Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 38 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 38 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 38” คืออะไร? 


“มาตรา 38” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 38 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าบุคคลธรรมดามีถิ่นที่อยู่หลายแห่งซึ่งอยู่สับเปลี่ยนกันไปหรือมีหลักแหล่งที่ทำการงานเป็นปกติหลายแห่ง ให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น “

อ่านคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "เสรีภาพ" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

อ่านคำบทความเพิ่มเติมเรื่อง "สิทธิและเสรีภาพ" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 38” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 38 ” ในประเทศไทย 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2564
กรณีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า มีเหตุให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้จัดส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่จำเลยตามภูมิลำเนาเฉพาะการที่จำเลยได้แถลงไว้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้จำเลยไม่ทราบและไม่ได้มีโอกาสเข้าสู้ราคาหรือหาบุคคลอื่นเข้าสู้ราคาหรือไม่นั้น เห็นว่า จำเลยได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งขอเปลี่ยนที่อยู่จัดส่งเอกสารต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีคำสั่งคำร้องว่า “ทราบ รวม จำเลยทราบประกาศขายในวันนี้แล้ว” เมื่อประกาศขายทอดตลาดใหม่ เจ้าพนักงานบังคับคดีจำต้องส่งประกาศขายทอดตลาดแก่จำเลยที่ที่อยู่ตามที่จำเลยแจ้งภูมิลำเนาเฉพาะการไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 42 แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้จัดส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่จำเลยตามภูมิลำเนาเฉพาะการที่จำเลยแจ้งไว้ กลับจัดส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่จำเลยที่ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจถือได้ว่าจำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง ถือมิได้ว่ามีการจัดส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่จำเลยแล้ว การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ครั้งนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 38, ม. 42


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2564
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยโดยระบุว่าจำเลยตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านเลขที่ 436 ถนนภูเก็ต ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต และตามข้อมูลทะเบียนราษฎรก็ระบุว่าจำเลยมีที่อยู่ที่บ้านเลขที่ดังกล่าว ประกอบกับในชั้นพิจารณา เมื่อจำเลยอ้างตนเองเป็นพยานต่อศาลก็ได้ระบุที่อยู่ดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยเช่นเดียวกัน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยแจ้งย้ายที่อยู่ใหม่แต่อย่างใด กรณีถือว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นถิ่นที่อยู่ของจำเลย แม้จำเลยจะอ้างว่าจำเลยพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 29/31 หมู่ที่ 4 ตำบลฉลอง อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ก็ตาม หากเป็นความจริงก็ต้องถือว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หลายแห่ง ดังนั้น บ้านเลขที่ 436 ย่อมเป็นภูมิลำเนาของจำเลยด้วยแห่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 38
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 38
ป.วิ.พ. ม. 74 (2)


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2550
พระภิกษุ พ. มีถิ่นที่อยู่ 2 แห่ง คือที่วัดหัวป่าและวัดผู้คัดค้าน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 38 ให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น จึงต้องถือว่าวัดหัวป่าเป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุเพิ่มแห่งหนึ่งด้วย ผู้ร้องในฐานะเป็นพนักงานอัยการย่อมมีสิทธิร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 จัตวา วรรคหนึ่ง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 38
ป.วิ.พ. ม. 4 จัตวา
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที