“มาตรา 1060 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1060” คืออะไร?
“มาตรา 1060” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1060 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งกล่าวไว้ในมาตรา 1055 อนุมาตรา 4 หรืออนุมาตรา 5 นั้น ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่รับซื้อหุ้นของผู้ที่ออกจากหุ้นส่วนไปไซร้ ท่านว่าสัญญาหุ้นส่วนนั้นก็ยังคงใช้ได้ต่อไปในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่ด้วยกัน “
ค้นหาคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "หุ้น ได้ที่นี่ คลิกเลย !
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1060” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1060 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10525/2558
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1055 (5) ประกอบมาตรา 1080 ห้างหุ้นส่วนจำกัดย่อมเลิกกันเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย เมื่อ อ. หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ถึงแก่ความตายลงย่อมเป็นเหตุให้ห้างดังกล่าวเลิกกัน อันเป็นไปตามผลของกฎหมาย โดยมิจำต้องพิจารณาว่ามีข้อขัดแย้งกันระหว่างทายาทผู้เป็นหุ้นส่วนที่ถึงแก่ความตายกับหุ้นส่วนที่เหลือหรือไม่ และแม้มาตรา 1060 จะบัญญัติว่าในกรณีห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกันเพราะเหตุตามมาตรา 1055 (4) หรือ (5) ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่รับซื้อหุ้นของผู้ที่ออกจากหุ้นส่วนไป สัญญาหุ้นส่วนนั้นก็ยังคงใช้ได้ต่อไปในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังคงอยู่ด้วยกัน แต่ก็ได้ความว่าหุ้นของ อ. ยังไม่มีการดำเนินการโอนไปยังทายาทหรือหุ้นส่วนอื่นแต่อย่างใด เหตุที่ทายาทยังไม่อาจรับโอนหุ้นของ อ. และห้างไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้เพราะค้างชำระค่าภาษีนั้นก็มิใช่เหตุอันจะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ห้างยังคงอยู่ต่อไป
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกันย่อมต้องมีการชำระบัญชีเพื่อประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วน ตลอดจนเจ้าหนี้ รวมทั้งบรรดาผู้ติดต่อค้าขายกับห้างหุ้นส่วนภายหลังจากห้างหุ้นส่วนจำกัดพ้นสภาพนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยผู้ชำระบัญชีจะเป็นผู้ชำระสะสางการงานของห้างหุ้นส่วน จัดการใช้หนี้ และแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนนั้น โดยมาตรา 1249 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ถือว่าห้างหุ้นส่วนนั้นยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี และเมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันเพราะเหตุอื่นนอกจากล้มละลาย หุ้นส่วนผู้จัดการห้างย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชี เว้นไว้แต่สัญญาของห้างจะมีกำหนดไว้เป็นสถานอื่น แต่ถ้าไม่มีผู้ชำระบัญชีดังว่ามานี้ เมื่อพนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นผู้มีส่วนได้เสียในการนี้ร้องขอ ศาลย่อมตั้งผู้ชำระบัญชีให้ได้ ตามมาตรา 1251 ซึ่งในกรณีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. นี้ เมื่อเลิกกันเพราะ อ. หุ้นส่วนผู้จัดการถึงแก่ความตายและไม่ปรากฏว่ามีสัญญาหรือข้อบังคับของห้างกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ชำระบัญชี ทั้งไม่มีผู้ใดเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีของห้าง พนักงานอัยการ หรือผู้มีส่วนได้เสียย่อมร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีได้ ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียตามบทบัญญัติดังกล่าว นอกจากจะเป็นผู้เป็นหุ้นส่วนที่เหลือ ทายาท หรือผู้จัดการมรดกของผู้เป็นหุ้นส่วนที่ถึงแก่ความตายแล้ว ย่อมหมายรวมถึงบรรดาเจ้าหนี้ของห้างด้วยเพราะการชำระบัญชีย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้ หรือบรรดาผู้ติดต่อค้าขายกับห้างเป็นสำคัญ หากไม่มีการตั้งผู้ชำระบัญชีเพื่อสะสางทรัพย์สินหนี้สินของห้าง ผู้เป็นเจ้าหนี้หรือติดต่อค้าขายกับห้างอาจได้รับความเสียหายได้ เมื่อได้ความจากคำเบิกความผู้ร้องว่า ก่อน อ. ถึงแก่ความตาย ผู้ร้องได้เป็นโจทก์ฟ้องเรียกให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ชำระหนี้ตามสัญญาจ้างทำของต่อศาลจังหวัดอุทัยธานี อันเป็นการตั้งสิทธิเรียกร้องเพื่อบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของห้าง เช่นนี้ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีห้างได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1055, ม. 1060, ม. 1080, ม. 1249, ม. 1251
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2537
ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลศรีสุทธา ซึ่ง ก.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1251 วรรคสอง จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนดังกล่าวได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1055, ม. 1060, ม. 1069, ม. 1251 วรรคสอง
ป.วิ.พ. ม. 55
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2537
หุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลตายหุ้นส่วนอื่นที่คงเหลืออยู่เพียงแต่ได้แสดงเจตนาจะขอซื้อหุ้นของหุ้นส่วนดังกล่าว กรณียังไม่เป็นการรับซื้อหุ้นของหุ้นส่วนที่ตาย ตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา1060 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลจึงเป็นอันเลิกกันและต้องมีการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1069,1055(5) ผู้จัดการมรดกของผู้เป็นหุ้นส่วนที่ตาย เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 วรรคสอง มีอำนาจร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนั้นได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1060, ม. 1251 วรรคสอง