Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 183 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 183 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 183” คืออะไร? 


“มาตรา 183” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 183 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ นิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับก่อน นิติกรรมนั้นย่อมเป็นผลต่อเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว
              นิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับหลัง นิติกรรมนั้นย่อมสิ้นผลในเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว
              ถ้าคู่กรณีแห่งนิติกรรมได้แสดงเจตนาไว้ด้วยกันว่า ความสำเร็จแห่งเงื่อนไขนั้นให้มีผลย้อนหลังไปถึงเวลาใดเวลาหนึ่งก่อนสำเร็จ ก็ให้เป็นไปตามเจตนาเช่นนั้น “

อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง "นิติกรรม" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

ค้นหาคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "นิติกรรม" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 183” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 183 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8691/2553
โจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามีความเข้าใจตรงกันและมีเจตนาที่แท้จริงในการทำสัญญาซื้อขายระหว่างกันว่า ถ้าการไฟฟ้านครหลวงไม่อนุมัติให้ใช้สินค้าของโจทก์ใบสั่งซื้อสินค้าเป็นอันยกเลิก มิได้หมายความถึงว่าต้องให้การไฟฟ้านครหลวงยกเลิกสัญญารับเหมาก่อสร้างกับบริษัท ย. ก่อน จึงจะถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าเป็นอันยกเลิกดังที่โจทก์กล่าวอ้างแต่อย่างใด การที่ข้อตกลงในการซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยมีว่าหากการไฟฟ้านครหลวงไม่อนุมัติให้ใช้ท่อร้อยสายไฟฟ้าที่เป็นสินค้าของโจทก์ให้ถือว่าใบสั่งสินค้าเป็นอันยกเลิกนั้น ถือเป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับหลัง เมื่อต่อมาการไฟฟ้านครหลวงไม่อนุมัติให้ใช้สินค้าของโจทก์ นิติกรรมการซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมสิ้นผลในเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จตาม ป.พ.พ. มาตรา 183 วรรคสอง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 183 วรรคสอง


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2552
ตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลย คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีเจตนาที่จะซื้อขายที่ดินพิพาทก็ต่อเมื่อที่ดินพิพาทได้มีการยกเลิกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4 - 01 และได้ออกเอกสารสิทธิเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินแล้ว หาใช่มีเจตนาตกลงซื้อขายที่ดินที่มีเอกสารสิทธิเป็น ส.ป.ก. 4 - 01 ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนและห้ามมิให้ทำการซื้อขาย อันจะทำให้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่ ส่วนที่ดินพิพาทจะสามารถดำเนินการยกเลิกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4 - 01 และออกเอกสารสิทธิเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินได้จริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องและระบุไว้ในสัญญาหรือไม่ จำเป็นต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความให้เสร็จสิ้นกระแสความเสียก่อนที่จะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นด่วนพิพากษายกฟ้องโจทก์ในชั้นตรวจคำฟ้องนั้น จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยการพิจารณา
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 150, ม. 183 วรรคหนึ่ง
ป.วิ.พ. ม. 27


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2546
สัญญาจ้างว่าความระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับเจ้าหนี้ทั้งสองได้กำหนดข้อตกลงเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษโดยให้เป็นผลต่อเมื่อมีการถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายที่ลูกหนี้ที่ 1 เป็นโจทก์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนและย่อมเป็นผลต่อเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว ทั้งในระหว่างที่เงื่อนไขยังไม่สำเร็จ คู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะต้องงดเว้นไม่กระทำการให้เป็นที่เสื่อมเสียประโยชน์แก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งจะพึงได้จากความสำเร็จแห่งเงื่อนไขนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 182,183 และ 184ลูกหนี้ที่ 1 จึงต้องผูกพันตามข้อตกลงดังกล่าว ทั้งมูลหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 ได้ก่อขึ้นแก่เจ้าหนี้ทั้งสองนั้นเกิดก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดย่อมถือได้ว่าสิทธิของเจ้าหนี้ทั้งสองตามข้อตกลงย่อมมีอยู่แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เพียงแต่เจ้าหนี้ทั้งสองจะเรียกร้องให้ลูกหนี้ที่ 1 จ่ายค่าตอบแทนพิเศษสำหรับการว่าความดังกล่าวได้ต่อเมื่อลูกหนี้ที่ 1 ได้ถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายแล้ว แต่เนื่องจากขณะที่เจ้าหนี้ทั้งสองขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ ยังไม่มีการถอนคำขอรับชำระหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 ในคดีดังกล่าว และไม่แน่ว่าจะมีการขอถอนคำขอรับชำระหนี้นั้นหรือไม่ เจ้าหนี้ทั้งสองจึงยังไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้ลูกหนี้ที่ 1 จ่ายค่าตอบแทนพิเศษนั้นได้ทันที แต่ถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นหนี้มีเงื่อนไขและเงื่อนไขยังไม่สำเร็จ เจ้าหนี้ทั้งสองจึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ค่าตอบแทนพิเศษสำหรับการว่าความเพียงจำนวน 2,500,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่ระบุในสัญญาจ้างว่าความจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 182, ม. 183, ม. 184
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 130 เดิ (8)
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที