คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2540

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2540

พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 91 วรรคหนึ่ง

ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา91วรรคหนึ่งเจ้าหนี้ที่อยู่นอกราชอาณาจักรนั้นหมายถึงเจ้าหนี้ทั้งที่เป็นคนไทยและต่างประเทศโดยถือเอาสถานที่อยู่ตามความเป็นจริงของเจ้าหนี้ในช่วงระยะเวลาที่มีการประกาศโฆษณาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นสำคัญไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาตามกฎหมายของเจ้าหนี้ดังกล่าวว่าอยู่ณที่ใดดังนี้เมื่อในช่วงระยะเวลาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศโฆษณาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ผู้ร้องอยู่ในราชอาณาจักรแม้ขณะนั้นผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรและได้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรชั่วคราวในช่วงระยะเวลาดังกล่าวก็ตามกรณีก็ต้องถือว่าผู้ร้องไม่ใช่เจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักรตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ให้ผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2540

พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 94 (2), 106

เจ้าหนี้เจตนาจะพยุงฐานะของลูกหนี้แม้จะกระทำโดยสุจริตก็ตามเมื่อหนี้ที่ก่อขึ้นนี้เป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจึงเป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ไม่ได้ตามมาตรา94(2)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 แม้คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไม่มีผู้ใดโต้แย้งแต่ถ้าตามทางสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปรากฎว่าเป็นหนี้ซึ่งเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวศาลก็มีอำนาจยกคำขอรับชำระหนี้ได้ตามมาตรา94ประกอบด้วยมาตรา106แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 75, 76

การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยสั่งให้ส่งหมายนัดตามข้อความในคำสั่งของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา76วรรคหนึ่งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ปิดหมายนัดจึงชอบแล้ว ว.เป็นทนายโจทก์โดยครั้งหลังสุดว. แจ้งที่อยู่ตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่าอยู่บ้านเลขที่49/4หมู่11ถนนสุขาภิบาล3แขวงมีนบุรีเขตมีนบุรี ฉะนั้นบ้านเลขที่ดังกล่าวจึงเป็นภูมิลำเนาของว. การที่เจ้าพนักงานเดินหมายปิดหมายไว้ณบ้านเลขที่ดังกล่าวซึ่งเป็นภูมิลำเนาของว. จึงชอบแล้วและแม้โจทก์จะมีทนายความ2คนแต่ว. ก็เป็นทนายความซึ่งโจทก์ตั้งแต่งให้ว่าคดีการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่ว.เพียงคนเดียวจึงเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา75ถือได้ว่าฝ่ายโจทก์ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 46, 47 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 161, 224, 242, 243

จำเลยที่ 1 และที่ 2 เคยถูกพนักงานอัยการฟ้องตามที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีดังกล่าวร้องทุกข์ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและฉ้อโกง กับขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงินแก่โจทก์ คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาได้มีคำพิพากษา ยกฟ้องเมื่อโจทก์และจำเลยที่ 2 และที่ 1 ในคดีนี้เป็นผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีอาญาดังกล่าวตามลำดับ ทั้งความรับผิดทางแพ่งคดีนี้ เกิดจากการ กระทำความผิดอาญาดังกล่าว จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลจำต้อง ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเป็นหลักในการพิพากษาคดี ส่วนแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 โดยต้องฟังว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 นั้น ไม่ได้เป็นคู่ความ ในคดีอาญาดังกล่าว ศาลจะรับฟังข้อวินิจฉัยส่วนอาญาดังกล่าวมาเป็นข้อเท็จจริงอันคดีแพ่ง ต้องถือตามหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 856, 859 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 172

คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีการค้าของธนาคารโจทก์ได้บรรยายที่มาแห่งหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามความรับผิดของจำเลยทั้งสามที่มีต่อโจทก์และการคิดดอกเบี้ยตลอดจนจำนวนหนี้ที่คำนวณถึงวันฟ้องโดยละเอียดและชัดแจ้งเป็นที่เข้าใจได้อย่างดีว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์เพราะเหตุใดจำเลยทั้งสามได้ชำระหนี้ให้โจทก์ไปแล้วเป็นจำนวนเงินเท่าใดและจำเลยทั้งสามยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นจำนวนเงินเท่าใดจึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วโจทก์หาต้องแบบหลักฐานหรือเอกสารแสดงรายละเอียดการเบิกเงินการชำระเงินการหักทอนบัญชีและการคิดดอกเบี้ยในแต่ละเดือนมาพร้อมกับคำฟ้องไม่เพราะเป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบกันต่อไปในชั้นพิจารณาคำฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ไม่เคลือบคลุม จำเลยที่1ได้เปิดบัญชีเดินสะพัดประเภทเงินฝากกระแสรายวันไว้กับธนาคารโจทก์ต่อมาจำเลยที่1ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวในวงเงิน16,500,000บาทโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้กรณีเช่นนี้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ซึ่งมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้คืนจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาต่อกันหรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้หักทอนบัญชีและให้ชำระหนี้ที่มีต่อกันแล้วสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องจำเลยที่1ให้ชำระหนี้คงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา856และ859ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังมิได้เลิกกันโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะเลิกกัน ตามรายการในบัญชีของโจทก์ระบุข้อความไว้ถึงจำนวนวงเงินเบิกเกินบัญชีอัตราดอกเบี้ยและวันครบกำหนดไว้ว่าเป็นวันที่30ธันวาคม2528ซึ่งเป็นเพียงวิธีปฏิบัติทางบัญชีภายในของโจทก์มิได้ผูกพันถึงจำเลยที่1ด้วยและจำเลยที่1และที่2ก็มิได้ตกลงกันให้การเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่1ครบกำหนดตามวันที่ระบุไว้ตามรายการในบัญชีดังกล่าวทั้งตามรายการในบัญชีที่โจทก์ยกยอดมาตั้งเป็นบัญชีใหม่เมื่อวันที่30สิงหาคม2528ในช่องวันครบกำหนดก็มิได้ระบุวันครบกำหนดไว้และโจทก์ยังคงคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่1ต่อไปดังนั้นจึงไม่อาจถือว่าโจทก์และจำเลยที่1ตกลงถือเอาวันที่ระบุไว้ในบัญชีเป็นวันครบกำหนดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและมีการต่อสัญญากันจนถึงวันที่30ธันวาคม2528อันเป็นวันสิ้นสุดของสัญญาไม่แม้หลังจากวันที่30ธันวาคม2528จะปรากฏว่าจำเลยที่1ไม่เคยเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวอีกและมียอดเงินในบัญชียังไม่เกินวงเงินตามข้อตกลงในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีคงปรากฏแต่รายการที่จำเลยที่1นำเงินชำระต้นเงินและดอกเบี้ยเท่านั้นก็ตาแต่เมื่อไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงยังไม่สิ้นสุดลงโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญาได้จนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มิได้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืนไว้ส่งไปถึงจำเลยวันที่1มีนาคม2534และเรียกให้ชำระหนี้ค้างชำระแก่โจทก์ทั้งหมดภายใน30วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถามหากไม่ชำระให้ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ได้สิ้นสุดลงณวันครบกำหนดเวลาดังกล่าวจึงถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกและหักทอนบัญชีในวันที่ครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่31มีนาคม2534ซึ่งเป็นวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1เป็นอันสิ้นสุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 485

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 485/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1308, 1382 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 144, 145 (2), 188

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2)บัญญัติข้อยกเว้นไว้ว่าคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใดๆเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าคดีนี้โจทก์นำพยานมาสืบได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทยังไม่ครบ10ปีจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองเมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งจากที่ดินของโจทก์โจทก์จึงเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1308โจทก์พิสูจน์ได้ว่าโจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลยคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวจึงใช้ยันโจทก์ไม่ได้ คำพิพากษาที่ระบุไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2)นั้นมิได้หมายถึงเฉพาะกรณีคำพิพากษาในคดีที่มีคู่ความตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปเท่านั้นดังนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีไม่มีข้อพิพาทที่สั่งว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ร้องขอในคดีดังกล่าวมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองจึงอยู่ในบังคับบทบัญญัติมาตรา145(2)ด้วย โจทก์มิได้เป็นคู่ความในคดีที่จำเลยร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินกับจำเลยจึงถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2)และการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 425, 887 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 242, 243

ปัญหาว่าเหตุรถชนเกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าพนักงานตำรวจฝ่ายเดียวหรือเจ้าพนักงานตำรวจมีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าจำเลยที่1ซึ่งศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้นจำเลยที่3ได้ยกปัญหาข้อนี้ต่อสู้ไว้ในคำให้การแม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่3จะไม่ได้อุทธรณ์เพราะจำเลยที่3ชนะคดีในศาลชั้นต้นแต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยที่3ร่วมรับผิดจำเลยที่3ก็ยกปัญหาข้อนี้ต่อสู้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยที่3ต้องร่วมรับผิดศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ด้วยที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อนี้โดยอ้างว่าจำเลยที่3ไม่ได้อุทธรณ์จึงไม่ชอบ เจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงขับรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงติดตามจับกุมจำเลยที่1ที่ขับรถฝ่าฝืนกฎจราจรจำเลยที่1กลับขับรถส่ายไปมาและยกกระบะท้ายรถให้หินเกล็ดที่บรรทุกร่วงหล่นลงมากีดขวางเส้นทางจราจรเจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงขับแซงรถยนต์ที่จำเลยที่1ขับไปได้ครึ่งคันจำเลยที่1ก็หักรถเข้ามาชนรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงเป็นเหตุให้รถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงเสียหลักขวางถนนจึงถูกรถยนต์ที่จำเลยที่1ขับชนซ้ำอีกครั้งทำให้รถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงตกลงไปในคลองดังนี้เหตุรถชนกันจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่1ฝ่ายเดียว ขณะเกิดเหตุรถยนต์ชนเป็นเวลาที่อยู่ระหว่างจำเลยที่1ขับรถหลบหนี้เจ้าพนักงานตำรวจเพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทางของจำเลยที่2ผู้เป็นนายจ้างประสงค์แม้การกระทำของจำเลยที่1ในขณะเดียวกันนั้นจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญาในข้อหาต่างๆด้วยก็เป็นการกระทำความผิดในทางอาญาโดยลำพังส่วนความรับผิดของจำเลยที่1ในทางแพ่งที่จำเลยที่1กระทำโดยประมาทเลินเล่อขับรถชนรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงจนได้รับความเสียหายนั้นยังเป็นการกระทำที่อยู่ในทางการที่จ้างของจำเลยที่2ซึ่งจำเลยที่2จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1 รถยนต์ของจำเลยที่2ซึ่งจำเลยที่3เป็นผู้รับประกันคันเกิดเหตุขณะเกิดเหตุได้ทำการบรรทุกหินไปตามถนนโดยไม่ปรากฏว่าใช้รถยนต์ดังกล่าวบรรทุกสิ่งของใดๆที่ผิดกฎหมายหรือจำเลยที่1และที่2มีเจตนามาแต่แรกที่จะใช้รถยนต์คันดังกล่าวกระทำผิดกฎหมายแม้จำเลยที่1ผู้ขับจะขับรถผิดกฎจราจรและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่อันเป็นความผิดอาญาก็เป็นการกระทำต่างหากจากการใช้รถยนต์บรรทุกหินโดยชอบและเหตุที่รถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่1ผู้ขับรถยนต์บรรทุกดังกล่าวโดยลำพังถือไม่ได้ว่าการใช้รถยนต์คันเกิดเหตุเป็นการใช้ในทางที่ผิดกฎหมายตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัยอันจะทำให้จำเลยที่3ได้รับยกเว้นไม่ต้องรับผิดแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2104

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2104/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 18, 420

โจทก์และจำเลยที่1มีรายได้จากการจัดทำพระรูปปั้นจำลองออกจำหน่ายเหมือนกันโจทก์ใช้ชื่อ"จตุรเสนาสมาคม"มาก่อนจำเลยที่2เคยเป็นกรรมการสมาคมของโจทก์มาก่อนโดยเป็นเหรัญญิกแล้วจึงมาเป็นกรรมการของจำเลยที่1จำเลยที่2มีส่วนรู้เห็นในการตั้งชื่อสมาคมโจทก์มาก่อนและจำเลยที่2ทราบดีว่าโจทก์หารายได้จากไหนมาหลังจากจำเลยที่2ลาออกจากสมาคมโจทก์แล้วจึงมาตั้งสมาคมจำเลยที่1ขึ้นมาใหม่โดยจำเลยที่2เป็นผู้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อจากธรรมโชคเป็นจตุระสมาคม การที่จำเลยที่2ซึ่งเป็นนายกสมาคมจำเลยที่1รู้ถึงการใช้ชื่อและการดำเนินการของโจทก์อยู่ก่อนนั้นและจำเลยที่2ได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อจำเลยที่1จากเดิมมาเป็นจตุระสมาคม และดำเนินการขายพระรูปปั้นจำลองเช่นเดียวกับโจทก์แม้ชื่อโจทก์จะมี7พยางค์และจำเลยที่1มี5พยางค์และตัวสระแตกต่างกันแต่คำนำหน้าเหมือนกันและอ่านออกเสียงเหมือนกันประชาชนทั่วไปอาจเกิดความสับสนได้การที่จำเลยที่1กระทำเห็นเจตนาได้ว่าจำเลยที่1เปลี่ยนชื่อของตนโดยจงใจเลียนชื่อโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิห้ามมิให้จำเลยที่1ใช้ชื่อดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420, 425, 438 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55, 130

ธนาคารจำเลยที่1จ่ายเงินตามเช็คจำนวน16ฉบับเป็นการจ่ายเงินฝากของโจทก์ส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งเป็นการจ่ายเงินตามข้อตกลงตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1และจำเลยที่1ก็ได้นำจำนวนเงินตามเช็คพิพาทไปหักทอนบัญชีกระแสรายวันของโจทก์โดยอ้างว่าการกระทำของจำเลยที่1ถูกต้องแล้วและเมื่อโจทก์ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับสัญญาบัญชีกระแสรายวันและแจ้งจำเลยที่1และจำเลยที่3สมุห์บัญชีธนาคารจำเลยที่1ให้เพิกถอนรายการเช็คพิพาทที่นำมาลงบัญชีกระแสรายวันของโจทก์โดยไม่ถูกต้องออกเสียแต่จำเลยที่1และที่3ก็มิได้ปฏิบัติตามและยังคงถือว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยที่1ตามรายการที่ลงในบัญชีกระแสรายวันดังนี้การกระทำของจำเลยที่1และที่3ดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายและเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ผลการตรวจพิสูจน์ของกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจซึ่งส.ผู้เชี่ยวชาญของศาลเป็นผู้ตรวจพิสูจน์โดยเปรียบเทียบลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทกับลายมือชื่อตัวอย่างของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่1และลายมือชื่อของโจทก์ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายในเช็คแล้วส.มีความเห็นว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันแม้ส. จะมิได้มาเบิกความประกอบรายงานการตรวจพิสูจน์ก็รับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา130 ลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทมิใช่ลายมือชื่อของโจทก์และเป็นลายมือชื่อปลอมการที่จำเลยที่1ประกอบธุรกิจการธนาคารซึ่งเป็นธุรกิจอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนการรับฝากเงินและการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นธุรกิจส่วนหนึ่งของจำเลยที่1ซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำและโดยที่จำเลยที่3เป็นสมุห์บัญชีลูกจ้างของจำเลยที่1มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของข้อความในเช็คและลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คที่นำมาขอเบิกเงินจากธนาคารของจำเลยที่1จ ำเลยที่3ย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คว่าเป็นลายมือชื่อของลูกค้าผู้สั่งจ่ายหรือไม่ยิ่งกว่าบุคคลธรรมดาทั้งจำเลยที่3จะต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่วๆไปเพราะเป็นงานในหน้าที่ของจำเลยที่3ที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำการที่จำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารจำเลยที่1และจำเลยที่3จ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้แก่ผู้นำมาเรียกเก็บเงินไปโดยที่ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คดังกาวไม่ใช่ลายมือชื่อโจทก์ทั้งที่มีตัวอย่างลายมือชื่อโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่1กับมีเช็คอีกหลายฉบับที่โจทก์เคยสั่งจ่ายไว้อยู่ที่จำเลยที่1ยิ่งกว่านั้นลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทก็มีลักษณะแตกต่างกับตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่1ค่อนข้างชัดเจนซึ่งหากได้ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดรอบคอบจะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเป็นลายมือชื่อปลอมการกระทำของจำเลยที่2และที่3จึงเป็นการกระทำที่ขาดความระมัดระวังในฐานะที่จำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทอันเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่1ในฐานะนายจ้างและจำเลยที่3จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420และมาตรา425 โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและแจ้งให้จำเลยที่1และที่3เพิกถอนรายการที่ไม่ถูกต้องขอให้จำเลยที่1และที่3เพิกถอนรายการตามใบแจ้งรายการบัญชีโดยให้ถือว่ามิได้มีการเบิกถอนเงินตามเช็คพิพาทและงดคิดดอกเบี้ยตามเช็คดังกล่าวหรือมิฉะนั้นให้จำเลยที่1และที่3ร่วมกันหรือแทนกันนำเงินจำนวน625,365บาทพร้อมทั้งดอกเบี้ยซึ่งคิดเอาจากบัญชีของโจทก์ส่งคืนบัญชีโจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามกฎหมายและให้จำเลยที่1หักทอนบัญชีเพื่อจะทราบว่ามียอดหนี้ค้างชำระกันในขณะนี้เป็นจำนวนเท่าใดแต่จำเลยที่1และที่3ไม่ยอมที่จะเพิกถอนรายการตามใบแจ้งรายการบัญชีโดยให้ถือว่ามิได้มีการเบิกถอนเงินตามเช็คพิพาทและงดคิดดอกเบี้ยตามเช็คดังที่โจทก์เรียกร้องและโจทก์ได้เลือกฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวที่จำเลยที่1คิดเอาจากโจทก์โดยกล่าวหาว่าจำเลยที่1และที่3กระทำละเมิดต่อโจทก์จึงเท่ากับโจทก์ยอมรับยอดเงินตามรายการในบัญชีเดินสะพัดที่จำเลยที่1เรียกร้องเอาจากโจทก์และฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นตัวเงินเอาจากจำเลยที่1และที่3ซึ่งโจทก์ชอบที่จะเลือกได้เมื่อจำเลยที่1และที่3จะต้องรับผิดในการกระทำละเมิดต่อโจทก์และจำเลยที่1และที่3ไม่ยอมเพิกถอนรายการในบัญชีเดินสะพัดเช่นนี้จึงชอบที่จะบังคับให้จำเลยที่1และที่3ชดใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์เลือกจำเลยที่1และที่3จึงต้องร่วมกันชำระเงินจำนวน625,365บาทพร้อมทั้งดอกเบี้ยซึ่งจำเลยที่1และที่3คิดเอาจากบัญชีของโจทก์คืนอันถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่1และที่3ให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา438ซึ่งจำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยที่1และที่3คิดเอาจากโจทก์เป็นจำนวน16,170.94บาทโจทก์ก็ชอบที่จะได้รับชดใช้คืนเป็นค่าเสียหายด้วยสำหรับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ15ต่อปีนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จก็เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอัตราที่จำเลยที่1เรียกเก็บจากโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวจากจำเลยที่1และที่3ได้โดยเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งที่โจทก์ได้รับเนื่องจากจำเลยที่1และที่3คิดดอกเบี้ยเอาจากโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1944

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1943 - 1944/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 5 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55

โจทก์รู้เห็นยินยอมในการที่น. นำที่ดินพิพาทไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.)จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากม. โดยถือตามหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.)โจทก์จะอ้างว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับม. ไม่สมบูรณ์เนื่องจากการซื้อขายครั้งก่อนๆฝ่าฝืนข้อกำหนดห้ามโอนและโจทก์จะใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.)กับขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทหาได้ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

« »
ติดต่อเราทาง LINE