คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2533

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5040

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5040/2533

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 183 วรรคสอง, 197 วรรคสอง, 205

ทนายจำเลยมาศาลภายหลังที่ศาลได้ทำการชี้สองสถานและกำหนดวันเวลานัดสืบพยานโจทก์โดยทนายจำเลยมิได้ตรวจดูรายงานกระบวนพิจารณาเพียงแต่สอบถามวันเวลานัดสืบพยานโจทก์จากเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลย ต้องถือว่าจำเลยทราบกระบวนพิจารณาและวันนัดสืบพยานโจทก์ของศาลแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยจึงขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5038

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5038/2533

พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 ม. 10

คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่าคำร้องของผู้ร้องไม่มีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้นถึงที่สุดแล้วตาม พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526มาตรา 10 ซึ่งบัญญัติว่า "เมื่อศาลอุทธรณ์ได้รับสำนวนการไต่สวนและความเห็นแล้ว ถ้า ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำร้องนั้นมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ให้ศาลอุทธรณ์สั่งรับคำร้องและสั่งให้ศาลชั้นต้นที่รับคำร้องดำเนินการพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ต่อไป แต่ถ้า ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำร้องนั้นไม่มีมูลให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องนั้น…คำสั่งศาลอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้เป็นที่สุด" ดังนั้นคดีของผู้ร้องจึงต้องห้ามฎีกา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5009

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5009/2533

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 91 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ม. 27

การที่จำเลยให้เช่า ให้เช่าซื้อ ขายหรือเสนอขาย เสนอให้เช่าหรือเสนอให้เช่าซื้อภาพยนตร์วีดีโอเทปจำนวนสองเรื่อง โดยรู้อยู่แล้วว่าภาพยนตร์ดังกล่าวทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นและเจ้าของลิขสิทธิ์มิใช่บุคคลคนเดียวกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดในลักษณะอย่างเดียวกัน เจ้าพนักงานจับกุมจำเลยได้พร้อมภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องในวันเวลาเดียวกัน ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดอันเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวแม้โจทก์จะฟ้องเป็นสองกระทงและจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ลงโทษจำเลยสองกระทงไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5044

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5044/2533

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 220 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2532 ม. 13

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. 2490 มาตรา 55,78 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้อง แม้โจทก์ฎีกาในข้อกฎหมายก็ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 13

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5030

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5028 - 5030/2533

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497

โจทก์ขายเสาเข็มให้จำเลยมาหลายปี ในทางปฏิบัติเมื่อคิดบัญชีค่าเสาเข็มแล้ว จำเลยจะสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าประมาณครึ่งเดือนให้แก่โจทก์ และภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสั่งจ่ายในเช็ค ถ้าจำเลยมีเงินสดจำเลยจะนำเงินไปแลกเช็คคืนจากโจทก์แต่คราวใดจำเลยมีเงินในบัญชีพอจ่าย จำเลยจะให้โจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารได้ แสดงว่าการสั่งจ่ายเช็คดังกล่าวทุกครั้งนั้น จำเลยมีเจตนาให้โจทก์นำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารได้เมื่อถึงกำหนดวันสั่งจ่ายในเช็ค ไม่ใช่เป็นเรื่องมอบเช็คให้เป็นหลักฐานหรือประกันหนี้ เมื่อโจทก์นำเช็คพิพาทที่จำเลยสั่งจ่ายให้เนื่องจากการซื้อเสาเข็มไปเรียกเก็บเงินแล้ว ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีไม่พอจ่ายจำเลยจึงมีความผิด

ความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 3 เกิดขึ้นทันทีที่ธนาคารเจ้าของเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อความผิดเกิดขึ้นและโจทก์นำคดีมาฟ้องแล้วคดีจะระงับต่อเมื่อโจทก์ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดย ถูกต้องตามกฎหมาย การชำระหนี้หรือเปลี่ยนตัวลูกหนี้ไม่เป็นเหตุให้คดีระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5034

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5034/2533

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 132, 368, 587

การก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปาจำเลยตามแบบแปลนและสัญญาต้องมีการเจาะสำรวจชั้นดินก่อน การก่อสร้างจะใช้เสาเข็มขนาดไหน จำนวนเท่าใดขึ้นอยู่กับผลการสำรวจ ตามรายการต่อท้ายสัญญาระบุว่า "การก่อสร้างฐานราก ของอาคารใดต้องใช้เสาเข็มชนิดที่สามารถรับน้ำหนักได้ตามกำหนดในแบบแปลน แต่เสาเข็มนั้นเป็นขนาดเล็กหรือจำนวนน้อยกว่าเกณฑ์ที่ผู้ว่าจ้างกำหนดเป็นมาตรฐานราคากลาง ในการนี้ผู้รับจ้างยินยอมให้ผู้ว่าจ้างหักเงินค่าจัดหารวมค่าตอกเข็มของอาคารนั้นออกเท่ากับจำนวนที่คำนวณได้จากสูตรที่กำหนดในเงื่อนไขการหักค่าเข็ม" ข้อสัญญานี้หมายความว่าถ้าผลสำเร็จในคุณภาพของงานที่จำเลยจะได้รับนั้นเท่าเดิมโดยโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายน้อยลงไปในการทำการงานส่วนนี้แล้ว ค่าจ้างจะต้องลดลงตามส่วนโดยคำนวณตามสูตรที่กำหนดไว้ ปรากฏว่าดินในที่ก่อสร้างเป็นดินแข็ง หากใช้เสาเข็มรูปตัวทีตามแบบเดิมเสาเข็มจะหัก โจทก์ต้องใช้เสาเข็มตัน และขนาดใหญ่กว่าแบบเดิม แต่มีจำนวนต้นน้อยกว่าโดยโจทก์จำเลยเห็นชอบแล้ว ทั้งราคาและค่าใช้จ่ายในการตอก เสาเข็มตัน ต่อต้นสูงกว่าเสาเข็มรูปตัวที การเปลี่ยนเสาเข็มดังกล่าวไม่เป็นกรณีทำให้ผลงานของจำเลยลดคุณภาพและทำให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำงานน้อยลงไป กรณีจึงไม่อยู่ในเจตนารมณ์ของข้อสัญญาดังกล่าว สูตรหักค่าเข็มคือ x=y-abel x คือ จำนวนเงินค่าเข็มที่จะหักออก a คือ จำนวนเสาเข็ม b คือ ความยาวเส้นรอบรูป c คือค่าที่กำหนดในตาราง 1 สูตรดังกล่าวต้องอยู่ภายในเงื่อนไข 2 ประการคือ โจทก์ต้องใช้เสาเข็มจำนวนเท่าเดิมและชนิดเดิม แต่ขนาดเล็กกว่าประการหนึ่ง หรือโจทก์ใช้เสาเข็มชนิดและขนาดเท่าเดิม แต่จำนวนต้นน้อยกว่าที่ระบุไว้แต่เดิมในสัญญาอีกประการหนึ่ง กรณีของโจทก์นั้นเสาเข็มที่ใช้เป็นเสาเข็มตัน และขนาดใหญ่กว่า เป็นการแตกต่างกันทั้งชนิดและขนาด เมื่อตอก แล้วจะรับน้ำหนักได้มากกว่าเดิมจากที่กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยจึงไม่อาจจะนำเอาข้อกำหนดในรายการต่อท้ายสัญญาและสูตรหักค่าเข็มมาหักเงินค่าจ้างจากโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5028

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5028/2533

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 350 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 39 (2) พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ม. 3

โจทก์ขายเสาเข็มให้จำเลยมาหลายปี ในทางปฏิบัติเมื่อคิดบัญชีค่าเสาเข็มแล้ว จำเลยจะสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าประมาณครึ่งเดือนให้แก่โจทก์ และภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสั่งจ่ายในเช็ค ถ้าจำเลยมีเงินสดจำเลยจะนำเงินไปแลกเช็คคืนจากโจทก์แต่คราวใดจำเลยมีเงินในบัญชีพอจ่าย จำเลยจะให้โจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารได้ แสดงว่าการสั่งจ่ายเช็คดังกล่าวทุกครั้งนั้น จำเลยมีเจตนาให้โจทก์นำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารได้เมื่อถึงกำหนดวันสั่งจ่ายในเช็ค ไม่ใช่เป็นเรื่องมอบเช็คให้เป็นหลักฐานหรือประกันหนี้ เมื่อโจทก์นำเช็คพิพาทที่จำเลยสั่งจ่ายให้เนื่องจากการซื้อเสาเข็มไปเรียกเก็บเงินแล้ว ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีไม่พอจ่ายจำเลยจึงมีความผิด ความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 3 เกิดขึ้นทันทีที่ธนาคารเจ้าของเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อความผิดเกิดขึ้นและโจทก์นำคดีมาฟ้องแล้วคดีจะระงับต่อเมื่อโจทก์ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดย ถูกต้องตามกฎหมาย การชำระหนี้หรือเปลี่ยนตัวลูกหนี้ไม่เป็นเหตุให้คดีระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2533

พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 10, 12 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 54

ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า เงินเบี้ยเลี้ยงที่โจทก์ได้รับคือเงินประจำตำแหน่ง มิใช่เงินเบี้ยเลี้ยงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง เมื่อจำเลยย้ายโจทก์ไปอยู่แผนกอื่นจึงมีอำนาจตัดไม่จ่ายให้ได้ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าเงินส่วนนี้เป็นเบี้ยเลี้ยงตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบ เพื่อให้เห็นว่าการตัดเบี้ยเลี้ยงของโจทก์เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมาดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5022

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5022/2533

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1711, 1713, 1717 วรรคท้าย, 1718

การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงความเหมาะสมเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกด้วย ถึงแม้ไม่มีผู้คัดค้านคำร้องของผู้ร้อง และผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ก็ตามแต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องไม่มีความสุจริตใจในการรักษาผลประโยชน์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้รับพินัยกรรมของเจ้ามรดก จึงไม่เหมาะสมที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5019

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5018 - 5019/2533

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 46

ศาลทหารกรุงเทพวินิจฉัยคดีส่วนอาญาที่จำเลยถูกฟ้องว่าพยานหลักฐานของโจทก์เท่าที่นำสืบมานั้นทำให้เกิดความสงสัยว่าจำเลยเป็นคนขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุหรือไม่ เห็นควรยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย จึงพิพากษายกฟ้องโดยไม่ได้ชี้ขาดว่าจำเลยเป็นคนขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุหรือไม่ ถ้าหากฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนขับ ก็จะต้องชี้ขาดอีกด้วยว่าจำเลยได้กระทำโดยประมาทหรือไม่ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายฟ้องทางแพ่งเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดจากจำเลย จึงมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบให้ฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุได้.

« »
ติดต่อเราทาง LINE