
สรุปความผิดฐานฉ้อโกง ฉบับเข้าใจง่าย!
ความผิดฐานฉ้อโกง เรียกได้ว่าเป็นความผิดพลาดที่สามารถยอมความกันได้ หมายถึงผู้เสียหาย และผู้ที่มีการกระทำความผิด สามารถที่จะเจรจา เพื่อที่จะคืนทรัพย์สิน หรือตกลงชำระค่าเสียหายต่างๆ เพื่อที่จะยุติคดีความ เว้นแต่ว่าความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ที่ผู้เสียหายจะต้องดำเนินการแจ้งความ หรือจะต้องฟ้องคดีภายในระยะเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ทราบเรื่อง และวันที่รู้ตัวผู้กระทำความผิด ไม่ฉะนั้นคดีความของท่าน จะขาดอายุความ
ทำความเข้าใจกับความผิดฐานฉ้อโกง
ตามมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ความผิดฐานฉ้อโกง อยู่ในหมวดใด มีกี่มาตรา ซึ่งแต่ละมาตราจะมีความหมายว่าอย่างไรบ้าง ตามไปดูกันได้
มาตรา ๓๔๑
มาตรา ๓๔๑ สำหรับใครที่ทุจริต หลอกลวง ด้วยการแสดงข้อความที่ไม่เป็นความจริง หรือมีการปกปิดข้อความที่ควรจะบอก ซึ่งถ้าหากทรัพย์สินของผู้ที่ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่ 3 ได้มีการถอนหรือไปทำลายเอกสารสิทธิ์ จะทำให้คนที่กระทำความผิดมีความผิดฐานฉ้อโกง ต้องจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๔๒
มาตรา ๓๔๒ หากมีการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ผู้กระทำ แสดงตนเป็นคนอื่น หรืออาศัยความเบาปัญญาของคนที่ถูกหลอกลวงไม่ว่าจะเป็น เด็ก หรืออาศัยความอ่อนแอทางจิตของผู้ที่ถูกหลอกลวง ผู้ที่กระทำความผิดจะต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๔๓
หากใครที่ได้ทำความผิดมาตรา ๓๔๓ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงข้อความที่เป็นเท็จต่อประชาชน รวมไปถึงการปกปิดความจริง ที่ควรบอกกับประชาชน ผู้กระทำจะต้องมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือโดนปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าหากมีการกระทำความผิดดังกล่าว ในช่วงของวรรคแรก ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวตามมาตรา ๓๔๒ จะทำให้ผู้ที่กระทำความผิดมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนจนถึง 7 ปี และมีโทษปรับตั้งแต่10,000 บาทจนถึง 140,000 บาท
มาตรา ๓๔๔
มาตรา ๓๔๔ ผู้ที่ได้มีการทุจริต เข้าไปหลอกลวงกลุ่มบุคคลจำนวน 10 คนเป็นต้นไป ให้มีการประกอบกิจการงานต่างๆ ให้แก่ตนเอง หรือให้แก่บุคคลที่ 3 โดยไม่มีการให้ค่าแรง หรือค่าจ้างแก่บุคคลดังกล่าว หรือมีการใช้แรงงาน หรือค่าจ้างแก่บุคคลต่ำกว่าที่ได้มีการตกลงกันไว้ ผู้กระทำจะต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๔๕
มาตรา ๓๔๕ สำหรับใครที่ได้มีการสั่งซื้อ หรือได้มีการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม หรือได้เข้าไปอยู่ในโรงแรม ทั้งๆที่รู้ว่าไม่สามารถจ่ายค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม หรือค่าพักอาศัยที่โรงแรมได้ ต้องมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๔๖
มาตรา ๓๔๖ ผู้ใดที่นำทรัพย์สินผู้อื่นไปเป็นของตน หรือของบุคคลที่ 3 ซึ่งใช้การชักจูงผู้ใดผู้หนึ่งให้จำหน่ายแบบเสียเปรียบในด้านทรัพย์สิน อาศัยการชักจูงผู้ที่มีจิตอ่อนแอ หรือเด็กเบาปัญญา ไม่สามารถเข้าใจได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ จนทำให้ผู้ถูกชักจูง จำหน่ายสินค้า ความผิดฐานฉ้อโกง จะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๔๗
มาตรา ๓๔๗ ใครที่ทำให้ตนเอง รวมไปถึงผู้อื่น ได้รับผลประโยชน์จากประกันวินาศภัย เร่งทำให้ทรัพย์สินเสียหาย เพื่อเอาประกันภัย ต้องจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๔๘
มาตรา ๓๔๘ สำหรับความผิดในหมวดนี้ นอกจากมาตรา ๓๔๓ จะเป็นความผิดที่สามารถยอมความได้
ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !
ความผิดฐานฉ้อโกง มีองค์ประกอบใดบ้าง?
ความผิดฐานฉ้อโกง ประกอบไปด้วยองค์ประกอบภายนอก ได้แก่ ผู้ที่หลอกลวงโดยแสดงข้อความที่ไม่เป็นจริง หรือปกปิดความจริงที่ควรแจ้งให้ผู้อื่นทราบ จนทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อ จนส่งผลให้โอนสินทรัพย์ โดยผู้กระทำได้รับสินทรัพย์ไป และองค์ประกอบภายในได้แก่ มีเจตนาธรรมดาตามมาตรา 59 และมีเจตนาพิเศษโดยการทุจริต
เมื่อถูกฉ้อโกง ทำอย่างไรดี?
หากใครกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกฉ้อโกง ต้องรีบเข้ามา ปรึกษาทนายออนไลน์ ของทาง Legardy แหล่งรวมทนายมืออาชีพ รับรองว่าทุกปัญหาของท่านจะต้องได้รับการแก้ไข จากทนายที่มีประสบการณ์ได้อย่างแน่นอน
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



