Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1167 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1167 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1167” คืออะไร? 


“มาตรา 1167” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1167 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัทและบุคคลภายนอกนั้น ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยตัวแทน

อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง "ตัวแทน" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

ค้นหาคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "ตัวแทน" ได้ที่นี่ คลิกเลย !


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1167” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1167 ” ในประเทศไทย

 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2561/2563
การปรับข้อเท็จจริงตามฟ้องว่าจะเข้าลักษณะมูลหนี้สัญญาหรือมูลหนี้ละเมิดนั้น เป็นข้อหารือบทซึ่งเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายเอง โดยโจทก์ต้องบรรยายข้อเท็จจริงที่จำเลยได้กระทำ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิก็เพียงพอแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 บัญญัติให้ความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัทและบุคคลภายนอกนั้น ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ดังนั้น หากกรรมการของบริษัทกระทำการในขอบอำนาจของบริษัท การกระทำของกรรมการย่อมผูกพันบริษัทซึ่งเป็นตัวการ กรรมการไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเป็นส่วนตัว แต่อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงได้ความว่า พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 3 ในการทำธุรกรรมทางการเงินส่อไปในทางไม่โปร่งใส โดยมุ่งประสงค์ให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดแต่เพียงผู้เดียว ย่อมทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่สุจริต จำเลยที่ 2 จึงหาหลุดพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 แต่อย่างใดไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1167
ป.วิ.พ. ม. 172


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9191/2560
เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าเงินพิพาทเป็นเงินที่ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นตามจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนถือหุ้นของโจทก์ที่ 1 เงินพิพาทจึงถือเป็นเงินทุนของโจทก์ที่ 1 มิใช่เงินส่วนตัวของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 41 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น เมื่อโจทก์ที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด แล้ว การจัดการบริษัท ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับผู้ถือหุ้นและกรรมการ ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 22 หมวด 4 ว่าด้วยบริษัทจำกัด
เมื่อโจทก์ที่ 1 ใช้สิทธิฟ้องร้องจำเลยในฐานะกรรมการที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท โดยให้จำเลยปิดบัญชีหรือร่วมกันกับผู้มีอำนาจอื่นปิดบัญชีเงินฝากธนาคารและส่งมอบแคชเชียร์เช็คพร้อมส่งมอบ
เงินพิพาทหรือชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 แล้ว โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 41 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น จึงไม่ใช่บุคคลที่ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และมิใช่กรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้องร้อง อันจะเป็นเหตุให้ผู้ถือหุ้นต้องฟ้องแทน
หรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 41 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1167, ม. 1169 วรรคหนึ่ง
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 142 (5)


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8565 - 8566/2558
แม้จำเลยที่ 6 จะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด แต่เมื่อจำเลยที่ 6 มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการจัดระบบแสง สี เสียง ภาพ ประกอบการแสดง เวทีการแสดงต่าง ๆ การที่จำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 6 รับจ้างติดตั้งดอกไม้เพลิงในการทำฉากเอฟเฟกต์ในร้านเกิดเหตุตามขอบแห่งวัตถุประสงค์ ย่อมต้องถือว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 6 เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 7 เป็นความผิดอาญา แม้จะเป็นการกระทำโดยประมาท จำเลยที่ 6 ก็ต้องรับโทษทางอาญาด้วยเช่นกัน
จำเลยที่ 1 แก้ฎีกาว่า โจทก์บรรยายฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 1 ขัดแย้งกัน เป็นไปไม่ได้เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 จึงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามคำแก้ฎีกาของจำเลยที่ 1 ว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 1 ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 หรือไม่
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า บริษัท ว. เป็นนิติบุคคล มี ส. เป็นกรรมการผู้แทนนิติบุคคลตามกฎหมาย และมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้บริหารดำเนินกิจการตามความเป็นจริง เท่ากับโจทก์ยืนยันว่าบริษัทได้เชิด ส. ออกแสดงเป็นผู้แทนของตน แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้มีชื่อเป็นผู้แทนตามหนังสือรับรองแต่ก็เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโดยผ่านทาง ส. นั่นเอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 ที่กำหนดให้ความเกี่ยวพันในระหว่างกรรมการและบริษัทและบุคคลภายนอกนั้น ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวแทน คำฟ้องโจทก์จึงไม่ขัดแย้งกันหรือเป็นไปไม่ได้ดังคำแก้ฎีกาของจำเลยที่ 1 หากแต่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.อ. ม. 158, ม. 216
ป.อ. ม. 59, ม. 83
ป.พ.พ. ม. 68, ม. 72, ม. 806, ม. 1167
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที