คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2518

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2328

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326 - 2328/2518

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 158 ประมวลกฎหมายอาญา ม. 177

โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นพยานในคดีที่โจทก์ถูกฟ้องว่ากีดขวางลำบางทางน้ำสาธารณะ ได้เอาความที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นความเท็จมาเบิกความเป็นข้อสำคัญในคดี โดยโจทก์บรรยายคำเบิกความของจำเลยอันมีใจความว่า ลำบางนั้นเป็นทางนำสาธารณะ และว่าความจริงเป็นลำบางหรือคูที่โจทก์ขุดขึ้นในที่ดินของโจทก์ บุคคลทั่วไปมิได้ใช้เรือผ่านไปมาดังนี้ ข้อที่ว่าทางน้ำที่โจทก์ถูกฟ้องว่ากระทำการกีดขวางจะเป็นทางน้ำสาธารณะจริงหรือไม่นั้น ย่อมเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าเป็นข้อสำคัญในคดี ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2318

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2318/2518

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 2 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 212

จำเลยมีปืนลูกซองและกระสุนปืน โดยไม่ได้รับอนุญาตแต่ทำหายเสียก่อน กฎหมายยกเว้นโทษระหว่างฎีกา จึงไม่มีปืนไปขอรับอนุญาต จำเลยไม่ได้รับยกเว้นโทษ

ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืน จำคุก 3 เดือน กับฐานทำร้ายร่างกาย จำคุก 4 ปี รวม 4 ปี 3 เดือนเพิ่มโทษ 1 ใน 3 เป็น 5 ปี 8 เดือน ไม่มีผู้ใดอุทธรณ์ในฐานมีอาวุธปืน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้เพิ่มโทษก่อนลดโทษ ทั้งในฐานทำร้ายร่างกายและฐานมีอาวุธปืนด้วยก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2307

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2307/2518

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 87

ศาลชั้นต้นรับบัญชีระบุพยานโจทก์ภายหลังสืบพยานจำเลยก่อนเสร็จไปแล้ว แต่ไม่เป็นเหตุให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดี ศาลทำได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2518

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1612, 1615, 1617, 1713

การสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะกระทำได้ต่อเมื่อหลังจากที่เจ้ามรดกตายแล้ว และผู้สละเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกนั้นด้วย หากเจ้ามรดกยังไม่ตาย ก็ย่อมจะไม่มีมรดกตกทอดเพื่อให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกสละได้ ดังจะเห็นได้จากการที่มาตรา 1615 บัญญัติให้การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตาย

เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียวเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2501 ต่อมาวันที่ 1 ธันวาคม 2504 ผู้ร้องและเจ้ามรดกได้ทำสัญญากันมีใจความว่า ผู้ร้องไม่ขอเกี่ยวข้องในทรัพย์สินของเจ้ามรดก นอกจากนา 10 ไร่ และยุ้งข้าวครึ่งหนึ่งแล้ว ผู้ร้องยอมสละสิทธิหมดทุกอย่างเท่าที่มีสิทธิจะพึงได้ ต่อมาเจ้ามรดกถึงแก่กรรม ดังนี้สัญญาดังกล่าวมิใช่เป็นการสละมรดก เพราะได้ทำไว้ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม ไม่มีผลกระทบกระเทือนพินัยกรรมของเจ้ามรดกที่ทำไว้ข้างต้น และเมื่อผู้ร้องเป็นผู้เหมาะสม ไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมาย จึงชอบที่จะตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2518

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 127, 135 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 94

ทำสัญญากู้ใหม่รวมดอกเบี้ยที่ค้างมาก่อนรวมเข้าด้วยเป็นดอกเบี้ยเกินอัตรา สัญญากู้นี้เป็นโมฆะเฉพาะดอกเบี้ยศาลให้เสียดอกเบี้ยร้อยละ 7 ครึ่ง ต่อปีในต้นเงินตั้งแต่วันฟ้อง

ขู่ให้ทำสัญญาค้ำประกันโดยกล่าวว่า ถ้าไม่ทำจะฟ้องริบทรัพย์สมบัติให้หมด เป็นการบอกว่าจะใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่ทำให้สัญญา ไม่สมบูรณ์

คำให้การว่าจำเลยลงชื่อในสัญญากู้โดยไม่ทราบจำนวนเงินที่โจทก์กรอกลงเกินจำนวน 5,000 บาท ที่ค้างจริง เป็นการต่อสู้ว่าการกู้และค้ำประกันไม่สมบูรณ์ แม้ในสัญญากู้ระบุว่ารับเงินไป 13,500 บาทจำเลยก็นำสืบหักล้างเอกสารได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2315

