คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2533
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2533
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 368, 914, 989 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 86 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ จำเลยให้การรับว่าจำเลยได้ออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์จริง โดยออกให้เพื่อประกันเงินกู้ตามสัญญากู้ซึ่งระบุว่า จำเลยได้มอบเช็คพิพาทซึ่งสั่งจ่ายเงินเท่ากับจำนวนเงินกู้และลงวันที่สั่งจ่ายวันเดียวกับวันครบกำหนดชำระเงินกู้ให้โจทก์ไว้เป็นประกัน ข้อความในสัญญากู้ดังกล่าวแสดงว่าเมื่อถึงกำหนดชำระหนี้เงินกู้ หากจำเลยไม่ชำระโจทก์ก็มีสิทธินำเช็คพิพาทไปเบิกเงินจากธนาคารเพื่อชำระหนี้เงินกู้ได้ หาใช่เป็นกรณีเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ดังจำเลยต่อสู้ไม่ เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การฟังได้แล้วว่า โจทก์มีสิทธินำเช็คพิพาทไปเบิกเงิน และธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว จำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายย่อมต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ คดีจึงพอวินิจฉัยได้แล้ว หามีความจำเป็นต้องสืบพยานใด ๆ ต่อไปอีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4062/2533
nan
nan
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4061/2533
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 368, 797, 808 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 62 วรรคสอง, 66
การแปลความเอกสารหาอาจพิเคราะห์เพียงข้อความตอนใดตอนหนึ่งของเอกสารเท่านั้นไม่ หากต้องพิจารณาเอกสารทั้งฉบับและความมุ่งหมายของผู้ทำเอกสารเป็นสำคัญอีกด้วย แม้ข้อความตอนแรก ๆ ของหนังสือมอบอำนาจจะกล่าวถึงกิจการที่มอบหมายให้ผู้รับมอบอำนาจกระทำในประเทศญี่ปุ่นอยู่บ้าง แต่ข้อความตอนต่อ ๆ มาก็มิได้จำกัดว่าจะต้องให้ผู้รับมอบอำนาจกระทำได้เฉพาะแต่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น การที่โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจขึ้นในประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานสาขาของโจทก์และอ้างถึงการเป็นตัวแทนตามกฎหมายญี่ปุ่น หรือกิจการที่ผู้รับมอบอำนาจจะต้องกระทำในประเทศญี่ปุ่นบางประการ ย่อมไม่ได้หมายความจำกัดเฉพาะกิจการในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น
เมื่อหนังสือมอบอำนาจมีข้อความมุ่งหมายจะมอบอำนาจให้ ท.เป็นผู้มีอำนาจทำการตามที่ระบุไว้ในกิจการอันเกี่ยวกับการรับประกันภัยทั้งสิ้นโดยไม่ได้จำกัดว่าให้กระทำได้แต่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น และยังได้มอบอำนาจให้ ท.มีอำนาจฟ้องคดีและมีอำนาจตั้งตัวแทนช่วงหรือผู้รับมอบอำนาจช่วงได้ท.จึงมอบอำนาจให้ พ.ซึ่งอยู่ในประเทศไทยฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4138/2533
nan
nan
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4136/2533
nan
nan
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4127/2533
nan
nan
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4086/2533
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 249, 177, 172 วรรคสอง ประมวลรัษฎากร ม. 121 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420, 448
จำเลยที่ 1 มิได้ให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพิ่งมายกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ ฎีกา จึงเป็นเรื่องนอกคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ จำเลยที่ 2 ให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมโดยมิได้กล่าวให้ชัดแจ้งว่าเคลือบคลุมอย่างไร จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง แม้ในชั้นฎีกาจำเลยที่ 2 จะได้ฎีกาโดยกล่าวรายละเอียดมาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าพันตำรวจตรีพ.ยักยอกเงินไปในระหว่างวันใดถึงวันใดและกล่าวถึงยอดเงินที่ยักยอกไปว่ารวมทั้งหมดเท่าใด ทั้งยังส่งรายละเอียดเงินขาดบัญชี ระบุประเภทของเงินที่ขาดบัญชีว่าพันตำรวจตรีพ. รับเงินดังกล่าวไปเมื่อใด เป็นจำนวนเงินเท่าใด แนบมาท้ายฟ้องตามเอกสารหมายเลข 2 ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงแจ้งชัดพอเข้าใจได้แล้วไม่จำต้องแสดงหลักฐานการรับเงินแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องรายละเอียดที่ไม่จำต้องบรรยายในคำฟ้องแต่อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม แม้จำเลยทั้งสามให้การเพียงว่า หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยไม่มีรายละเอียดว่าไม่สมบูรณ์อย่างไรแต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยให้ตามฎีกาของจำเลยได้ เมื่อไม่มีกฎหมายหรือข้อบังคับไว้ว่า การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์จะต้องมีตราประจำตัวอธิบดีกรมตำรวจประทับไว้ด้วยแม้ใบมอบอำนาจจะลงชื่ออธิบดีกรมตำรวจโดยไม่มีตราประทับก็เป็นใบมอบอำนาจที่มีผลใช้บังคับได้ คดีนี้โจทก์เป็นกรมในรัฐบาล ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 121 แม้ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจะไม่ปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ใบมอบอำนาจดังกล่าวก็เป็นใบมอบอำนาจที่สมบูรณ์ ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพันตำรวจตรีพ.มีหน้าที่ต้องตรวจสอบและควบคุมการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชามิให้บกพร่องหรือเกิดการทุจริตขึ้นหากจำเลยที่ 1 ตรวจสอบ ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่เสมอจำเลยที่ 1 ก็น่าจะทราบว่าพันตำรวจตรีพ. มิได้จัดทำบัญชีตามระเบียบของทางราชการเลขภายในเวลาไม่นานหลังจากเข้ารับตำแหน่งในกองบัญชาการศึกษาจำเลยที่ 1เข้ามารับหน้าที่ในตำแหน่งผู้บัญชาการศึกษาในปี 2517 และเหตุทุจริตเกิดขึ้นในปี 2519 หลังจากจำเลยที่ 1 เข้ามารับงานถึง 2 ปีแสดงว่าในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่รับผิดชอบของพันตำรวจตรีพ.มิได้ตรวจตราควบคุมให้พันตำรวจตรีพ. ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ จึงไม่พบข้อบกพร่องดังกล่าวเป็นเหตุให้พันตำรวจตรีพ. ถือโอกาสนำเงินของราชการไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว นับเป็นความประมาทเลินเล่อของผู้บังคับบัญชา เมื่อเกิดความเสียหายจากการกระทำของพันตำรวจตรีพ. จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบร่วมกับพันตำรวจตรีพ. ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3ได้ความว่า จำเลยที่ 1 มอบหมายหน้าที่การงานให้รับผิดชอบร่วมกันเกี่ยวกับการเงินที่พันตำรวจตรีพ. ปฏิบัติหน้าที่อยู่ เมื่อไม่ตรวจตราควบคุมให้พันตำรวจตรีพ.ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบก็ต้องรับผิดร่วมกับพันตำรวจตรีพ. ด้วย เมื่อมีการทราบเรื่องว่าพันตำรวจตรีพ. ยักยอกเงินในปี 2520แต่ไม่ทราบว่ามีผู้อื่นจะต้องรับผิดชอบทางแพ่งร่วมกับพันตำรวจตรีพ.หรือไม่ จึงได้มีการตั้งกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่งเมื่อปี 2522 คณะกรรมการดำเนินการเสร็จแล้วเห็นว่าจำเลยทั้งสามจะต้องรับผิด และเสนอเรื่องต่อผู้บังคับบัญชาไปตามลำดับชั้น ผลที่สุดผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจ สั่งให้ฟ้องจำเลยทั้งสาม เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม2524 ถือว่าโจทก์ได้ทราบตัวผู้ที่จะต้องร่วมรับผิดกับพันตำรวจตรีพ. ใช้เงินให้โจทก์ในวันดังกล่าว โจทก์ได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่25 มิถุนายน 2525 ยังไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4117/2533
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 172
ในขณะที่มีคนร้ายลอบเข้าไปวางเพลิงสำนักงานป่าไม้จังหวัดทำให้ทรัพย์สินเสียหายไม่มีผู้อยู่เวรและตรวจเวร แต่ในระหว่างเกิดเหตุมีคำสั่งตั้งเวรยามกำหนดเจ้าหน้าที่เวรยามไว้โดยแน่ชัดสามารถปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวได้อยู่แล้ว โดยมีผู้ช่วยป่าไม้จังหวัดเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ตรวจเวรยามจำเลยซึ่งเป็นป่าไม้จังหวัดหาจำต้องออกคำสั่งตั้งเวรยามซ้ำอีกไม่ การที่จำเลยมิได้ออกคำสั่งตั้งเวรยามใหม่จึงไม่เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อดังที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4103/2533
nan
nan
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4111/2533
nan
nan