คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2533
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4601/2533
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 224 วรรคสอง, 567
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ประเภทหนึ่ง เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย สัญญาย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 567 นอกจากนี้ตามหนังสือบอกกล่าวของทนายโจทก์ถึงจำเลยทั้งสองก็ระบุชัดว่าโจทก์เลิกสัญญา จึงฟังได้ว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระต่อไปแม้ตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 5จะระบุให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าเช่าซื้อจนครบในกรณีที่ทรัพย์สินที่เช่าซื้อถูกโจรภัยก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ต้องชำระค่าเช่าซื้ออีกต่อไปก็ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ตกลงชำระค่าเสียหายเท่ากับค่าเช่าซื้อที่ค้างให้แก่โจทก์ในกรณีนี้ซึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่ศาลมีอำนาจลดหย่อนลงได้หากเห็นว่าค่าเสียหายที่กำหนดไว้นั้นสูงเกินควร เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อไปตามสัญญาข้อ 7 แต่จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องชำระดอกเบี้ยในอัตรารอยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4617/2533
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 226, 227
ผู้ตายเป็นพี่ชายจำเลย หลังเกิดเหตุประมาณ 1 สัปดาห์ จำเลยพูดรับต่อมารดาและพี่ชายอีกคนหนึ่งของจำเลยว่า จำเลยเป็นคนยิงผู้ตาย แม้คำรับของจำเลยจะเป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลยเองก็ตาม แต่จำเลยพูดไปเพราะถูกข่มขู่และพูดไปโดยไม่สมัครใจหรือบริสุทธิ์ใจ ทั้งโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแวดล้อมกรณีมาประกอบพอที่จะชี้ให้เห็นได้ว่าจำเลยเป็นคนฆ่าผู้ตายจริง ย่อมไม่อาจนำคำรับของจำเลยที่เป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลยมาฟังลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4602/2533
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1012
สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ได้ความว่าจำเลยที่ 3 เข้ามารับภาวะในการจัดหาเงินทุนหมุนเวียนวัสดุ และน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่จำเลยที่ 1 โดยไม่มีประโยชน์ตอบแทน เพียงแต่เพื่อให้การก่อสร้างทางสำเร็จลุล่วงไปตามโครงการ จำเลยที่ 1 จะได้มีเงินชำระหนี้จำเลยที่ 3 เท่านั้น เงินและสิทธิประโยชน์ที่เหลือจากการชำระหนี้ จำเลยที่ 3 ต้องคืนแก่จำเลยที่ 1 ทั้งหมดจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 มิได้มีความประสงค์จะแบ่งปันกำไรกัน ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1จำเลยที่ 3 คงเป็นเพียงเจ้าหนี้เท่านั้น จึงไม่ต้องชดใช้ค่าน้ำมันตามฟ้องร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4598 - 4599/2533
nan
nan
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4595/2533
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 823 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 823
จำเลยที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 กระทำการตามฟ้องแทนเทศบาลจำเลยที่ 1 โดยกระทำในฐานะนายกเทศมนตรี จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัวจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคแรก ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 อ้างว่าจะมีผู้สร้างถนนอุทิศให้เทศบาลแล้วสั่งการให้จำเลยที่ 3 สร้างถนนทางเข้าและถนนรอบตัวอาคารโรงฆ่าสัตว์เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก และจำเลยที่ 3 ติดต่อสั่งซื้อวัสดุจากโจทก์และให้โจทก์ว่าจ้างรถเกรด รถไถ รถบดถนนมาใช้ในการก่อสร้างถนนโดยขัดกับระเบียบ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4613/2533
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 224, 444
ค่าเสียความสามารถประกอบการงานของโจทก์เป็นหนี้ค่าเสียหายในอนาคตมีกำหนดจำนวนแน่นอน ซึ่งโจทก์สามารถบังคบเป็นหนี้ค่าเสียหายในอนาคตมีกำหนดจำนวนแน่นอน ซึ่งโจทก์สามารถบังคับได้ในวันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาจึงสมควรคิดดอกเบี้ย ให้นับแต่วันที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับคือนับจากวันที่ศาลชั้นต้นพิพากษามิใช่นับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4605/2533
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ม. 2, 61, 63
การเรียกร้องเอาเงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดของตกค้างนั้นพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 63 ให้สิทธิแก่เจ้าของเท่านั้นที่จะเรียกร้องเอาคืนได้ และตามมาตรา 2 ก็ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ผู้นำของเข้า" ให้หมายความรวมทั้งและใช้ตลอดถึงเจ้าของด้วยดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของสินค้าที่ขายทอดตลาด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดของตกค้างจากจำเลยได้ แม้ว่าโจทก์จะไม่เป็นผู้นำของเข้าหรือผู้รับตราส่งก็ตาม จำเลยขายทอดตลาดของตกค้างเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2529โจทก์ได้มีหนังสือขอคืนเงินที่เหลือเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2529จึงเป็นการเรียกร้องเอาภายในหกเดือนนับแต่วันขายตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 63 เงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดจึงไม่ตกเป็นของแผ่นดินและกำหนดเวลาหกเดือนตามมาตรา 63 นี้มิใช่กำหนดอายุความฟ้องร้องที่เจ้าของจะต้องฟ้องเรียกคืนเงินที่เหลือภายในหกเดือนนับแต่วันที่ขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4079/2533
nan
nan
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4604/2533
ประมวลรัษฎากร ม. 30
คำขอของโจทก์ที่ให้จำเลยทั้งสองคืนเงินค่าภาษีอากรที่ได้ชำระไปแล้วตามหนังสือแจ้งการประเมินนั้น ศาลจะพิพากษาคืนให้โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อการประเมินนั้นได้ถูกเพิกถอนไปแล้วเท่านั้น ตราบใดที่การประเมินของเจ้าพนักงานยังมีผลอยู่โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าอากรตามหนังสือแจ้งการประเมินการที่โจทก์ฟ้องขอให้คืนเงินค่าภาษีอากรที่ชำระไปตามหนังสือแจ้งการประเมินนั้นเป็นคำฟ้องที่ขอให้เพิกถอนการประเมินเป็นเบื้องต้นเพื่อนำไปสู่ผลตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากรและเมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินยังมีผลอยู่ เงินค่าภาษีอากรที่โจทก์ชำระไปตามหนังสือแจ้งการประเมินจึงเป็นการชำระหนี้ภาษีอากรที่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดโจทก์ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะกล่าวอ้างขึ้นเป็นข้อเรียกร้องขอคืนได้ที่จำเลยทั้งสองไม่คืนเงินค่าภาษีอากรให้โจทก์จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4611/2533
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 357
แม้การที่จำเลยที่ 1 ซื้อของกลางไว้ จะเป็นการกระทำในฐานะเป็นผู้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ซึ่งเป็นนิติบุคคล แต่ความผิดฐานรับของโจรมิใช่เป็นความผิดเฉพาะตัวนิติบุคคล จำเลยที่รับของโจรมิใช่เป็นเป็นความผิดเฉพาะตัวนิติบุคคลจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดเป็นส่วนตัวด้วย ความผิดฐานรับของโจทก์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357มิใช่เป็นความผิดเฉพาะกรณีรับทรัพย์ไว้จากคนร้ายซึ่งลักทรัพย์หรือกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่งตามมาตรา 357วรรคแรกโดยตรงเท่านั้น การรับทรัพย์ไว้จากผู้กระทำความผิดฐานรับของโจทก์ หากรับไว้โดยรู้อยู่ว่าทรัพย์ที่ถูกลักมาก็เป็นความผิดฐานรับของโจร