คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2533
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4876/2533
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 177 พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ม. 4, 21, 63
ขณะเกิดกรณีพิพาทโจทก์ไม่ได้ทำนาในที่ดินพิพาทแล้ว แต่ได้ขุดบ่อเลี้ยงปลาจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้เช่านาตามความหมายในพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 เป็นการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่น จึงต้องนำมาตรา 63 มาใช้บังคับ ซึ่งมีใจความว่าในกรณีที่การเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทใดนอกจากการเช่านาเมื่อรัฐบาลเห็นสมควรกำหนดให้การเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทนั้นมีการควบคุมก็ให้มีอำนาจกระทำการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา เมื่อปรากฏว่ายังไม่มีพระราชกฤษฎีกาควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่น ดังนั้น โจทก์จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และศาลพิพากษายกฟ้องแล้วฟ้องแย้งย่อมต้องตกไปเพราะการฟ้องแย้งนั้นจะมีได้ต้องมีฟ้องเดิมและตัวโจทก์เดิมที่จะเป็นจำเลยของฟ้องแย้งอยู่ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4874/2533
nan
nan
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4872/2533
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 224, 728, 900, 914, 938, 939 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 87, 142, 172
จำเลยที่ 2 ปฏิเสธว่าลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาทมิใช่ของตนโจทก์นำสืบพยานบุคคลว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาท และในสำนวนมีลายมือชื่อแท้จริงของจำเลยที่ 2 ในสัญญาจำนอง ใบแต่งทนาย และคำให้การ เมื่อเป็นพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับประเด็นโดยตรง ศาลมีอำนาจอาศัยลายมือชื่อดังกล่าวตรวจเปรียบเทียบ เพื่อชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานว่า เพียงพอให้เชื่อฟังได้หรือไม่ มูลหนี้คดีนี้เป็นหนี้กู้ยืมเงิน 1,000,000 บาท มิได้ทำสัญญากู้กันไว้ แต่มีการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันและให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงิน หลังจากนั้นจำเลยที่ 1สั่งจ่ายเช็คพิพาทเป็นเงิน 1,000,000 บาท มอบให้โจทก์อีกโดยตกลงว่าเพื่อเป็นประกัน เช็คพิพาทจึงออกเพื่อประกันการกู้ยืมเงินด้วย โจทก์มีสิทธิฟ้องได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวบังคับจำนองก่อน การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังเช็คที่สั่งจ่ายระบุชื่อ โจทก์ขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออก และมุม ซ้ายบนของด้านหน้ามีข้อความว่าเข้าบัญชีผู้รับเงินเท่านั้นห้ามเปลี่ยนมือ และในเช็คไม่ปรากฏว่ามีถ้อยคำสำนวนว่าใช้ได้เป็นอาวัล หรือสำนวนอื่นใดทำนองเดียวกัน จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับอาวัลแต่การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คที่จำเลยที่ 1เป็นผู้สั่งจ่ายโดยระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินและจำเลยทั้งสองนำเช็คไปมอบให้โจทก์ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คด้วยความสมัครใจที่จะผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง ในอันที่จะรับผิดตามข้อความในเช็คอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายด้วยการลงลายมือชื่อของตนในเช็คตามมาตรา 900 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ย คำขอให้โจทก์ทั้งสองชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์จนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ เห็นได้ว่าเป็นการพิมพ์ผิดเพราะโจทก์มีเพียงคนเดียวจะขอให้โจทก์ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ย่อมไม่ได้ ทั้งในที่อื่นตามฟ้องทั้งหมดได้ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ขอให้ชำระดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง ศาลมีอำนาจพิพากษาให้จนถึงวันที่ชำระเสร็จตามคำพิพากษาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4870/2533
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 33 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ม. ,
รถยนต์บรรทุกของกลางบรรทุกดิน มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวม 29,300 กิโลกรัม เกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้ถึง 8,300 กิโลกรัมนับได้ว่ามีน้ำหนักเกินอัตราจำนวนมาก เป็นการทำความเสียหายแก่ทางหลวงจังหวัดอันเป็นทางสัญจรไปมาของประชาชน ทั้งมีผลเป็นการทำลายเศรษฐกิจของชาติ จึงเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดอันควรริบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4869/2533
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 90, 91 พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ม. 6
จำเลยมีและใช้เครื่องรับและส่งวิทยุคมนาคมอันเป็นความผิดในมาตราเดียวกัน ตาม พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 มาตรา 6 ในเวลาเดียวกันเท่ากับว่า มีเจตนาอันเดียว การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4864/2533
nan
nan
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4846/2533
nan
nan
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4845/2533
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 113 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 22 (3), 24
บทบัญญัติมาตรา 24 พระราชบัญญัติล้มละลาย ไม่ได้บัญญัติห้ามผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจัดการทรัพย์สินของผู้อื่นหรือกระทำกิจการแทนผู้อื่น จำเลยที่ 2 ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจึงมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 แต่งตั้งทนายความแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4867/2533
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 321, 456 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 94, 172
โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็ค แต่โจทก์ฟ้องอ้างมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่ดิน โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยซื้อที่ดินจากโจทก์กี่โฉนด จำนวนเนื้อที่เท่าใด ราคาทั้งหมดเท่าใด ส่วนที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระจากจำเลยเป็นเงินเท่าใด โจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยชำระเงินไม่ครบถ้วนอย่างไร รวมจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์เท่าใด ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้ว ไม่จำต้องบรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับเช็คฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม การซื้อขายที่ดินเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ป.พ.พ. มาตรา456 บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง การฟังพยานหลักฐานในกรณีเช่นนี้ต้องอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 94โจทก์จำเลยจึงจะนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินไม่ได้ ในเอกสารหนังสือซื้อขายที่ดินระบุว่า "ผู้ซื้อได้ชำระและผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินรายนี้เรียบร้อยแล้ว" ดังนี้ในส่วนของจำนวนเงินที่จำเลยได้ชำระเป็นเช็คโจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อให้เห็นข้อเท็จจริงต่างไปจากความที่ระบุไว้ชัดแจ้งในหนังสือสัญญาดังกล่าวหาได้ไม่ แต่ในส่วนที่ชำระกันด้วยเช็คนั้นแม้โจทก์จะมิได้ฟ้องในมูลหนี้ตามเช็ค โจทก์ย่อมสืบได้ว่าหนี้เดิมตามสัญญาซื้อขายที่ดินยังไม่ระงับไปเพราะโจทก์ขึ้นเงินตามเช็คไม่ได้ ไม่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ข้อตกลงที่มาสู่การซื้อขายที่ดินพิพาทเนื่องมาจากสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย มิใช่เกิดจากวางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จึงเป็นกรณีที่ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระบุว่าค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ผู้จะขายเป็นผู้ชำระเองทั้งสิ้นโจทก์จึงจะนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยผู้จะซื้อตกลงออกค่าธรรมเนียมในการโอนไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4828/2533
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 151
จำเลยรับราชการเป็นนายช่างโยธา 5 ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยจราจรสงเคราะห์ประจำเขตการทางสงขลา กรมทางหลวง ในการปฏิบัติหน้าที่จำเลยมีอำนาจสั่งอนุญาตให้เบิกจ่ายน้ำมันและอนุญาตให้ใช้รถยนต์ในเขตการทางสงขลาด้วย การที่จำเลยได้สั่งให้ใช้รถของราชการและสั่งอนุญาตให้เบิกจ่ายน้ำมันของราชการสำหรับรถดังกล่าวขนเสาซีเมนต์ป้ายจราจรจากแขวงการทางสงขลาไปยังจุดติดตั้งในกิจการส่วนตัว จึงเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่กรมทางหลวง ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151