เผยแพร่เมื่อ: 2024-03-05

ลาภมิควรได้

เคยไหม? อยู่ดีๆ ก็มีเงินใครไม่รู้โอนเข้าบัญชีมา หรือว่าได้รับพัสดุที่ไม่ได้สั่ง ซึ่งเรียกกันอย่างติดปากว่า “ลาภลอย” เป็นสิ่งที่ใครๆก็อยากได้ แต่ถ้าสิ่งที่ได้มานั้นไม่ใช่ของคุณตั้งแต่แรก ไม่สามารถชี้แจงที่มาของทรัพย์นั้นได้ มันก็อาจจะกลายเป็น “ลาภมิควรได้” ซึ่งทรัพย์นั้นอาจสร้างปัญหาทางกฎหมายให้คุณได้
บทความนี้ Legardy จะพาทุกท่านไปรู้จักกับคำว่าลาภมิควรได้ กันครับ เพื่อให้เข้าใจและรับมือได้อย่างถูกต้อง


Untitled design (23).png

ลาภมิควรได้ คือ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 วางหลักไว้ว่า
บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือผลประโยชน์จากการกระทำของบุคคลอื่นโดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นเหตุให้บุคคลอื่นต้องเสียเปรียบ บุคคลนั้นมีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์สินหรือผลประโยชน์นั้น

การที่บุคคลได้รับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทำให้ผู้อื่นต้องสูญเสียทรัพย์สินหรือผลประโยชน์นั้นไปโดยไม่สมควร


องค์ประกอบของลาภมิควรได้

1.ลาภมิควรได้ ต้องเป็นทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างแท้จริง

ลาภมิควรได้คือการได้รับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่เป็นธรรม ไม่ว่าจะโดยบังเอิญหรือตั้งใจ ซึ่งทำให้คุณร่ำรวยขึ้นหรือมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ๆ โดยที่คุณไม่ควรจะได้รับ

2.ทรัพย์สินที่ได้มานั้น มีที่มาที่ไปทางกฎหมายอย่างไร

เจ้าของทรัพย์นั้นต้องแจ้งที่มาได้ว่า ว่าทรัพย์นั้นมาจากนิติกรรมใด เช่น มาจากการซื้อขาย มาจากการแลกเปลี่ยน หรือว่ามีคนให้เป็นต้น หากไม่สามารถแจ้งที่มาที่ไปในทางกฎหมายได้ จะถือว่าทรัพย์สินนั้น เป็นลาภที่มิควรได้ เช่น ทรัพย์สินที่ได้มาจากการลักทรัพย์ เงินที่ได้มาจากการฟอกเงิน เพราะไม่สามารถระบุที่มาที่ไปของทรัพย์นั้นในทางกฎหมายได้

3.เป็นการทำให้บุคคลหนึ่งนั้นเสียเปรียบ

การที่บุคคลได้รับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์โดยไม่มีที่มา จนส่งผลให้เจ้าของเดิมต้องสูญเสียทรัพย์สินนั้นไปโดยปราศจากเหตุผลทางกฎหมายรองรับ

หากบุคคลใดได้รับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเข้าองค์ประกอบของลาภมิควรได้ บุคคลนั้นมีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ดังกล่าวให้แก่เจ้าของกรรมสิทธิ์ เว้นแต่จะเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ เช่น การชำระหนี้โดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีภาระผูกพัน ซึ่งถือเป็นการชำระหนี้โดยพลการ


ลาภมิควรได้ โอนเงินผิด

หากวันหนึ่งมีเงินโอนเข้ามาที่บัญชีของคุณ แล้วคุณคงคิดว่าเอ๊ะ! เงินใครโอนเข้ามาโชคดีจัง รีบใช้ดีกว่า
ห้ามทำแบบนี้เด็ดขาดนะครับ เพราะเงินที่เข้ามานั้นเป็นลาภมิควรได้ ในทางกฎหมายนั้นลาภมิควรได้คือเงินหรือทรัพย์สินใดที่ไม่สามารถแจ้งที่มาที่ไปได้
อย่างไรก็ตามหากมีเงินโอนเข้ามาโดยที่เรานั้นไม่สามารถทราบที่มาที่ไปของเงินนั้นได้ หรือรู้ว่าเงินนั้นไม่ใช่ของเราเอง ห้ามรีบถอนเงินไปใช้หรือขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อที่จะทำการโอนเงินคืนเจ้าของครับ มิเช่นนั้นอาจจะมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา352 ได้ครับ

