คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2533
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4540/2533
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 84 พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 27, 41
บทบัญญัติมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯบัญญัติไว้ตอนต้นว่า "ภายในบังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้"ซึ่งรับกับมาตรา 41 ที่บัญญัติว่า "ทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นศาลอาจมีคำสั่งให้เพิกถอนได้เมื่อผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องและแสดงว่า (1) ผู้ร้องมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของหรือ (2) ฯลฯ" ดังนั้น เมื่อจำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้แล้ว โจทก์ซึ่งอ้างว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นตามข้ออ้างของตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4515 - 4516/2533
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 456, 1382 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 249 ประมวลกฎหมายที่ดิน ม. 86
ข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาว่า การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของจำเลยไม่ชอบเพราะจำเลยอายุเกิน 70 ปีแล้ว แต่ไม่มีผู้รับรองว่าจำเลยยังมีสติรู้ผิดชอบนั้นเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แม้จำเลยอาจยกขึ้นฎีกาได้เนื่องจากเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าข้อกฎหมายดังกล่าวมิใช่ข้อกฎหมายที่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกามีอำนาจไม่รับวินิจฉัย
บิดาโจทก์ขายห้องแถวพิพาทให้แก่จำเลยตั้งแต่ปี พ.ศ.2487 และจำเลยได้ครอบครองโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแม้การซื้อขายมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 ห้องแถวพิพาทย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยด้วยการครอบครองปรปักษ์แล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 และแม้จำเลยเป็นบุคคลต่างด้าว แต่จำเลยซื้อเฉพาะตัวห้องแถว ไม่มีกฎหมายห้ามบุคคลต่างด้าวเป็นเจ้าของห้องแถว จำเลยย่อมมีสิทธิซื้อห้องแถวดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4513/2533
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420, 438, 991
แม้ธนาคารจำเลยนำเช็คของจำเลยที่ 1 เข้าบัญชีของโจทก์เพื่อเรียกเก็บเงินแล้วไม่แจ้งให้โจทก์ทราบว่าเรียกเก็บเงินไม่ได้ จนเวลาล่วงเลยมาถึง 4 เดือน จึงแจ้งให้โจทก์ทราบก็ตาม แต่ก็ไม่ทำให้โจทก์หมดสิทธิเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีเงินในบัญชีพอจ่ายตามเช็ค ธนาคารจำเลยย่อมไม่อาจหักเงินจากบัญชีของจำเลยที่ 1 มาเข้าบัญชีโจทก์ได้ การที่โจทก์ไม่มีเงินอยู่ในบัญชีพอที่จะชำระดอกเบี้ยให้ธนาคารจำเลยและชำระหนี้เป็นเหตุให้ต้องถูกธนาคารจำเลยเรียกดอกเบี้ยทบต้นและถูกบุคคลซึ่งเป็นคู่ค้ากับโจทก์ริบเงินไปตามสัญญา จึงไม่ใช่ความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงเนื่องมาจากการที่ธนาคารจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบล่าช้า ถือไม่ได้ว่าธนาคารจำเลยทำให้โจทก์เสียหาย ไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2533
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 145, 287, 288
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขัดทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาครั้งหนึ่งแล้ว ศาลพิพากษาว่าจำเลยเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว ผู้ร้องไม่มีกรรมสิทธิ์ คดีถึงที่สุด คำสั่งของศาลดังกล่าวย่อมผูกพันผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ผู้ร้องจะมาร้องขอกันส่วนอ้างว่ามีกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยอีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4461/2533
nan
nan
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2533
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 280, 287, 296, 306
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอกันส่วนทรัพย์ที่ยึดอ้างว่า ทรัพย์เป็นของผู้ร้องและสามี คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์โดยมิได้แจ้งคำสั่งศาลและวันขายทอดตลาดให้ผู้ร้องทราบ ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ต่อมาศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้องในคดีร้องขอกันส่วน ผู้ร้องจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ไม่มีสิทธิร้องคัดค้านการขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4418/2533
nan
nan
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4508/2533
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1057 (3) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 183, 243 (2)
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์และจำเลยโดยอ้างว่ามีเหตุที่ทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไป และในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นก็กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แต่เพียงว่า สัญญาเข้าหุ้นส่วนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เท่านั้น ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์และจำเลยเลิกกันเพราะจำเลยที่ 1 ไม่ดำเนินกิจการของหุ้นส่วนตามที่ตกลงกัน ทำให้กิจการของหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไป จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย กระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4507/2533
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 249, 296 วรรคสอง, 309 วรรคสอง
คำสั่งของศาลที่จะเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 วรรคสอง จะต้องเป็นกรณีที่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรวมหรือแยกทรัพย์สินหรือขอให้ขายทรัพย์สินนั้นตามลำดับที่กำหนดไว้ หรือร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่สั่งให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินตามมาตรา 309(1)(2) หรือ (3) และเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยอมปฏิบัติตามคำร้องขอหรือคำคัดค้านเช่นว่านั้น ผู้ร้องได้ยื่นคำขอต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายใน 2 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิเสธ เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งชี้ขาดในเรื่องนั้น คำสั่งชี้ขาดของศาลจึงจะเป็นที่สุดแต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะต้องดำเนินการชั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อน ให้ยกคำร้อง จึงมิใช่คำสั่งชี้ขาดในเรื่องรวมหรือแยกทรัพย์สินขายทอดตลาด อันจะทำให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุดตามบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อคำสั่งของศาลชั้นต้น มิใช่คำสั่งชี้ขาดในเรื่องให้รวมหรือแยกทรัพย์สินขายทอดตลาด อันจะทำให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบที่จะเลื่อนการขายทอดตลาดไปจนกว่าศาลจะได้มีคำสั่งชี้ขาดในเรื่องนี้ตามมาตรา 309 วรรคสองและจำเลยที่ 1 ก็ได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์แล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมไม่มีอำนาจขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ไปในระหว่างที่ยังไม่มีคำสั่งของศาลในเรื่องให้รวมหรือแยกทรัพย์สินขายทอดตลาดซึ่งเป็นที่สุด การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ไปในขณะที่คดีเรื่องนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เช่นนี้จึงเป็นการกระทำโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดี จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา296 วรรคสอง ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในคำร้องเป็นลายมือปลอมนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4506/2533
nan
nan