Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 813 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 813 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 813” คืออะไร? 


“มาตรา 813” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 813 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ตัวแทนผู้ใดตั้งตัวแทนช่วงตามที่ตัวการระบุตัวให้ตั้ง ท่านว่าตัวแทนผู้นั้นจะต้องรับผิดแต่เพียงในกรณีที่ตนได้รู้ว่าตัวแทนช่วงนั้นเป็นผู้ที่ไม่เหมาะแก่การ หรือเป็นผู้ที่ไม่สมควรไว้วางใจแล้วและมิได้แจ้งความนั้นให้ตัวการทราบหรือมิได้เลิกถอนตัวแทนช่วงนั้นเสียเอง “

อ่านคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "ตัวการ ตัวแทน" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 813” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 813 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2536
การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อำนวยการของเจ้าหนี้นำงานพิมพ์ไปให้สหกรณ์กลาโหม จำกัด รับจ้างช่วง โดยไม่ได้จัดทำสัญญาจ้างตามแบบที่กำหนดจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าเป็นตั๋วแลกเงินเต็มจำนวนค่าจ้าง และจ่ายเงินค่าจ้างแต่ละครั้งเกิน 300,000 บาท เป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบว่าด้วยการจ้าง พ.ศ. 2504 และข้อบังคับว่าด้วยการมอบอำนาจและกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการ พ.ศ. 2496 ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำโดยปราศจากอำนาจ และต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้เจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812 เจ้าหนี้จึงขอรับชำระหนี้ส่วนนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้ จำเลยที่ 2 มีอำนาจตั้ง ส. เป็นตัวแทนช่วงให้ดำเนินกิจการจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศได้ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ. 2496 มาตรา 22 และข้อบังคับว่าด้วยการมอบอำนาจและกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการพ.ศ. 2496 ข้อ 7 เมื่อไม่ปรากฏว่า ส. เป็นผู้ไม่เหมาะสมที่จะดำเนินกิจการดังกล่าวแทนเจ้าหนี้ หรือเป็นผู้ไม่สมควรไว้วางใจจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ ในการที่เจ้าหนี้ต้องคืนเงินที่ ส. เรียกรับเอาไปให้แก่ผู้สมัครงาน เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนนี้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 812, ม. 813
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 107
พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ.2496 ม. 6, ม. 7 (4), ม. 21, ม. 22


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2493
กระทรวงพาณิชย์ส่งผ้ามาให้ข้าหลวงประจำจังหวัดเพื่อขายแก่ชาวนา ข้าหลวงประจำจังหวัดมอบให้อำเภอเป็นผู้ขาย นายอำเภอจึงแต่งตั้งปลัดอำเภอ และเจ้าหน้าที่อื่นเป็นกรรมการขายผ้า ดังนี้ เมื่อปลัดอำเภอผู้ได้รับการแต่งตั้งทำผิดหน้าที่จนเกิดการเสียหายขึ้น กระทรวงพาณิชย์ย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากปลัดอำเภอผู้นั้นได้
การขายผ้ามีระเบียบว่า เงินได้จากการขายให้ส่งต่อคณะกรรมการอำเภอรวบรวมส่งคณะกรรมการจังหวัดเป็นการด่วน ถ้าวันใดได้เงินที่ได้รับมีจำนวนถึงหมื่นบาท ให้คณะกรรมการอำเภอรีบส่งเงินแก่จังหวัดเสียคราวหนึ่งก่อนห้ามมิให้เก็บเงินที่ได้จากการขายผ้าไว้ที่อำเภอเกินกว่าจำนวนหมื่นบาท ดังนี้เมื่อปลัดอำเภอขายผ้าได้เงินเกินหมื่นบาท แล้วไม่นำส่งจังหวัด กลับเอาไปเก็บไว้ในเซฟของอำเภอจนมีผู้ร้ายไขเซฟลักเงินจำนวนนี้ไป ต้องถือว่า ปลัดอำเภอผู้นั้นมิได้ปฏิบัติตามระเบียบโดยตรงและต้องรับผิดใช้เงินจำนวนนี้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 420, ม. 797, ม. 812, ม. 813
พ.ร.บ.ว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2476


3. คำสั่งคำร้องที่ 26/2519
อ.ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ แล้วมีอำนาจตั้ง ป.เป็นตัวแทนช่วงฟ้องและดำเนินคดีแทนบริษัทโจทก์ได้ แม้ อ.จะตายในเวลาต่อมา ป. ก็ยังมีอำนาจดำเนินคดีต่อไป
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 813, ม. 826
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที