คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2540

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 218 วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 พระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 ม. 3

คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงให้ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 1 เดือน รวม 3 กระทง จำคุก3 เดือน คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ซึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินจากโจทก์ตามหนังสือสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 และได้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสามฉบับเพื่อชำระหนี้เงินกู้การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมิได้กู้เงินจากโจทก์และไม่เคยรับเงินใดจากโจทก์เช็คพิพาททั้งสามฉบับจำเลยสั่งจ่ายให้โจทก์เพื่อนำไปกู้เงินมิได้มีเจตนาให้มีผลผูกพันกัน เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาและเป็นยุติแล้วจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาเช่นกัน ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยมานั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3559

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3559/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 386, 456 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 141 (5), 142, 248 วรรคสอง

โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านพิพาท จำเลย ให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาท โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาท ระหว่างจำเลยกับโจทก์ร่วม ถือไม่ได้ว่าจำเลยกล่าวแก้ เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินและบ้านพิพาทในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้เดือนละ 6,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาใน ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยมีข้อตกลงว่า จำเลยผู้จะซื้อจะชำระให้แก่โจทก์ร่วมผู้จะขายเป็นงวด ๆ ทุกวันที่ 16 ของทุกเดือน ส่วนราคาบ้านและที่ดินที่ยังคงต้องผ่อนชำระกับธนาคารอยู่นั้นจำเลยผู้จะซื้อจะเป็นผู้ผ่อนชำระกับธนาคารเอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับผู้จะขายเลย ในกรณีที่ผู้จะซื้อผิดนัดหรือผิดสัญญาผู้จะซื้อยอมให้ผู้จะขายริบเงินมัดจำไว้ทั้งหมดได้ทันทีโดยมิต้องบอกกล่าว และหากผู้จะขายผิดนัดหรือผิดสัญญาผู้จะขายยอมคืนเงินมัดจำที่ผู้จะซื้อชำระไว้ให้แก่ผู้จะซื้อ เมื่อกรณีที่สัญญากำหนดให้จำเลยเป็นผู้ผ่อนชำระหนี้จำนองที่ดิน และบ้านพิพาทกับธนาคารแทนโจทก์ร่วม เป็นการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาทโดยติดจำนองไปด้วย ดังนี้ การที่จำเลยมีภาระจะต้องผ่อนชำระหนี้จำนองแก่ธนาคารผู้รับจำนองจึงเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับธนาคาร ไม่เกี่ยวกับโจทก์ร่วม แม้จำเลยจะรับว่าได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเพียง 3 ครั้ง แล้วไม่ชำระ อีกเลยก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและ บ้านพิพาทกับโจทก์ร่วม ส่วนการที่จำเลยไม่ผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคาร หากทำให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายอย่างใด โจทก์ร่วม มีสิทธิ ที่จะเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย นั้นให้แก่โจทก์ร่วมได้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแต่มิได้พิพากษายกฟ้องนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2540

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 90 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 212, 218 วรรคแรก พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ม. 4, 13 ทวิ, 62, 89

คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 62 วรรคหนึ่ง,89, 106 วรรคหนึ่ง ลงโทษฐานขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกจำเลย 3 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องข้อหาฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดกรรมเดียวและเป็นความผิดต่อกฎหมายบทเดียวกันให้ลงโทษฐานขายเมทแอมเฟตามีน ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 89เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคแรก

ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ สิบตำรวจตรีหญิง ว.กับสายลับได้เข้าไปขอซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย จำนวน 4 เม็ด โดยมีร้อยตำรวจเอก ก.กับพวกซุ่มรออยู่นอกโกดัง จำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์ออกจากโกดังไปประมาณ15 นาที จึงกลับเข้ามาและมอบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 4 เม็ด ให้แก่สิบตำรวจตรีหญิง ว. แต่สิบตำรวจตรีหญิง ว.ขอรับไว้เพียง 2 เม็ด โดยอ้างว่าเอาเงินมาไม่พอและมอบธนบัตรจำนวน 160 บาท ที่เตรียมไว้ใช้ในการล่อซื้อให้แก่จำเลยต่อมาสิบตำรวจตรีหญิง ว.กับร้อยตำรวจเอก ก.และพวกได้เข้าจับกุมจำเลยและค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2 เม็ด กับธนบัตรจำนวน 160 บาท ที่ใช้ในการล่อซื้อจากตัวจำเลย ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน เนื่องจากจำเลยได้ขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สิบตำรวจตรีหญิง ว.ไปก่อนจำนวน 2 เม็ด ส่วนเมทแอมเฟตามีนที่ตรวจยึดได้จากตัวจำเลยในขณะจับกุมอีกจำนวน 2 เม็ด ที่เหลือเป็นจำนวนเดียวกับที่จำเลยนำมาเพื่อจะส่งมอบให้แก่สิบตำรวจตรีหญิง ว.ซึ่งการส่งมอบก็เป็นความผิดฐานขายตามกฎหมายเช่นเดียวกันฉะนั้นเมทแอมเฟตามีนที่เหลือจากขายจึงเป็นเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขายในวันเวลาเดียวกันและต่อเนื่องกัน อันเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวและเป็นความผิดต่อกฎหมายบทเดียวกันคือ ความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีนนั่นเอง

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 62วรรคหนึ่ง, 89, 106 วรรคหนึ่ง ลงโทษฐานขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 5 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 3 ปี4 เดือน คืนธนบัตรของกลางแก่เจ้าของ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยมีความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีนแต่เพียงบทเดียว เป็นการพิพากษาปรับบทลงโทษความผิดของจำเลยให้ถูกต้องเท่านั้น หาได้เป็นการพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779 - 780/2540

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 3 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ม. 4, 31, 65, 67, 69

ทางสำหรับรถยนต์วิ่งเข้าออกถือว่าเป็นอาคารตามความในมาตรา4(4)แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522เมื่อใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารของจำเลยทั้งสามกำหนดให้อาคารต้องมีทางสำหรับรถยนต์วิ่งเข้าและออกทางเดียวกว้างไม่น้อยกว่า3.50เมตรตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่7(พ.ศ.2517)ข้อ8ที่ว่า"ทางเข้าออกของรถยนต์ต้องกว้างไม่น้อยกว่า6เมตรในกรณีที่จัดให้รถยนต์วิ่งได้ทางเดียวทางเข้าและทางออกต้องกว้างไม่น้อยกว่า3.50เมตร"แต่ตามกฎกระทรวงฉบับที่12(พ.ศ.2528)ข้อ(2)(ก)ได้บัญญัติยกเว้นให้ความกว้างของทางสำหรับรถยนต์วิ่งเข้าและออกโดยนับจากตัวอาคารที่ก่อสร้างถึงแนวเขตที่ดินผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตได้ไม่เกินร้อยละห้าของความกว้าง3.50เมตรซึ่งมีค่าเท่ากับ0.174เมตรเมื่อทางที่จำเลยทั้งสามทำไว้สำหรับรถยนต์วิ่งมีความกว้างส่วนที่น้อยที่สุดเท่ากับ3.20เมตรเท่ากับผิดไปจากแบบแปลน0.30เมตรเกินกว่าร้อยละห้าของความกว้าง3.50เมตรการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงขัดต่อกฎกระทรวงดังกล่าวจำเลยทั้งสามย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารมาตรา31(1)จำเลยที่1และที่2ต้องรับโทษตามมาตรา65วรรคหนึ่งส่วนจำเลยที่3ผู้ดำเนินการให้มีการก่อสร้างอาคารต้องได้รับโทษเป็นสองเท่าของโทษตามมาตรา65วรรคหนึ่งทั้งนี้ตามมาตรา69 จำเลยทั้งสามก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตแต่แรกการกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นความผิดตั้งแต่นั้นมาแล้วแม้ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะอนุญาตให้จำเลยทั้งสามแก้ไขแบบแปลนได้ก็ตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นดังกล่าวมิใช่กฎหมายจำเลยทั้งสามจึงไม่พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด จำเลยทั้งสามทราบคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารวันที่31ตุลาคม2534แต่จำเลยทั้งสามมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวถือว่าจำเลยทั้งสามฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งแต่วันที่1พฤศจิกายน2534เป็นต้นไป ขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นมีพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร(ฉบับที่2)พ.ศ.2535ออกใช้บังคับให้ยกเลิกความในมาตรา65และ67แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522และให้ใช้ความใหม่แทนซึ่งมีระวางโทษแตกต่างจากเดิมอันเป็นกรณีที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดอันมีทั้งเป็นคุณและโทษแก่ผู้กระทำความผิดซึ่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา3ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใดเมื่อระวางโทษตามมาตรา65และ67เดิมเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสามยิ่งกว่ามาตรา65และ67ที่แก้ไขใหม่จึงต้องนำมาตรา65และ67เดิมมาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 575, 587 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ม. 7 วรรคหนึ่ง

ความในข้อ 7 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103กำหนดว่า ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้รับเหมาช่วง ให้ผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปหากมีตลอดสายจนถึงผู้รับเหมาชั้นต้นร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด ซึ่งต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างด้วย การที่จำเลยรับเหมางานทุบรื้อถอน และซ่อมบำรุงถนนจากกรมทางหลวง ถือเป็นสัญญาจ้างทำของระหว่างจำเลยกับกรมทางหลวง และต่อมาจำเลยได้ว่าจ้าง ส.รับเหมาช่วงให้ทำงานทุบ รื้อถอนและซ่อมบำรุงถนนคอนกรีตก็เป็นกรณีจ้างทำของเช่นเดียวกัน เช่นนี้จำเลยและ ส.ย่อมเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นและผู้รับเหมาช่วงตามลำดับ ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นลูกจ้าง ส.กรณีก็ต้องบังคับตามข้อ 7 วรรคหนึ่งดังกล่าว ซึ่งกำหนดให้จำเลยในฐานะผู้รับเหมาชั้นต้นต้องรับผิดร่วมกับ ส.ผู้รับเหมาช่วงอย่างลูกหนี้ร่วมต่อโจทก์ ดังนั้นแม้จำเลยได้จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ ส. แต่ ส.มิได้จ่ายให้แก่โจทก์ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม จำเลยก็ยังคงต้องมีความรับผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวต่อโจทก์อยู่เช่นเดิม กรณีหาใช่จำเลยพ้นความรับผิดเพราะเหตุสัญญาระหว่างจำเลยกับ ส.มิใช่เป็นสัญญาจ้างแรงงานไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3518

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3518/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 27, 242, 296 วรรคสอง

จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องว่าในการขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ขายทอดตลาดและโจทก์กระทำการโดยไม่สุจริตก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยซึ่งเป็นการกล่าวอ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมายจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 และมาตรา 296 วรรคสอง โดยจำเลยจะต้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่า8 วัน นับแต่ทราบการฝ่าฝืนนั้น ปรากฏว่าจำเลยยื่นคำร้องเมื่อพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิร้องคัดค้านเพื่อให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้การที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินการไต่สวนคำร้อง ของ จำเลยไปนั้นก็เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยผิดหลงและเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แม้โจทก์จะไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้เมื่อความปรากฏแก่ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ แต่ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ยกอุทธรณ์ของจำเลยนั้นเป็นการไม่ชอบ เพราะอุทธรณ์ของจำเลยไม่ต้องห้ามอุทธรณ์แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2540