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2315/2518

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55, 87 (2), 90, 125 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 537

เดิมจำเลยเป็นผู้เช่าตึกพิพาทจากส. ต่อมาได้ตกลงเลิกสัญญาเช่าต่อกันและมีการทำสัญญาเช่ากันใหม่โดย จ. พี่ชายจำเลยเป็นผู้เช่าจาก ก.เจ้าของที่ดินและตึกพิพาทแต่จำเลยยังคงอยู่ในตึกพิพาทโดยอาศัยสัญญาเช่าระหว่าง จ. กับ ก. โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินและตึกพิพาทจาก ก. ภายหลังที่จำเลยกับ ส.เลิกสัญญาเช่าต่อกันแล้วจำเลยย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เช่าตึกพิพาทดังนี้ โจทก์จึงฟ้องขับไล่จำเลยโดยไม่ฟ้อง จ. ผู้เช่าไม่ได้และจะเรียกค่าเช่าที่ค้างกับค่าเสียหายที่จำเลยไม่ยอมออกจากที่เช่าก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน

จำเลยอ้างเอกสารที่แสดงการยกเลิกเพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับ ส. เป็นพยานหลักฐาน แม้จำเลยจะมิได้ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานนัดแรกไม่น้อยกว่า 3 วันอันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 แต่เมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ทั้งการรับฟังก็ไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบแต่ประการใด เพราะจำเลยได้อ้างก่อนสืบพยานโจทก์ และส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานจำเลย โจทก์ยังมีโอกาสที่จะขออนุญาตต่อศาลสืบหักล้างได้อยู่ดังนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจึงรับฟังเอกสารนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2292

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2292/2518

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 138

คู่ความท้ากันให้ศาลวินิจฉัยว่าเอกสารที่จำเลยจะนำส่งศาลเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือไม่ หากศาลพิจารณาเห็นว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงโจทก์ยอมแพ้ จำเลยส่งเอกสารต่อศาลโจทก์คัดค้านว่าเป็นเอกสารปลอม ศาลพิจารณาเอกสารเหล่านั้นเองได้ว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง และพิพากษายกฟ้องโจทก์ตามคำท้าโดยไม่จำต้องไต่สวนพยานอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2299

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2299/2518

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 192

ฟ้องว่าจำเลยร่วมกันใช้มีดปลายแหลมแทงผู้เสียหายเป็นอันตรายสาหัสโดยเจตนาฆ่า ขอให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80 มิได้บรรยายว่าวิวาทกัน ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกับพวกฝ่ายหนึ่ง และผู้เสียหายกับพวกอีกฝ่ายหนึ่งได้ชุลมุนต่อสู้กัน ไม่ทราบว่าใครแทงผู้เสียหายข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสารสำคัญ ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 299 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2518

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 650, 653 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 91, 99, 130

โจทก์จำเลยท้ากันว่า ให้ศาลส่งลายมือชื่อของจำเลยในสัญญากู้กับลายเซ็นซึ่งจำเลยเซ็นต่อหน้าศาลและในใบแต่งทนายไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ ถ้าผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นลายมือชื่อของจำเลยจริง จำเลยยอมแพ้คดี ถ้าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยโจทก์ยอมแพ้คดี ศาลส่งเอกสารดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจพิสูจน์แล้ว ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่า น่าเชื่อว่าลายมือชื่อในเอกสารเหล่านั้นเป็นของบุคคลคนเดียวกัน ดังนี้ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นการสมตามคำท้าของโจทก์แล้ว จำเลยจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2268

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2268/2518

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 369, 537 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 141 (5), 167, ตาราง 1 ข้อ 2(ก)

ผู้ให้เช่ากำหนดให้ผู้เช่าเทพื้นทางด้านหลัง ทำห้องน้ำห้องส้วมใหม่ และผู้เช่าได้กระทำครบถ้วนตามนั้น ก็เป็นการกระทำเพื่อความสะดวกสบายของผู้เช่าในการใช้ทรัพย์สินที่เช่า ไม่มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษที่จะทำให้ผู้เช่ามีสิทธิยิ่งไปกว่าสัญญาเช่าธรรมดา

จำเลยฎีกาเพียงแต่ขอให้สั่งศาลชั้นต้นสืบพยานแล้วพิพากษาใหม่ ไม่ได้ขอให้พิพากษาให้จำเลยชนะคดี จึงเสียค่าขึ้นศาลเพียง 50 บาท คือส่วนที่เกิน 50 บาทให้จำเลย

« »
ติดต่อเราทาง LINE