Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 158 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 158 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 158” คืออะไร? 


“มาตรา 158” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 158 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ความสำคัญผิดตามมาตรา 156 หรือมาตรา 157 ซึ่งเกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของบุคคลผู้แสดงเจตนา บุคคลนั้นจะถือเอาความสำคัญผิดนั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนไม่ได้ “

อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง "นิติกรรม" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

ค้นหาคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "นิติกรรม" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 158” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 158 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4906/2558
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยปกปิดข้อความจริงหรือนิ่งเสียไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ และเป็นกลฉ้อฉลลวงโจทก์เพื่อการลงทุนถึงขนาดทำให้โจทก์เข้าใจผิดในคุณสมบัติของที่ดินที่จะซื้อขายและถือว่าเป็นสาระสำคัญ หากโจทก์ทราบความจริงจะไม่ทำสัญญาจะซื้อจะขาย เพราะโจทก์ไม่สามารถที่จะดำเนินการขออนุญาตจัดสรรจัดจำหน่ายและทำกำไรตามวัตถุประสงค์ ซึ่งพอแปลได้ว่าโจทก์ถูกกลฉ้อฉลและสำคัญผิดในคุณสมบัติของที่ดินที่จะซื้อจะขายว่าสามารถดำเนินการขออนุญาตจัดสรรได้ ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในส่วนนี้เพียงว่า สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเกิดจากกลฉ้อฉลไม่ผูกพันโจทก์ และจำเลยต้องรับผิดชำระเงินคืนโจทก์หรือไม่ โดยวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้ฉ้อฉลโจทก์ แล้ววินิจฉัยเพิ่มเติมไปว่า โจทก์ทำสัญญากับจำเลยโดยสำคัญผิดว่าสามารถนำที่ดินไปขออนุญาตจัดสรรได้ สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นสัญญาที่โจทก์สำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินที่จะซื้อจะขายซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญจึงตกเป็นโมฆียะนั้น จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ไม่สนใจที่จะตรวจสอบที่ดินที่จะซื้อจะขายว่า มีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการหรือไม่ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลย ประกอบกับจำเลยก็ได้ให้คำเตือนให้โจทก์ต้องตรวจสอบแล้ว แต่โจทก์กลับไม่นำพา จึงเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ โจทก์จะถือเอาความสำคัญผิดในคุณสมบัติของที่ดินที่จะซื้อจะขายนั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 158 สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวยังคงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลย ไม่ตกเป็นโมฆียะ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 142
ป.พ.พ. ม. 158


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7058/2543
ผู้ซื้อทรัพย์มีความประสงค์จะประมูลซื้อทรัพย์จำนองจริง และเป็น ผู้ประมูลซื้อทรัพย์จำนองรายนี้ได้ในราคาสูงสุด แต่มีการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์จำนองหลายรายการทำให้ผู้ซื้อทรัพย์สับสนโดยนำราคาที่จะต้องเข้าประมูลในคดีอื่นมาประมูลซื้อในคดีนี้ จึงเป็นกรณีที่ผู้ซื้อทรัพย์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในราคาอันเป็นคุณสมบัติของทรัพย์ แต่ความสำคัญผิดของผู้ซื้อทรัพย์เกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการแสดงเจตนาเข้าประมูลซื้อทรัพย์โดยไม่ตรวจสอบราคาให้ถูกต้อง ผู้ซื้อทรัพย์จะถือเอาความสำคัญผิดนั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนไม่ได้ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158 จึงไม่มีเหตุที่จะยกเลิก การขายทอดตลาด
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 158
ป.วิ.พ. ม. 296 วรรคสองเดิม


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7058/2543
ผู้ซื้อทรัพย์มีความประสงค์จะประมูลซื้อทรัพย์จำนองจริง และเป็นผู้ประมูลซื้อทรัพย์จำนองรายนี้ได้ในราคาสูงสุด แต่มีการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์จำนองหลายรายการทำให้ผู้ซื้อทรัพย์สับสนโดยนำราคาที่จะต้องเข้าประมูลในคดีอื่นมาประมูลซื้อในคดีนี้ จึงเป็นกรณีที่ผู้ซื้อทรัพย์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในราคาอันเป็นคุณสมบัติของทรัพย์ แต่ความสำคัญผิดของผู้ซื้อทรัพย์เกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการแสดงเจตนาเข้าประมูลซื้อทรัพย์โดยไม่ตรวจสอบราคาให้ถูกต้อง ผู้ซื้อทรัพย์จะถือเอาความสำคัญผิดนั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนไม่ได้ทั้งนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 158 จึงไม่มีเหตุที่จะยกเลิกการขายทอดตลาด
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 158
ป.วิ.พ. ม. 296 วรรคสอง
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที