คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2540
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55 พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ม. 21 วรรคสอง, 21 วรรคสี่, 21 วรรคห้า, 25 วรรคหนึ่ง เดิม
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา25วรรคหนึ่ง(เดิม)บัญญัติให้สิทธิผู้ที่ได้รับเงินค่าทดแทนที่ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนและขั้นตอนในการดำเนินการเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนั้นหลังจากที่คณะกรรมการได้กำหนดราคาแล้วจะมีหนังสือเชิญให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ทำสัญญาและให้ไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนในภายหลังส่วนผู้ที่ไม่ยอมทำสัญญาการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยจะนำเงินไปวางที่ธนาคารออมสินวันที่นัดให้มารับเงินนั้นจำเลยจะต้องมีหนังสือแจ้งไปให้เจ้าของทราบอีกทีหนึ่งในทางปฏิบัติหากเจ้าของที่ถูกเวนคืนไม่ตกลงทำสัญญาด้วยจำเลยจะไม่มีหนังสือให้มารับเงินที่จำเลยจะให้ไปรับเงินที่ธนาคารออมสิน ฝ่ายจำเลยถือว่าหนังสือขอเชิญให้ไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนเป็นหนังสือเชิญให้มาทำสัญญาซื้อขายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาตรา10มิใช่หนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา25วรรคหนึ่งกรณีของโจทก์ทั้งสองนั้นหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา25วรรคหนึ่งคือหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทนฉบับวันที่30สิงหาคม2533โจทก์ทั้งสองได้รับหนังสือการวางเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่1กันยายน2533และได้ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่29ตุลาคม2533จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์ภายในเวลา60วันนับแต่วันได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา25วรรคหนึ่งโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องคดีนี้ตามมาตรา26วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ที่1ไม่สามารถประกอบกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างและรับเหมาก่อสร้างในที่ดินของโจทก์ที่2ซึ่งถูกเวนคืนโจทก์ที่1ต้องเสียทำเลทางการค้าเสียเวลาในการหาสถานที่ประกอบกิจการค้าแห่งใหม่ไม่สะดวกต่อการติดต่อกับลูกค้าทำให้เสียลูกค้าและขาดรายได้อันถือได้ว่าโจทก์ที่1ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนจำเลยทั้งสองจึงต้องจ่ายเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจกท์ที่1ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคห้า ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคสองและวรรคสามเป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่าการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียวในทางตรงกันข้ามหากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้วหากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา21ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมส่วนมาตรา21วรรคสี่นั้นเป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา21เท่านั้นแม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับแล้วตามมาตรา21วรรคสี่ก็ไม่ใช่กรณีที่จะทำให้หลักการตามมาตรา21วรรคสองและวรรคสามใช้ไม่ได้หากปรากฏชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์ที่2มีราคาลดลงเพราะการเวนคืนแล้วก็ต้องกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงด้วยแต่ที่ดินโฉนดเลขที่21685ของโจทก์ที่2มิได้มีส่วนใดถูกเวนคืนเลยจึงไม่เข้ากรณีที่จะได้เงินค่าทดแทนอันเนื่องมาจากที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาลดลงเพราะเหตุการเวนคืนตามมาตรา21วรรคสามส่วนที่ดินโฉนดเลขที่21686ของโจทก์ที่2เนื้อที่107ตารางวาถูกเวนคืนเพียง19ตารางวาเหลือ88ตารางวานั้นเป็นที่ดินที่ไม่ได้อยู่ติดกับถนนแจ้งวัฒนะคงติดกับถนนซอยกว้างเกิน4เมตรเมื่อถูกเวนคืน19ตารางวาแล้วที่ดินที่เหลือ88ตารางวาก็ยังคงติดกับถนนซอยกว้างเกิน4เมตรเหมือนเดิมและเนื้อที่ดินลดลงเพียงเล็กน้อยยังคงใช้ประโยชน์ได้แตกต่างจากเดิมไม่มากและหลังจากสร้างทางสายบางโคล่-แจ้งวัฒนะเสร็จแล้วทำให้ที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ที่2แปลงนั้นอยู่ใกล้กับทางขึ้นลงทางด่วนด้วยย่อมไม่ทำให้ที่ดินของโจทก์ที่2ที่เหลือจากการเวนคืนดังกล่าวนั้นราคาลดลง เมื่อจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนตามมาตรา26วรรคสามซึ่งอัตราสูงสุดนี้ในเวลาที่ต่างกันอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามประกาศของธนาคารออมสินแต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันฟ้องคือวันที่23ธันวาคม2534ตามคำขอของโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2627/2540
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 56 พระราชบัญญัติการพนัน ม. 5, 6, 10, 12, 15
