Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1078 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1078 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1078” คืออะไร? 


“มาตรา 1078” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1078 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น ท่านบังคับว่าต้องจดทะเบียน
              การลงทะเบียนนั้น ต้องมีรายการดังต่อไปนี้ คือ
              (๑) ชื่อห้างหุ้นส่วน
              (๒) ข้อแถลงความว่าเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด และวัตถุที่ประสงค์ของห้างหุ้นส่วนนั้น
              (๓) ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขาทั้งปวง
              (๔) ชื่อ ยี่ห้อ สำนัก และอาชีวะของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด และจำนวนเงินซึ่งเขาเหล่านั้นได้ลงหุ้นด้วยในห้างหุ้นส่วน
              (๕) ชื่อ ยี่ห้อ สำนัก และอาชีวะของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด
              (๖) ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ
              (๗) ถ้ามีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการอันจะผูกพันห้างหุ้นส่วนนั้นประการใดให้ลงไว้ด้วย
              ข้อความซึ่งลงทะเบียนนั้น จะลงรายการอื่น ๆ อีกอันคู่สัญญาเห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบด้วยก็ได้
              การลงทะเบียนนั้น ต้องลงลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน และต้องประทับตราของห้างหุ้นส่วนนั้นด้วย
              ให้พนักงานทะเบียนทำใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนส่งมอบให้แก่ห้างหุ้นส่วนนั้นฉบับหนึ่ง

              มาตรา ๑๐๗๘/๑๑  หุ้นส่วนผู้จัดการคนใดจะลาออกจากตำแหน่ง ให้ยื่นใบลาออกต่อหุ้นส่วนผู้จัดการคนหนึ่งคนใด การลาออกมีผลนับแต่วันที่ใบลาออกไปถึงหุ้นส่วนผู้จัดการอื่นนั้น
              ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียว ให้หุ้นส่วนผู้จัดการที่จะลาออกจากตำแหน่งแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดทราบเพื่อนัดประชุมและพิจารณาตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการคนใหม่ พร้อมกับแนบใบลาออกไปด้วย การลาออกมีผลนับแต่วันที่ใบลาออกไปถึงหุ้นส่วนผู้นั้น
              หุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งลาออกตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง จะแจ้งการลาออกของตนให้นายทะเบียนทราบด้วยก็ได้
              มาตรา ๑๐๗๘/๒๒  เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการ ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดนำความไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง “

อ่านคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "จดทะเบียนบริษัท" ได้ที่นี่ คลิกเลย !
 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1078” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1078 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6068/2557
พฤติการณ์ที่โจทก์ จำเลยที่ 2 และ พ. ร่วมกันยื่นคำร้องขอจดทะเบียนตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ถือว่าบุคคลดังกล่าวยอมผูกพันกันตามกฎหมายเพื่อทำกิจการร่วมกันด้วยจะประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำในฐานะผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 แล้ว ต่างจากที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเป็นหุ้นส่วนโดยไม่จดทะเบียนซึ่งต้องพิจารณาด้วยว่าการตกลงนั้นมีลักษณะเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนหรือไม่
การแบ่งเงินปันผลกำไรให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1084 ส่วนจะมีการแบ่งกันเมื่อใด อย่างไร ย่อมเป็นไปตามสัญญาห้างหุ้นส่วน หากสัญญาห้างหุ้นส่วนไม่กำหนดไว้ก็ย่อมเป็นไปตามที่หุ้นส่วนผู้จัดการผู้มีอำนาจเห็นสมควร และถ้าหากผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงกันไม่ได้ในเรื่องการจ่ายเงินปันผลและมีเหตุให้เลิกห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นอาจร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีต่อไป
เงินส่วนกำไรของห้างหุ้นส่วนจะยังไม่เป็นเงินปันผลจนกว่าจะมีการตกลงให้จ่ายเงินกำไรนั้นเป็นเงินปันผล
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1012, ม. 1078, ม. 1084


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2541
เมื่อข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างในฎีกาเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องไม่ตรงกับที่จำเลยได้ให้การไว้จึงมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลล่างทั้งสองจำเลยยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ แม้โจทก์จะมิได้ระบุในฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2รับว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และอ้างว่ากระทำแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดและคดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ เพียงใด เช่นนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ หยิบยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1087มาวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1077 จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากคำให้การของจำเลยมาวินิจฉัยตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็น บทบังคับเด็ดขาดว่าหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด เพื่อวินิจฉัย ถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ย่อมไม่เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงนอกประเด็น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 87, ม. 1078, ม. 1087
ป.วิ.พ. ม. 183, ม. 249


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2541
เมื่อข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างในฎีกาเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องไม่ตรงกับที่จำเลยได้ให้การไว้ จึงมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จำเลยยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ.มาตรา249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
แม้โจทก์จะมิได้ระบุในฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 รับว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และอ้างว่ากระทำแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด และคดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ เพียงใดเช่นนี้ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยก ป.พ.พ.มาตรา 1087 มาวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1077 จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากคำให้การของจำเลยมาวินิจฉัยตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นบทบังคับเด็ดขาดว่าหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด เพื่อวินิจฉัยถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ ย่อมไม่เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงนอกประเด็น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 87, ม. 1078, ม. 1087
ป.วิ.พ. ม. 183, ม. 249
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที