“มาตรา 802 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 802” คืออะไร?
“มาตรา 802” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 802 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในเหตุฉุกเฉิน เพื่อจะป้องกันมิให้ตัวการต้องเสียหาย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าตัวแทนจะทำการใด ๆ เช่นอย่างวิญญูชนจะพึงกระทำ ก็ย่อมมีอำนาจจะทำได้ทั้งสิ้น “
อ่านคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "ตัวการ ตัวแทน" ได้ที่นี่ คลิกเลย !
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 802” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 802 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2546
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ในคดีนี้ซึ่งเป็นหนี้ค่าจ้างก่อสร้างอาคารโรงเรียนเทคโนโลยี ร. การที่ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอจัดการกิจการโรงเรียนเทคโนโลยี ฉ. แทนจำเลยผู้ไม่อยู่ชั่วคราว จนกว่าจำเลยจะกลับมา และผู้ร้องได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการกิจการของโรงเรียนเทคโนโลยี ฉ. ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่า ผู้ร้องมีอำนาจ จัดการแต่เฉพาะในกิจการของโรงเรียนเทคโนโลยี ฉ. อันเป็นกรณีที่ศาลสั่งให้ทำการอย่างหนึ่งอย่างใดไปพลางก่อนตามที่จำเป็นเพื่อจัดการทรัพย์สินของจำเลยผู้ไม่อยู่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 48 วรรคหนึ่ง หาใช่กรณีที่ศาลตั้งผู้ร้องเป็น ผู้จัดการทรัพย์สินของจำเลยผู้ไม่อยู่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 48 วรรคสอง อันจะทำให้ผู้ร้องมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับ ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปไม่แม้ในเหตุฉุกเฉินผู้ร้องก็ไม่อาจจะก้าวล่วงไปจัดการในกิจการอื่นของจำเลยได้ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีนี้ใหม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 48, ม. 54, ม. 801, ม. 802
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2533
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ จำเลยที่ 1 ถึง แก่กรรมห้างฯ จำเลยที่ 1 ต้อง เลิกกันและจัดให้มีการชำระบัญชี ว.หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดห้างฯ จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจแต่ง ทนายสู้ คดีแทนห้างฯ จำเลยที่ 1 กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่ ว. แต่งตั้ง ทนายสู้ คดีแทนจำเลยที่ 1 ต้อง เพิกถอนเสีย เพราะเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชี การที่จะอ้างเหตุฉุกเฉิน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 802 ต้อง เป็นตัวแทนกันมาก่อน.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 802, ม. 1055, ม. 1080, ม. 1249
ป.วิ.พ. ม. 27
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2533
จำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้ ถึงแก่ความตายไปก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลาย ห้างฯ จำเลยที่ 1 ซึ่ง มีผู้เป็นหุ้นส่วนอยู่สองคนคือจำเลยที่ 2 และ ว. จึงต้อง เลิกกัน เนื่องจากสภาพความเป็นหุ้นส่วนย่อมไม่มีอยู่ต่อไปอีก คงมีอยู่แต่ เฉพาะ ว. ผู้เดียวหากจะดำเนิน กิจการของห้างฯ จำเลยที่ 1 ต่อไปก็เท่ากับดำเนินการในกิจการส่วนตัวของ ว. เท่านั้น เมื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 เลิกกันก็ต้อง จัดให้มีการชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1247 ถึง1273 ว. จึงไม่มีอำนาจตั้ง ตนเองเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 และแต่งทนายเข้ามาสู้ คดีแทนจำเลยที่ 1 ได้ เพราะเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชีตาม มาตรา 1259(1) และกรณีดังกล่าวก็ไม่ต้องด้วยป.พ.พ. มาตรา 802 เนื่องจาก ว. มิได้เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 มาก่อน ว. จึงไม่มีอำนาจเข้าดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1เพราะเหตุฉุกเฉิน ได้ ดังนี้ ศาลชอบที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนับแต่ ว. แต่งทนายเข้ามาสู้ คดีแทนจำเลยที่ 1เสียทั้งหมด.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 802, ม. 1055, ม. 1077, ม. 1080, ม. 1259 (1)
ป.วิ.พ. ม. 27