การพนันทายผลฟุตบอลต่างประเทศเป็นการพนันที่มอมเมาประชาชน เป็นอบายมุขที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติ รัฐบาลมีนโยบายที่จะปราบปรามมิให้มีการเล่นหรือให้ลดลง จำเลยเป็นเจ้ามือรายใหญ่มีโพยทายผลของกลาง 4 แผ่น มีเงินที่รับแทงพนันมากถึง 27 ล้านบาท พฤติการณ์เป็นเรื่องร้ายแรง ไม่สมควรรอการลงโทษให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2619/2540
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 59, 80, 288 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 158 (6), 195
จำเลยแทงผู้เสียหายโดยแทงอ้อมผ่านตัวส. ซึ่งกำลังจับมือผู้เสียหายอยู่และผู้เสียหายยืนหันหลังให้จำเลยจำเลยมีโอกาสเลือกแทงผู้เสียหายที่ส่วนใดของร่างกายก็ได้จำเลยเลือกแทงบริเวณรักแร้ซ้ายของผู้เสียหายโดยแรงคมมีดทะลุช่องปอดซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายทั้งยังได้แทงซ้ำอีก1ครั้งที่บริเวณลำคอผู้เสียหายแสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยพาอาวุธมีดไปในเมืองและทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรก็ตามแต่คำขอท้ายฟ้องไม่ได้อ้างประมวลกฎหมายอาญามาตรา371ซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดฟ้องโจทก์ฐานพาอาวุธไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะจึงขาดการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(6)เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์สำหรับการกระทำความผิดฐานนี้ศาลจะลงโทษตามบทมาตราดังกล่าวไม่ได้แม้คู่ความมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นฎีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2604/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1359 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55, 60 ประมวลรัษฎากร ม. 118
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 ให้อำนาจเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมด การใช้สิทธิดังกล่าวรวมถึงการใช้สิทธิทางศาลด้วย เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งในที่ดินพิพาท โจทก์แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทโดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจากเจ้าของรวมคนอื่นแต่อย่างใด ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีจะปิดอากรแสตมป์หรือไม่ และนาง ล. กับนาง ส. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนอื่นจะมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยได้รับความยินยอมจากสามีหรือไม่ จึงมิใช่ข้อสาระสำคัญจักต้องวินิจฉัย โจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2540
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 21 (4), 27
การร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27วรรคหนึ่งเป็นอำนาจของศาลที่จะทำการไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควรตามมาตรา21(4)แต่ถ้าข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวนปรากฏต่อศาลโดยชัดแจ้งว่ามิได้มีการพิจารณาที่ผิดระเบียบศาลย่อมมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้โดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้องเพราะเหตุผู้ร้องไม่ไปศาลตามนัดโดยถือว่าผู้ร้องไม่ติดใจสืบพยานตามที่ศาลได้กำชับไว้แล้วเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยวิธีพิจารณาในศาลชั้นต้นมิได้มีการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยหลงผิดแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2540
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 92, 317 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 195 วรรคสอง, 200, 225 พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี ม. , 4
การที่เด็กหนีออกจากบ้านมาเป็นเด็กเร่ร่อนและขอทานอยู่โดยไม่ยอมกลับบ้านอีก ย่อมแสดงว่าเด็กได้หนีไปจากความปกครองดูแลของบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลโดยเด็ดขาดแล้ว แม้มารดาเด็กยังติดตามหาอยู่ก็ตาม ก็ไม่ถือว่าเด็กยังอยู่ในความปกครองดูแลของมารดาในขณะนั้นแต่อย่างใด
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลย การที่จำเลยขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง เป็นการขอนอกเหนือจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยต้องกระทำโดยยื่นคำฟ้องฎีกา จะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ.2539 ใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวบัญญัติว่า"ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2539 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หรือซึ่งได้พ้นโทษไปโดยผลแห่ง พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษพ.ศ.2539 โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ" ความผิดคดีก่อนจำเลยได้กระทำก่อนวันที่ 9 มิถุนายน 2539 และพ้นโทษไปแล้วตั้งแต่ก่อนพ.ศ.2537 ก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิ่มโทษจำคุกจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2590/2540
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 365 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 193 ทวิ, 208, 225