ซึ่งมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ดังนั้น หากพบว่ามีเงินโอนเข้าบัญชีโดยไม่ทราบที่มาที่ไป ควรรีบตรวจสอบที่มาของเงินนั้น และหากพบว่าไม่ใช่เงินของตนเอง ควรแจ้งธนาคารเพื่อดำเนินการส่งคืนเจ้าของโดยเร็ว เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดทางกฎหมาย

หากโอนเงินผิดบัญชี ให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

1.รวบรวมหลักฐาน

เก็บหลักฐานการโอนเงิน เช่น สลิปโอนเงิน, ภาพหน้าจอ หรือหลักฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

2.ติดต่อธนาคาร

แจ้งธนาคารต้นทางที่ทำการโอนเงินโดยเร็วที่สุด เพื่อแจ้งปัญหาและขอความช่วยเหลือในการติดต่อบัญชีปลายทางเพื่อขอคืนเงิน

3.รอธนาคารดำเนินการ

ธนาคารจะทำการติดต่อผู้รับโอนเพื่อขอความร่วมมือในการคืนเงิน (ธนาคารไม่สามารถดึงเงินคืนโดยพลการได้)
หากในกรณีที่ผู้รับโอนไม่ยินดีคืนเงิน ก็สามารถแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าของบัญชีปลายทางในข้อหายักยอกทรัพย์ได้ครับ

โอนเงินผิดบัญชี ผู้รับโอนไม่คืนอาจมีความผิด อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ !

 

 


Untitled design (22).png

ลาภมิควรได้ ติดตามเอาทรัพย์คืน

1.ในกรณีที่เป็นตัวเงิน

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 412 กำหนดว่า 
หากได้รับเงินมาโดยไม่สุจริต (รู้ว่าไม่ใช่เงินของตัวเอง) ต้องคืนเงินทั้งหมด แต่หากได้รับเงินมาโดยสุจริต (ไม่รู้ว่าเป็นเงินที่โอนผิด) ก็ต้องคืนเงินเท่าที่ยังเหลืออยู่ ณ ขณะที่ถูกเรียกคืนเท่านั้น

ตัวอย่าง
Aโอนเงิน10,000 บาท ให้B ผิดบัญชี หากB รู้ว่าเงินไม่ใช่ของตัวเอง (รับเงินโดยไม่สุจริต) และนำเงินไปใช้จนหมด Bต้องคืนเงิน 10,000 บาท เต็มจำนวน
แต่ถ้าหากนายB ไม่รู้ว่าเงินไม่ใช่ของตัวเอง (รับเงินโดยสุจริต) และนำเงินไปใช้จนเหลือ 100 บาทBต้องคืนเงิน 100 บาทตามที่เหลืออยู่ครับ

แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นการที่เงินเข้าบัญชีโดยที่เราไม่แน่ใจว่าเป็นเงินของใคร ซึ่งส่วนใหญ่ก็ต้องมีการตรวจสอบอยู่แล้วว่าผู้โอนมานั้นคือใคร ซึ่งการอ้างว่ารับเงินโดยสุจริตนั้นเป็นเหตุผลที่ฟังไม่ค่อยขึ้นเท่าที่ควรครับ

2.ในกรณีที่เป็นทรัพย์

มาตรา 413 กำหนดว่า ถ้าบุคคลได้รับทรัพย์สินอื่นนอกจากเงินมาโดยสุจริต (ไม่รู้ว่าเป็นลาภมิควรได้) ไม่ต้องรับผิดชอบหากทรัพย์สินนั้นเกิดการบุบสลายหรือสูญหาย เมื่อถึงเวลาคืนทรัพย์ก็สามารถส่งคืนในสภาพที่เป็นอยู่ได้เลย

ตัวอย่างเช่น  Aได้รับบ้านของB มาโดยสุจริตโดยไม่ทราบว่าเป็นลาภมิควรได้ ต่อมB ได้ขอบ้านคืน ในระหว่างที่A ได้อยู่อาศัยในบ้านหลังนั้น Aไม่ได้มีการดูแลบ้านเลย ทำให้บ้านเกิดการชำรุดเสียหาย Aสามารถคืนบ้านตามสภาพที่เป็นอยู่ให้B ได้เลยโดยไม่ต้องรับผิดชอบ


การคืนทรัพย์ตามมาตรา 413 ไม่จำเป็นต้องคืนเฉพาะทรัพย์สินที่ได้รับมา หากมีการนำทรัพย์สินนั้นไปขายแล้วได้ทรัพย์สินอื่นมาแทน หรือได้เงินมาแทน ก็ต้องคืนทรัพย์สินหรือเงินนั้นให้แก่เจ้าของเดิม
แต่ถ้าหากไม่สามารถคืนทรัพย์สินได้เนื่องจากได้ทรัพย์นั้นไปขายและได้เงินมาแทน ให้นำมาตรา 412 มาใช้บังคับแทน คือต้องคืนเงินให้แก่เจ้าของเดิม

รวมคำปรึกษาจริงพร้อมคำตอบจากทนายความเรื่อง "ลาภมิควรได้" 

Q: น้องสาวโอนเงินผิดบัญชีแต่เค้าไม่โอนเงินคืนอ้างหมดแล้ว

Q: การโอนเงินผิดบัญชี

Q: โอนเงินผิด แต่อีกฝ่ายนำเงินไปใช้หมดแล้ว


ลาภมิควรได้ ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8680/2554

ในการซื้อขายที่ดิน หากสัญญาระบุขนาดที่ดินที่แน่นอนไว้ นั่นหมายความว่าทั้งผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกันว่าขนาดที่ดินเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าผู้ขายส่งมอบที่ดินน้อยกว่าที่ระบุในสัญญา และผู้ซื้อรับที่ดินนั้นไป ผู้ซื้อก็จ่ายเงินตามขนาดที่ดินที่ได้รับจริงเท่านั้น ส่วนเงินที่จ่ายเกินไป ผู้ขายต้องคืนให้ผู้ซื้อเพราะถือเป็นลาภมิควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2554

แม้โจทก์จะคืนเงินให้นาย อ. โดยการโอนเข้าบัญชี และคืนเงินให้จำเลยโดยการจ่ายเป็นแคชเชียร์เช็ค แต่การกระทำดังกล่าวก็เป็นเพียงวิธีการคืนเงินเท่านั้น ไม่ถือเป็นการฝากเงินหรือฝากทรัพย์
เงินที่นาย อ. และจำเลยนำมาวางไว้กับโจทก์มีวัตถุประสงค์เพื่อค้ำประกันการออกหนังสือค้ำประกันให้บริษัท พ. ไม่ใช่การฝากเงิน ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลย โดยอ้างว่าจำเลยได้รับเงินไปโดยไม่มีสิทธิ์ตามกฎหมาย และทำให้โจทก์เสียเปรียบ กรณีนี้จึงถือเป็นเรื่องลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406


ลาภมิควรได้ กลับคืนสู่ฐานะเดิม

ลาภมิควรได้ กลับคืนสู่ฐานะเดิม หมายถึง การที่บุคคลได้รับทรัพย์สินมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะได้รับ (ลาภมิควรได้) และต้องคืนทรัพย์สินนั้นให้แก่เจ้าของเดิม พร้อมทั้งคืนผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากทรัพย์สินนั้นด้วย เพื่อให้สถานการณ์กลับไปสู่สภาพเดิมก่อนที่จะได้รับทรัพย์สินนั้นมา
โดยผู้ได้รับลาภมิควรได้นั้นต้องคืนทรัพย์สินที่ได้รับมาทั้งหมด ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพไหนก็ตาม 
อีกทั้งยังต้องคืนผลประโยชน์แก่เจ้าของทรัพย์สินนั้นด้วย เช่น ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น หรือผลกำไรต่างๆ


สรุป

ดังนั้นหากอยู่ดีมีทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นที่ดินหรือเงินหรือสิ่งใดก็ตาม หากเราไม่แน่ใจว่าที่มาที่ไปของทรัพย์สินนั้นเป็นมาอย่างไร ก็ไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวนะครับ ไม่งั้นอาจวุ่นวายได้ครับ หากเกิดปัญหาขึ้นแล้วการปรึกษาทนายเพื่อหาทางออก ก็เป็นสิ่งที่ควรทำเช่นกันครับ กดที่ลิงค์นี้ได้เลย

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE