คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3452/2540
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ม. 18 (3)
ผู้เช่าที่ดินที่ต้องถูกเวนคืนที่จะได้เงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 18(3)นอกจากการเช่านั้นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้ว ยังต้องเป็นผู้เช่าที่ได้เสียหายจริงโดยเหตุที่จะต้องออกจากที่ดินดังกล่าวก่อนสัญญาเช่าระงับด้วย โจทก์รับโอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทมาจาก ช. ขณะที่โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้นบริเวณที่เช่าเป็นสถานีบริการน้ำมันและอู่ซ่อมรถยนต์ซึ่งยังประกอบกิจการอยู่ โจทก์ต้องดำเนินการฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกอาศัยและการฟ้องขับไล่ยังไม่เสร็จสิ้น โจทก์จึงยังไม่สามารถเข้าครอบครองที่เช่าและยังไม่สามารถเข้าดำเนินการใด ๆในที่เช่า ดังนี้ เมื่อโจทก์ยังไม่ได้เข้าไปอยู่ในที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนและยังไม่ได้ดำเนินการใด ๆ ในที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืน จึงยังไม่มีกรณีที่โจทก์จะต้องออกจากที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนโจทก์จึงไม่ใช่ผู้ที่ได้ผู้เสียหายจริงโดยเหตุที่จะต้องออกจากที่ดินที่ถูกเวนคืน จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1754, 1755
โจทก์ฟ้องคดีเพื่อขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อในโฉนดที่พิพาทมาเป็นของโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของป. เจ้าของที่แท้จริงจึงนำอายุความคดีมรดกมาใช้บังคับไม่ได้แม้ป.ถึงแก่ความตายนับถึงวันฟ้องในเวลา7ปีฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3451/2540
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522
ความเห็นของ ว.เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่ว่าไม่สามารถจดทะเบียนให้แก่โจทก์และสมาชิกได้นั้น เมื่อ ว.เป็นเพียงข้าราชการในสังกัดกรมจำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่เป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยในชั้นปกครอง ทั้งโจทก์ยังมิได้ยื่นคำขอเพื่อดำเนินการตามกระบวนการทางฝ่ายปกครองจนถึงที่สุด ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่าฝ่ายปกครองโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิจากจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2540
ประมวลรัษฎากร ม. 39, 40 (1), 65 ตรี, 65 (13), 65 (15) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 172 วรรคสอง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ม. 17
ทั้งในคำอุทธรณ์การประเมินของโจทก์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และในคำฟ้องของโจทก์ได้อ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งบอกค่าเสื่อมราคาในรอบระยะเวลาบัญชีปี2523เพียง14,700,159.77บาทแทนที่จะเป็น18,700,159.77บาทจึงเป็นผลทำให้ยอดค่าเสื่อมราคาที่กล่าวข้างต้นสูงกว่าจำนวนเงินที่ระบุในข้อ2.1.1ไป4,000,000บาทโดยโจทก์ไม่ได้ระบุถึงความเป็นมาของยอดค่าเสื่อมราคาจำนวน18,700,157.77บาทว่าได้มาอย่างไรและยอดค่าเสื่อมราคาจำนวน14,700,157.77บาทไม่ถูกต้องอย่างไรการกล่าวอ้างของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการกล่าวอ้างลอยๆจำเลยไม่สามารถสู้คดีได้ถูกต้องฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม โจทก์ได้ยอมรับว่าโจทก์ได้ให้บริการรับประทานอาหารฟรีแก่พนักงานของโจทก์บนเรือขุดแร่กรณีย่อมถือได้ว่าพนักงานที่ทำงานบนเรือขุดแร่ได้รับประโยชน์ในทางทรัพย์สินเพิ่มพูนขึ้นเนื่องจากการทำงานนอกเหนือไปจากเงินเดือนที่พนักงานจะได้รับแสดงให้เห็นว่าโจทก์ยอมรับว่าการเลี้ยงอาหารแก่พนักงานบนเรือดังกล่าวถือเป็นประโยชน์เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการจ้างแรงงานค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงถือเป็นเงินได้ของพนักงานของโจทก์ซึ่งได้รับอันเนื่องมาจากการจ้างแรงงานตามมาตรา40(1)แห่งประมวลรัษฎากรและเงินได้ในส่วนดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา39แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาคำนวณหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายและนำส่งต่อจำเลย เรือขุดแร่ของท.ที่มีการซื้อขายในคดีนี้ได้ถูกออกแบบเป็นพิเศษโดยเฉพาะเพื่อใช้งานสำหรับขุดแร่บริเวณที่ท.ได้รับสัมปทานโดยเฉพาะเมื่อการทำแร่จะต้องได้รับสัมปทานและท.ถูกเพิกถอนสัมปทานไปแล้วท. จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะต่อรองอะไรกับโจทก์หรือผู้ซื้อทรัพย์สินรายใดได้ส่วนหนังสือแจ้งราคาเรือที่ต่อใหม่ของบริษัทม. ก็ปรากฏว่ามีมาถึงโจทก์หลังจากที่โจทก์ได้ทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินไปแล้วการยืนยันราคาเรือก็เป็นการยืนยันย้อนหลังแสดงว่าในการทำหนังสือสอบถามราคาไปก็เพียงแต่จะเป็นการสร้างหลักฐานขึ้นมาประกอบการซื้อทรัพย์นั้นไม่มีเจตนาจะให้มีการต่อเรือกันจริงหนังสือที่ทางบริษัทม. แจ้งมายังโจทก์จึงไม่น่าเชื่อถือสำหรับข้อที่โจทก์อ้างว่าหลังจากซื้อเรือขุดแร่จากท. แล้วได้ประกันภัยในราคาที่ใกล้เคียงกับราคาที่ซื้อมาของโจทก์โจทก์คงอ้างแต่เพียงลอยๆโดยไม่แสดงหลักฐานใดๆนอกจากนี้การกำหนดราคาเอาประกันภัยไม่อาจถือเป็นราคาอันสมควรได้เพราะคู่สัญญาประกันภัยสามารถตกลงวงเงินเอาประกันภัยเท่าใดก็ได้เพียงแต่หากเกิดความเสียหายก็จะชดใช้ให้ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้นดังนั้นราคาทรัพย์สินที่เอาประกันภัยจึงมิใช่ราคาตลาดของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยและไม่อาจเชื่อถือได้ส่วนที่โจทก์อ้างว่าราคาที่โจทก์และท.ทำการตกลงซื้อขายนั้นเป็นราคาของมูลค่าทรัพย์สินตามปกติที่อาจสามารถซื้อขายกันได้หาได้มีลักษณะเป็นการซื้อขายทรัพย์สินที่มีราคาสูงเกินปกติโดยไม่มีเหตุอันสมควรแต่ประการใดนั้นจากการตรวจสอบของเจ้าพนักงานของจำเลยได้ความว่าในการลงบัญชีทรัพย์ที่ซื้อมาโดยที่สัญญาซื้อขายทรัพย์สินระบุเป็นรายการใหญ่ๆต้องหาวิธีลงบัญชีเพื่อแยกเป็นรายการย่อยๆจึงได้ใช้ดัชนีมาร์ชแอนด์สตีแว่นมาเพื่อคำนวณหามูลค่าทรัพย์สินเพื่อใช้ลงบัญชีดัชนีมาร์ชแอนด์สตีเว่นเป็นการคำนวณค่าใช้จ่ายในการแต่งเรือย้อนหลังไป1ปีมีอัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ16การเปรียบเทียบจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันแต่กรณีของโจทก์ทรัพย์สินที่โจทก์ซื้อผ่านการใช้งานมาแล้วประมาณ4ปีการนำดัชนีราคาดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับกรณีของโจทก์จึงไม่ถูกต้องราคาต้นทุนทรัพย์สินตามบัญชีท.มีราคา221,934,959.44บาทซึ่งเป็นราคาที่ท.ได้หักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินและได้นำไปใช้หักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของท. ไปแล้วและท. หักค่าเสื่อมราคาโดยใช้วิธีเส้นตรงในอัตราร้อยละ10ต่อปีซึ่งเป็นการหักค่าใช้จ่ายในอัตราต่ำอยู่แล้วการที่โจทก์ซื้อทรัพย์สินของท.มาในราคา332,800,000บาทจึงเป็นราคาที่สูงเกินปกติโดยไม่มีเหตุอันสมควร ตามสัญญาซื้อขายทรัพย์สินหนี้สินและสัญญาเพิ่มเติมเพื่อขายและซื้อทรัพย์สินและหนี้สินมีการระบุรายละเอียดรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่โจทก์ซื้อจากท. ไว้โดยไม่มีการระบุว่ามีการซื้อขายเจ้าหนี้ระยะยาวรายของบริษัทซ. และบริษัทซ. ไว้แต่อย่างใดดังนั้นการที่โจทก์จ่ายดอกเบี้ยแทนท.ไปโดยค่าดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นค่าดอกเบี้ยของหนี้สินระยะยาวซึ่งโจทก์มิได้ผูกพันด้วยค่าดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายไปจึงเป็นรายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพราะเป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ตามมาตรา65ตรี(13)แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์จึงนำรายจ่ายดังกล่าวมาคิดคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 618
เมื่อเรือเทียบท่าแล้วบริษัทส. เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าโดยบริษัทฟ. เป็นผู้ว่าจ้างจำเลยไม่ได้เกี่ยวข้องในการขนถ่ายสินค้าส่วนใบสั่งปล่อยสินค้านั้นเรือจะออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้จำเลยเพียงแต่เป็นผู้ส่งใบปล่อยสินค้าให้แก่ผู้รับและเป็นผู้ออกใบสั่งปล่อยสินค้าดังนี้จำเลยเป็นผู้ติดต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อขอนำเรือเทียบท่าและติดต่อกรมศุลกากรเท่านั้นจำเลยจึงไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทกับบริษัทฟ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3450/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 850, 851 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 138
ใบแต่งทนายความระบุให้ทนายความของจำเลยที่ 1 และที่ 5ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนจำเลยที่ 1 และที่ 5 ได้ ดังนั้น ทนายความดังกล่าวจึงมีดุลพินิจเต็มที่ว่าข้อความที่จะตกลงกับโจทก์นั้นเหมาะสมหรือไม่ ถ้าเห็นว่าจะเสียเปรียบหรือไม่เหมาะสมก็มีอำนาจที่ไม่ยอมตกลงและต่อรองได้ คดีนี้ได้มีการเจรจาและเลื่อนคดีมาก่อนแล้ว ต่อมาจึงได้มาตกลงทำสัญญาประนีประนอมกันโดยฝ่ายจำเลยที่ 1 และที่ 5 มีทนายจำเลยที่ 1 และที่ 5 ลงลายมือชื่อแทนจำเลยที่ 1และที่ 5 แสดงว่าทนายจำเลยที่ 1 และที่ 5 ได้ใช้ดุลพินิจไตร่ตรองแล้วจึงตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ และสัญญาประนีประนอมยอมความได้ทำไว้โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลงลายมือชื่อตัวแทนเป็นสำคัญ เมื่อทนายจำเลยที่ 1 และที่ 5 ลงลายมือชื่อแทนจำเลยที่ 1 และที่ 5 ซึ่งจะต้องรับผิดใช้เงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ สัญญาดังกล่าวจึงสมบูรณ์และฟ้องร้องบังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 850 และ 851ทั้งไม่ปรากฏว่าเมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว โจทก์ประพฤติผิดสัญญาข้อใด และสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ก็ไม่ขัดต่อสิทธิของจำเลยอื่น ซึ่งมิได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย ส่วนจำเลยที่ 3 ก็เป็นผู้ที่ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ด้วยแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 จะขอยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 5ที่อ้างว่าเคยเจรจากับกรรมการบริหารของโจทก์ว่าจะลดดอกเบี้ยให้ แต่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความมาคิดดอกเบี้ย ทำนองว่าทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ตรงตามข้อตกลงหรือประนีประนอมยอมความ เป็นเพียงเหตุก่อนการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่เมื่อในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความฝ่ายจำเลยที่ 1 และที่ 5 ได้ยอมตกลงจ่ายดอกเบี้ยด้วย โดยมีโอกาสใช้ดุลพินิจเต็มที่แล้วจึงตกลงเช่นนี้ จำเลยที่ 1 และที่ 5 ไม่อาจขอยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความได้ และเมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลชั้นต้นก็ต้องพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 4, 618 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่1มีหน้าที่แจ้งให้ผู้รับสินค้าปลายทางทราบถึงการที่เรือมาถึงจำเลยที่2ออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้จำเลยที่1เพื่อให้จำเลยที่1ไปติดต่อผู้รับใบตราส่งเท่านั้นจำเลยที่1ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการขนถ่ายสินค้าจากเรือไปยังสถานที่เก็บหรือการเปิดตู้สิ้นค้าจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่3เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือและมอบให้จำเลยที่2จำเลยที่2เป็นผู้เปิดตู้คอนเทนเนอร์แล้วขนสินค้าไปเก็บไว้ในคลังสินค้าของการท่าเรือฯและเป็นผู้ออกใบสั่งปล่อยสินค้าจำเลยที่2และที่3จึงเป็นผู้ร่วมขนส่งหลายคนหลายทอดต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา618ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ที่จำเลยที่2ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้นำค่าใช้จ่ายอีก10เปอร์เซ็นต์รวมเข้าเป็นค่าเสียหายด้วยไม่ถูกต้องปรากฎว่าจำเลยที่2มิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง ตามใบตราส่งปรากฎชัดว่าสินค้ามีรวมทั้งหมด5หีบห่อและได้มีการบรรจุสินค้าเข้าตู้สินค้าครบถ้วนเมื่อปรากฎว่าสินค้าสูญหายไป4หีบห่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสินค้าสูญหายไประหว่างการขนส่งของผู้ขนส่งจำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้ร่วมขนส่งต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3448/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1711, 1713 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 240, 243, 247
คดีนี้ผู้ร้องทั้งสองร้องขอให้ตั้งผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกของล.ผู้ตาย โดยอ้างว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้รับมรดกผู้ตายตามพินัยกรรมเอกสารหมาย ร.6ผู้คัดค้านที่ 3 คัดค้านว่าผู้ร้องทั้งสองปลอมพินัยกรรมฉบับดังกล่าว จึงถูกกำจัดมิให้รับมรดก และผู้ตายเคยทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไว้ก่อนแล้ว แต่ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 3 มิใช่ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมทั้งสองฉบับดังกล่าว และไม่ปรากฏว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในพินัยกรรมทั้งสองฉบับ ทั้งปัญหาที่ว่าผู้ร้องทั้งสองถูกกำจัดมิให้รับมรดกหรือไม่ผู้คัดค้านที่ 3 ก็มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น ไม่ว่าพินัยกรรมที่ผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้รับพินัยกรรมจะเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่ ผู้คัดค้านที่ 3ก็ไม่มีสิทธิรับมรดกและเป็นผู้ไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงไม่มีสิทธิร้องคัดค้านเป็นคดีนี้ และเมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้คัดค้านที่ 3 ผู้คัดค้านที่ 3 อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์เห็นว่าผู้คัดค้านที่ 3 ไม่มีสิทธิร้องคัดค้านตามนัยดังกล่าวข้างต้นก็ชอบที่จะยกคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 3 ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพินัยกรรมเอกสารหมาย ร.6 เป็นพินัยกรรมปลอม และพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ตั้งผู้ร้องที่ 1 แต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยเห็นว่าพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองที่ผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้รับพินัยกรรมยังคงมีผลใช้ได้ และผู้ร้องที่ 2 มิใช่ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมดังกล่าวนั้นเป็นการก้าวล่วงไปวินิจฉัยตามประเด็นในคำคัดค้านทั้งที่ผู้คัดค้านที่ 3 ไม่มีสิทธิยื่นคัดค้าน แต่เมื่อผู้คัดค้านที่ 3 มิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกไม่มีสิทธิร้องคัดค้าน และไม่อาจตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ ส่วนผู้ร้องที่ 2 เมื่อมิได้มีคุณสมบัติต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการ-มรดก จึงสมควรตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องที่ 1 ได้ตามคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 120/2540
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 46
ในคดีส่วนอาญาจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามเช็คอันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คจึงไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3447/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 7, 683, 684, 856 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 161, ตาราง 6
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุไว้ชัดแจ้งว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้สำหรับจำนวนเงินที่ได้เบิกไปในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และในสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันกับสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง ก็ระบุดอกเบี้ยไว้ในอัตรา ดังกล่าว สำหรับหนังสือต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้ง 4 ฉบับนั้น ฉบับแรกไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ อัตราดอกเบี้ยจึงต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเดิม ฉบับที่สองและฉบับที่สามกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 17.5 ต่อปีเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจากเดิมร้อยละ 19 ต่อปีเป็นร้อยละ 17.5 ต่อปี และฉบับที่สี่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยใหม่ อัตราดอกเบี้ยจึงเป็นไปตามอัตราที่ระบุไว้ในหนังสือต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่สามคือร้อยละ 17.5 ต่อปีดังนี้เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้กำหนดอัตราดอกเบี้ย ไว้โดยชัดแจ้งแล้ว และศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสอง ชำระดอกเบี้ยไม่เกินกว่าอัตราตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญา จึงเป็นการพิพากษาที่ชอบแล้ว จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินไม่เกิน 600,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีโดยกำหนดค่าทนายความให้ 5,000 บาท จึงเป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าธรรมเนียมศาลแทนโจทก์เกินกว่าทุนทรัพย์ที่จำเลยที่2 ต้องรับผิด เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่สำหรับค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ใช้แทนโจทก์นั้นเป็นจำนวนน้อยและต่ำกว่าอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดมากจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะลดลงหรือแยกให้จำเลยที่ 2 รับผิด ศาลฎีกาจึงให้จำเลยที่ 2ร่วมชำระค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 2