คดีอาญาเรื่องใดจะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา193ทวิหรือไม่ต้องดูอัตราโทษที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติที่โจทก์ขอให้ลงโทษเป็นสำคัญคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมื่อประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์2536เวลาใดไม่ปรากฏชัดถึงวันที่15มีนาคม2536เวลากลางวันทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกันจำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายแล้วปลูกพืชผลอาสินลงในที่ดินดังกล่าวเพื่อถือการครอบครองที่ดินของผู้เสียหายบางส่วนถือว่าโจทก์บรรยายว่าจำเลยกระทำผิดตลอดทั้งเวลากลางวันและเวลากลางคืนแล้วและคำขอท้ายฟ้องก็ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา365ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา365แล้วส่วนจำเลยจะเข้าไปในที่ดินพิพาทตอนแรกเมื่อใดเป็นเรื่องในชั้นพิจารณาเมื่อความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา365ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยมีอัตราโทษจำคุกเกินสามปีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา193ทวิดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์และโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค3วินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์และโจทก์ร่วมเพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค3อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420, 1437, 1439, 1440, 1457, 1458
โจทก์ตกลงแต่งานกับจำเลยที่3โดยวิธีผูกข้อมือแสดงว่าโจทก์และจำเลยที่3มิได้มีเจตนาจะทำการสมรสโดยจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1457ดังนั้นทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสองจึงไม่ใช่ของหมั้นเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามเพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสกับจำเลยที่3และไม่ใช่สินสอดเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ให้แก่จำเลยที่1และที่2บิดามารดาของจำเลยที่3เพื่อตอบแทนการที่จำเลยที่3ยอมสมรสตามมาตรา1437โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืน การที่จำเลยที่3ไม่ยอมให้โจทก์ร่วมหลับนอนนั้นเป็นสิทธิของจำเลยที่3เพราะการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่3จะทำได้ต่อเมื่อจำเลยที่3ยินยอมเป็นสามีภริยากับโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1457การที่จำเลยที่3ไม่ยินยอมหลับนอนกับโจทก์ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือผิดสัญญาหมั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1439และมาตรา1440
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2540
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 221 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ม. 4
คดีนี้ในชั้นอุทธรณ์ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายว่าที่จำเลยทั้งสามออกเช็คเอกสารหมายจ.4และจ.6ชำระหนี้แก่โจทก์จะเป็นความผิดหรือไม่แม้ในชั้นฎีกาผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาก็ตามโจทก์ก็ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวแล้วเท่านั้นส่วนปัญหานอกนั้นถือได้ว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำนวนเงินกู้ตามสัญญากู้มีการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนดรวมอยู่ด้วยโดยตามคำฟ้องของโจทก์ก็มิได้แยกบรรยายว่าจำนวนเงินต้นเท่าใดและส่วนที่เป็นดอกเบี้ยเท่าใดจำนวนเงินกู้ดังกล่าวจึงไม่อาจแยกเงินต้นและดอกเบี้ยออกจากกันได้เช็คที่จำเลยออกชำระหนี้ให้ทั้งสามฉบับซึ่งมีเช็คเอกสารหมายจ.4และจ.6รวมอยู่ด้วยก็มิได้แยกว่าเช็คฉบับใดชำระเงินต้นและเช็คฉบับใดชำระดอกเบี้ยจึงต้องถือว่าเช็คทุกฉบับเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเมื่อปรากฏว่าจำนวนดอกเบี้ยที่เรียกเกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนดอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและตกเป็นโมฆะฟ้องบังคับได้การที่จำเลยออกเช็คเอกสารหมายจ.4และจ.6เพื่อชำระหนี้ดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2589/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 172
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ขณะเกิดเหตุโจทก์ขับรถมายังตัวเมืองบุรีรัมย์ โดยขับรถมาตามถนนสายบุรีรัมย์ - สตึก จำเลยที่ 3 ได้ขับรถจักรยานยนต์โดยประมาท ปราศจากความระมัดระวังซึ่งวิญญูชนพึงมีโดยวิสัยและพฤติการณ์ได้ชนรถยนต์ของโจทก์ขณะที่โจทก์ขับอยู่บนเส้นทางของตนและด้วยความระมัดระวังดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้ความเพียงว่า ขณะเกิดเหตุโจทก์ขับรถยนต์อยู่บนเส้นทางของตนด้วยความระมัดระวังเท่านั้น ส่วนจำเลยที่ 3 ขับรถจักรยานยนต์อยู่ในเส้นทางใด และขับอย่างไร อันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อโจทก์มิได้บรรยายไว้ คำฟ้องโจทก์จึงไม่แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองจึงเป็นฟ้องที่เคลือบคลุม