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 52 (2), 53, 81, 288

อาวุธปืนที่จำเลยใช้ยิงเป็นอาวุธปืนแก๊ปยาวโดยปกติการใช้อาวุธปืนดังกล่าวปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กระสุนปืนลั่นออกได้คือแก๊ปสำหรับจุดระเบิดหากไม่มีการใส่แก๊ปก็ไม่สามารถทำให้กระสุนปืนลั่นออกได้เลยแม้จำเลยจะได้ใช้อาวุธปืนแก๊ปยาวยิงผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่าแต่ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าอาวุธปืนที่จำเลยใช้ยิงมีการใส่แก๊ปปืนไว้แล้วดังนี้กระสุนปืนจึงไม่อาจลั่นออกได้อย่างแน่นอนการกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288ประกอบมาตรา81วรรคหนึ่ง ประมวลกฎหมายอาญามาตรา81วรรคหนึ่งกำหนดให้ลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288ซึ่งกำหนดโทษประหารชีวิตจำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกตั้งแต่15ปีถึง20ปีการคำนวณโทษกึ่งหนึ่งของโทษประหารชีวิตหรือโทษจำคุกตลอดชีวิตกฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญามาตรา52(2)และ53มาใช้เป็นหลักในการกำหนดโทษเมื่อคำนวณแล้วย่อมมากกว่าโทษกึ่งหนึ่งของโทษจำคุกตั้งแต่15ปีถึง20ปีส่วนโทษกึ่งหนึ่งของโทษจำคุกตั้งแต่15ปีถึง20ปีก็คือโทษจำคุกตั้งแต่7ปี6เดือนถึง10ปีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยก่อนลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา78จำคุก2ปีเป็นการลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288ประกอบด้วยมาตรา81วรรคหนึ่งหาใช่ว่าจะต้องกำหนดโทษจำคุกจำเลยไม่ต่ำกว่า7ปี6เดือนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3517

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3517/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 149, 161, 284,

แม้จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดีซึ่งต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาและความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกอยู่แก่จำเลยก็ตาม แต่ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 161 วรรคแรกที่จะให้คู่ความฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง เมื่อปรากฏว่าจำเลยมีเงินฝากอยู่กับโจทก์ 237,222.86 บาท และโจทก์สามารถตัดบัญชีชำระหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีจำนวน 335,656.76 บาท ได้ แต่โจทก์กลับไปยึดทรัพย์ของจำเลยซึ่งมีราคาเป็นสิบล้านบาท จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิดำเนินการบังคับคดีเกินความจำเป็น เมื่อจำเลยเองก็ไม่ได้ประวิงการบังคับคดี ทั้งได้ขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนภายใน 4 เดือน นับจากวันถูกยึดทรัพย์เช่นนี้จึงไม่สมควรที่จะให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีแทนโจทก์ โจทก์จึงต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 164

เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองแล้วจำเลยที่2ได้ให้การปฎิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดโดยมิได้อ้างฐานที่อยู่แต่ประการใดดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องจากข้อความว่า"เมื่อวันที่21มิถุนายน2537เวลากลางคืนหลังเที่ยง"เป็นเมื่อวันที่21มีนาคม2537เวลากลางคืนหลังเที่ยง"จึงเป็นการแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อเท็จจริงที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำที่อ้างว่าเป็นความผิดที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีมิใช่เป็นฟ้องที่บรรยายข้อเท็จจริงขาดองค์ประกอบความผิดโจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขหรือเพิ่มเติมคำฟ้องได้โดยจำเลยที่2มิได้เสียเปรียบในการต่อสู้คดีหรือหลงข้อต่อสู้แต่ประการใดอีกทั้งในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวศาลชั้นต้นยังมิได้พิพากษาคดีจึงนับว่ามีเหตุอันควรที่จะอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3516

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3516/2540

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 33 พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 ม. 10

เครื่องรับโทรทัศน์และรีโมทคอนโทรลของกลางเป็นแต่เพียงเครื่องมือและอุปกรณ์รับภาพการแข่งขันชกมวยจากสถานีโทรทัศน์ซึ่งเป็นผู้ส่งภาพนั้นมาเท่านั้น การที่จำเลยกับพวกซึ่งเป็นผู้ชมท้าพนันผลการแข่งขันชกมวย หาทำให้เครื่องรับโทรทัศน์และรีโมทคอนโทรลของกลางเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการเล่นการพนันชกมวยตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.การพนันโดยแท้จริงไม่

« »
ติดต่อเราทาง LINE