโจทก์ออกไปจากบริเวณที่ก่อสร้างแล้วในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์จำเลยได้ขนย้ายคนงานและสิ่งของออกไปจากบริเวณที่ก่อสร้างตามคำสั่งศาลชั้นต้นและโจทก์ได้เข้าทำการก่อสร้างอาคารจนแล้วเสร็จและได้แบ่งแยกโฉนดโอนขายให้แก่บุคคลภายนอกแล้วดังนี้คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นย่อมสิ้นผลบังคับไปโดยสภาพกรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลชั้นต้นตามฎีกาของจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 5701/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 224 วรรคหนึ่ง, 383 วรรคหนึ่ง
โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ19ต่อปีตามสัญญาที่จำเลยขอเปิดวงเงินเบิกเกินบัญชีจากโจทก์ดังนั้นเมื่อสัญญาเลิกกันแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราดังกล่าวจนกว่าจะชำระเสร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคหนึ่งเพราะถือว่าโจทก์มีเหตุที่อ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมายและดอกเบี้ยหลังจากสัญญาเลิกกันแล้วไม่ถือว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลจะมีอำนาจปรับลดลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3555/2539
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 ม. 30
แม้การขอกลับเข้ารับราชการใหม่กับการบอกเลิกรับบำนาญจะเป็นคนละเรื่องกันแต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้ยื่นเรื่องทั้งสองดังกล่าวพร้อมกันทั้งตามบทบัญญัติในมาตรา30วรรคสี่และวรรคห้าแห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพ.ศ.2494ก็ไม่ได้กำหนดระยะเวลาเริ่มต้นไว้ว่าจะต้องยื่นหนังสือการบอกเลิกรับบำนาญตั้งแต่เมื่อใดการที่โจทก์ยื่นหนังสือการบอกเลิกรับบำนาญพร้อมกับการยื่นหนังสือขอกลับเข้ารับราชการใหม่โดยไม่รอให้กรมเจ้าสังกัดมีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ารับราชการใหม่เสียก่อนก็หาขัดต่อมาตรา30วรรคสี่ไม่ มาตรา30วรรคห้าบัญญัติเพียงว่าการบอกเลิกรับบำนาญให้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อเป็นหลักฐานส่งไปยังกระทรวงการคลังโดยผ่านกระทรวงเจ้าสังกัดมิได้กำหนดว่าต้องยื่นต่อกองคลังในกรมและกระทรวงเจ้าสังกัดดังนั้นการที่โจทก์ยื่นหนังสือการบอกเลิกรับบำนาญต่อผู้อำนวยการกองอัตรากำลังและส่งเสริมสมรรถภาพภายในกรมและกระทรวงเจ้าสังกัดของโจทก์ต้องถือว่าเป็นการยื่นผ่านกระทรวงเจ้าสังกัดแล้วโจทก์จึงได้ปฏิบัติตามมาตรา30วรรคห้าแล้วจำเลยทั้งสองจึงต้องนับเวลาราชการช่วงแรกของโจทก์รวมกับเวลาช่วงที่โจทก์กลับเข้ามารับราชการใหม่เพื่อคำนวณบำนาญให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3553/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 379, 650
ข้อตกลงในสัญญากู้เงินที่ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนดแม้ผู้กู้จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ไม่ใช่ข้อตกลงที่เป็นเบี้ยปรับ