Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 177 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 177 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 177” คืออะไร? 


“มาตรา 177” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 177 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าบุคคลผู้มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมตามมาตรา 175 ผู้หนึ่งผู้ใด ได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรม ให้ถือว่าการนั้นเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก แต่ทั้งนี้ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอก “

อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง "โมฆียะ" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

ค้นหาคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "โมฆียะ" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 177” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 177 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5520/2564
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 175 โมฆียะกรรมในนิติกรรมที่เกิดจากความบกพร่องในความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์ ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ การแสดงเจตนาเพราะสำคัญผิดถูกฉ้อฉลหรือถูกข่มขู่ รวมถึงบุคคลวิกลจริต และบัญญัติให้มีสิทธิบอกล้างได้ และตามมาตรา 177 ยังบัญญัติว่าอาจให้สัตยาบันเพื่อให้เป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ตั้งแต่เริ่มแรกได้ จึงชี้ชัดว่าโมฆียะกรรมไม่ใช่บทบังคับให้นิติกรรมเสียไปเลยเป็นโมฆะกรรม แต่ขึ้นอยู่กับคู่สัญญาที่แสดงเจตนาทราบเหตุแห่งโมฆียะกรรมแล้วยังคงประสงค์ที่จะให้นิติกรรมดังกล่าวนั้นมีผลบังคับหรือไม่ บทบัญญัติเกี่ยวกับการบอกล้างโมฆียะกรรมจึงไม่ใช่บทบัญญัติเคร่งครัดและเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญาจึงสามารถตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการบอกล้างโมฆียะกรรมโดยแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคสอง ได้ กรณีที่สมาชิกผู้เอาประกันไม่เปิดเผยความจริงหรือแถลงข้อความเท็จ บริษัทจะบอกล้างสัญญาภายในหนึ่งปีนับแต่วันทำสัญญา ทั้งตามเอกสารหมาย ล.6 ส่วนที่ 3 ข้อกำหนดทั่วไปข้อที่ 2 ระบุว่าบริษัทจะไม่โต้แย้งหรือคัดค้านความไม่สมบูรณ์ของสัญญาประกันภัยที่มีผลบังคับมาเป็นเวลา 1 ปี นับแต่วันที่กรมธรรม์มีผลบังคับ สัญญาจึงมีผลผูกพันผู้ตายกับจำเลย จำเลยไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกล้างเกินกว่าระยะเวลาดังกล่าว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 175, ม. 177, ม. 865 วรรคสอง


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8131/2554
ข้อต่อสู้ในคำให้การ จำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นลูกจ้างซึ่งปฏิบัติหน้าที่ไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงรับเงินจากจำเลยที่ 2 เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 แล้ว มูลคดีนี้จึงเป็นอันระงับ เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับหรือปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์จริงหรือไม่ เพราะหากจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 ก็ไม่จำต้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ หากโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 2 จริง ก็เท่ากับจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 และกระทำละเมิดในทางการที่จ้างดังฟ้อง จึงเป็นคำให้การที่ไม่อาจให้รวมกันมาได้เพราะขัดแย้งกันเอง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทกับจำเลยที่ 2 แล้วหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาททั้งสองดังกล่าวจึงไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 177 วรรคสอง, ม. 249 วรรคหนึ่ง


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8907/2543
จำเลยให้การว่าจำเลยครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งมีชื่อ ว.เป็นเจ้าของโดยสงบเปิดเผยมีเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 23 ปี ว. กับโจทก์สมคบกันฉ้อฉลจำเลยด้วยการจดทะเบียนโอนขายที่ดินและบ้านพิพาทโดยไม่สุจริตและไม่เสียค่าตอบแทนทำให้จำเลยซึ่งมีสิทธิที่จะบังคับให้ ว. ไปดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านพิพาทได้ก่อนโจทก์ต้องเสียเปรียบ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทหรือไม่ เป็นการกำหนดตามคำให้การว่าจำเลยครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หรือไม่ การที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์จากเจ้าของเดิมนับแต่ปี 2516 จำเลยแสดงความเป็นเจ้าของอย่างสมบูรณ์ด้วยการจดทะเบียนจำนองที่ดินและบ้านพิพาทต่อธนาคารตลอดจนนำบ้านพิพาทออกให้บุคคลอื่นเช่าและรับค่าเช่าเรื่อยมา แตกต่างไปจากที่ได้กล่าวไว้ในคำให้การ จึงอยู่นอกประเด็นข้อพิพาท
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 177, ม. 225
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที