คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2540

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 535 - 536/2540

พระราชบัญญัติการพนัน ม. 4, 10, 12

กฎกระทรวงฉบับที่23(พ.ศ.2530)ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนันฯระบุถึงการเล่นการพนันตามบัญชีลำดับที่28ท้ายพระราชบัญญัติการพนันฯไว้ว่าเครื่องเล่นซึ่งใช้เครื่องกลพลังไฟฟ้าพลังแสงสว่างหรือพลังอื่นใดที่ใช้เล่นโดยวิธีสัมผัสเลื่อนกดฯลฯโยกหมุนหรือวิธีอื่นใดซึ่งสามารถทำให้แพ้ชนะกันได้ไม่ว่าจะโดยมีการนับแต้มหรือเครื่องหมายใดๆหรือไม่ก็ตามนั้นบ่งบอกความหมายอยู่ในตัวว่าเป็นการแพ้ชนะกันระหว่างบุคคลซึ่งเป็นผู้เล่นด้วยกันหรือบุคคลอื่นตั้งแต่2ฝ่ายขึ้นไปสำหรับสภาพของตู้วีดีโอเกมส์ของกลางทั้งสองตู้ในคดีนี้เป็นเครื่องเล่นเกมส์ที่มุ่งประสงค์จะให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินและเพิ่มทักษะแก่ผู้เล่นเพียงอย่างเดียวมิได้มุ่งประสงค์ให้ใช้เป็นเครื่องเล่นการพนันแต่อย่างใดแม้ผู้เล่นจะต้องหยอดเหรียญชนิดราคา5บาทหรือ10บาทเข้าไปในเครื่องก่อนที่ผู้เล่นจะเริ่มเล่นเพื่อให้เครื่องทำงานแต่การหยอดเหรียญดังกล่าวก็ถือได้ว่าผู้เล่นได้จ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนการเล่นการพนันเงินที่ว่านี้หาใช่เงินสินพนันไม่ส่วนที่เกมส์มีการต่อสู้และมีการแพ้ชนะกันระหว่างตัวเล่นทั้งมีจำนวนแต้มหรือจำนวนคะแนนปรากฎขึ้นที่จอภาพของเครื่องเล่นก็เป็นเรื่องเนื้อหาของเกมส์การเล่นแต่ละประเภทที่ผู้คิดสร้างสรรค์เกมส์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อฝึกทักษะของผู้เล่นหากผู้เล่นไม่นำเอาผลแพ้ชนะของตัวเล่นเกมส์ดังกล่าวไปเล่นพนันเพื่อการแพ้ชนะระหว่างบุคคลซึ่งเป็นผู้เล่นด้วยกันหรือบุคคลอื่นตั้งแต่2ฝ่ายขึ้นไปเกมส์นั้นก็มิใช่เกมส์การพนันแต่อย่างใดเมื่อตู้วิดีโอเกมส์ของกลางมิได้มีคุณสมบัติที่มีไว้เพื่อใช้เป็นเครื่องเล่นการพนันโดยเฉพาะเพียงอย่างเดียวตู้วีดีโอเกมส์ดังกล่าวจึงมิใช่เครื่องเล่นการพนันที่ผู้เล่นจะต้องมีความผิดตามที่ระบุไว้ในบัญชีขอันดับที่28ท้ายพระราชบัญญัติการพนันฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 171, 213, 368 บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร

โจทก์และจำเลยได้ร่วมดำเนินการขนส่งเอกสารหรือพัสดุภัณฑ์ย่อยทางอากาศตามสัญญาให้ดำเนินการแต่เพียงผู้เดียวโดยจำเลยเป็นผู้ดำเนินการในประเทศไทยสัญญานี้ตกลงให้ค่าตอบแทนตามตารางก.ว่าจำเลยมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนร้อยละ60ของรายรับตามที่ได้ออกใบรับให้แก่การขนส่งขาออกและต้องจ่ายค่าตอบแทนให้โจทก์ร้อยละ40ของรายรับตามที่ได้ออกใบรับนั้นทั้งจำเลยต้องดำเนินการจัดส่งสิ่งของที่โจทก์ส่งเข้ามาในประเทศไทยโดยไม่คิดค่าตอบแทนสัญญาฉบับนี้ตารางก. เรื่องค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทนกำหนดไว้ว่าโจทก์จะได้รับค่าตอบแทนอัตราร้อยละ40ของรายรับตามที่ได้ออกใบรับ(revenuesbilled)เป็นการตกลงให้โจทก์มีสิทธิจะได้รับส่วนแบ่งตามยอดรายรับตามที่ได้มีการเรียกเก็บเงินโดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยจะเก็บเงินได้น้อยกว่าใบรับหรือไม่จำเลยจึงต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่โจทก์ตามตัวเลขรายรับที่ได้ออกใบรับทุกรายการแม้ตามสัญญาข้อ10จะหมายถึงการเรียกเก็บเงินปลายทางซึ่งคู่สัญญาฝ่ายที่เป็นผู้ส่งของจะต้องรับผิดชอบการเรียกเก็บเงินแม้จะเรียกเก็บเงินไม่ได้ไม่ได้หมายถึงการเรียกเก็บเงินต้นทางก็ตามก็ไม่มีเหตุผลที่จะแปลสัญญาดังกล่าวไปในทางที่ว่าการคำนวณส่วนแบ่งของรายรับตามตารางก.เฉพาะกรณีเรียกเก็บเงินต้นทางเท่านั้นที่จะต้องคำนวณจากรายรับที่จำเลยเรียกเก็บได้จริงแต่กรณีเรียกเก็บเงินปลายทางจำเลยจะให้คำนวณจากรายรับที่ได้ออกใบรับแล้วโดยไม่คำนึงว่าโจทก์จะเรียกเก็บเงินได้จริงหรือไม่เพราะไม่มีข้อความใดในตารางก.ที่จะแสดงให้เห็นดังกล่าว ตามสัญญาข้อ6ระบุว่าในระหว่างอายุสัญญาคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะต้องไม่เป็นผู้ดำเนินการรับส่งของให้แก่บุคคลอื่นใดซึ่งประกอบธุรกิจขนส่งทางอากาศอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งก่อนเมื่อปรากฎว่าการขนส่งในช่วงวันที่1กรกฎาคม2533ถึงวันที่31กรกฎาคม2534ซึ่งอยู่ในช่วงอายุสัญญามีบริษัท2บริษัทรับส่งเอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยจากลูกค้าในประเทศไทยไปยังต่างประเทศโดยผ่านบริษัทโจทก์ที่ประเทศสิงคโปร์ ดังนั้นการที่บริษัทโจทก์สำนักงานที่ประเทศสิงคโปร์รับส่งเอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยทางอากาศจากบริษัทพ.และบริษัทอ.ซึ่งเป็นบริษัทในประเทศไทยเพื่อส่งต่อไปนั้นแม้บริษัททั้งสองจะไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือชื่อทางการค้าของโจทก์ในการประกอบธุรกิจก็ตามแต่บริษัททั้งสองบริษัทดังกล่าวก็ได้อ้างอิงเครื่องหมายการค้าหรือชื่อทางการค้าของโจทก์ในการประกอบธุรกิจด้วยจึงทำให้ผู้ส่งเอกสารด่วนหรือพัสดุภัณฑ์ย่อยทางอากาศในประเทศไทยไม่จำต้องใช้บริษัทของจำเลยแม้ใช้บริการของบุคคลอื่นก็มีผลทำให้เอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยของตนได้รับการขนส่งจากโจทก์จนถึงผู้รับปลายทางในต่างประเทศได้การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงถือว่าเป็นการดำเนินการรับส่งของให้แก่บุคคลอื่นซึ่งประกอบธุรกิจขนส่งทางอากาศอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของจำเลยต้องห้ามตามสัญญาข้อ6แล้ว ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรเรื่องใบมอบอำนาจระบุไว้ในข้อ7(ข)ว่ามอบอำนาจให้แก่บุคคลเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียวค่าอากรแสตมป์30บาทและระบุในข้อ7(ค)ว่ามอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันคิดตามรายตัวบุคคลคนละ30บาทใบมอบฉันทะพิพาทแม้จะเป็นการมอบอำนาจแก่บุคคลหลายคนก็ตามแต่เป็นกรณีร่วมกันกระทำการกล่าวคือส.และ/หรืออ.รวมกระทำการฟ้องร้องคดีนี้เพียงกิจการเดียวมิใช่ต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันฟ้องร้องหลายคดีใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์เช่นนี้จึงปิดอากรแสตมป์เพียง30บาทถูกต้องตามประมวลรัษฎากรข้อ7แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 40, 88 วรรคสอง,

ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคสองที่กำหนดให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่า7วันนั้นหมายความว่าจะต้องเป็นวันนัดที่ได้มีการสืบพยานกันจริงๆแต่ถ้าหากถึงวันนัดแล้วศาลอนุญาตให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเลื่อนคดีได้ก็ไม่ถือว่าวันนัดดังกล่าวเป็นวันนัดสืบพยานตามความหมายของมาตรา88วรรคสอง ในวันนัดสืบพยานโจทก์ทนายโจทก์มาศาลและแถลงขอเลื่อนคดีอ้างว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์ซึ่งต้องเบิกความเป็นพยานต่อศาลติดธุระไม่สามารถมาศาลได้ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาสั่งเกี่ยวกับการขอเลื่อนคดีของโจทก์เสียก่อนเพราะถ้าหากศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีได้วันนัดดังกล่าวก็ไม่เป็นวันนัดสืบพยานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคสองและโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งใหม่ให้ถูกต้องได้การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งงดสืบพยานโจทก์เสียก่อนโดยไม่ได้พิจารณาสั่งเรื่องการขอเลื่อนคดีของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นการไม่ถูกต้อง โจทก์ฎีกาปัญหาข้อกฎหมายโดยขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามรูปคดีจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล200บาทตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง1ข้อ2กแต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2318

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2318/2540

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

เมื่อปรากฎว่าหนังสือการโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินเป็นเอกสารที่โจทก์มีหน้าที่ต้องถ่ายสำเนาแพร่ให้สำนักงานการคลังซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบการที่โจทก์ไม่กระทำตามหน้าที่จนมีการจ่ายเงินผิดพลาดถือว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อบกพร่องต่อหน้าที่ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจำเลยมีคำสั่งลงโทษทางวินัยแก่โจทก์และให้โจทก์รับผิดชดใช้ค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2540

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 59, 90, 91, 273, 275 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 15, 39 (4) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 249

คำฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา273และ275ระบุว่าจำเลยกระทำผิดเมื่อระหว่างวันที่1มกราคม2531ถึงวันที่28กรกฎาคม2531วันเวลาใดไม่ปรากฎชัดส่วนในคำฟ้องคดีเดิมโจทก์ฟ้องระบุว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่19มกราคม2531ดังนี้เวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมจึงเป็นเวลาเดียวกันเพราะวันที่จำเลยกระทำผิดคดีนี้อาจเป็นวันที่19มกราคม2531เวลากลางวันดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้เมื่อการกระทำของจำเลยในความผิด2กรรมทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกันซึ่งใช้กับสินค้าเหมือนกันและจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกันทั้งคำฟ้องคดีเดิมและคดีนี้โจทก์ก็ระบุว่าจำเลยกระทำความผิดในเวลาและสถานที่เดียวกันเป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกันความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิด2กรรมที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในคดีเดิมและเมื่อคดีอาญาเดิมดังกล่าวศาลได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ร่วมนำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าดอกทานตะวันของบริษัทเดียวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องคดีนี้และเสนอจำหน่ายสินค้าใบชากลิ่นมะลิตราดอกทานตะวันโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมจำเลยไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้องพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดดังนั้นเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วจึงนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(4) สำหรับความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา271ที่โจทก์กล่าวหาจำเลยนั้นเมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยได้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงอย่างไรบ้างหากแต่โจทก์ร่วมไปซื้อสินค้าพิพาทจากบุคคลอื่นที่วางขายในห้างสรรพสินค้าเองจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าวกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อหานี้เป็นฟ้องซ้ำกับข้อหาในคดีอาญาเรื่องเดิมหรือไม่เพราะแม้จะวินิจฉัยให้ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1608

พินัยกรรมของพ. มีข้อความว่าเมื่อข้าพเจ้าเสียชีวิตลงให้ทรัพย์มรดกของข้าพเจ้าแก่จำเลยแต่เพียงผู้เดียวคำว่าทรัพย์มรดกของข้าพเจ้าแสดงว่าต้องการยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่จำเลยแต่เพียงผู้เดียวแม้ในตอนท้ายของพินัยกรรมจะระบุเลขที่โฉนดที่ดินทรัพย์มรดกไว้ด้วยก็ไม่ทำให้ทรัพย์มรดกอื่นที่มิได้แจ้งรายละเอียดไว้ในพินัยกรรมเป็นทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรมไปได้เมื่อพ. ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่จำเลยแล้วจึงถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมถูกตัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1608วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 168 เดิม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 271 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 94 (1)

หนี้ตามคำพิพากษาที่ผู้ร้องนำมายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเป็นสิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาลซึ่งมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา168เดิมแต่เจ้าหนี้ได้นำหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายเมื่อพ้น10ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาแล้วหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวจึงขาดอายุความและถือเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา94(1)การที่เจ้าหนี้ได้ดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาภายใน10ปีและได้เงินมาบางส่วนแล้วนั้นไม่ใช่เป็นการทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีที่จะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงและแม้หนี้ตามคำพิพากษานั้นเจ้าหนี้ได้นำมาเป็นมูลฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายจนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วก็ตามก็ไม่ผูกพันศาลต้องถือตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 368 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 271

การตีความสัญญาต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา368 สาเหตุที่จำเลยจำต้องปิดถนนอันเป็นมูลเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องร้องเป็นคดีนี้เกิดจากการที่โจทก์ทั้งสี่ขนวัสดุก่อสร้างเข้าไปปลูกสร้างบ้านและอาคารในที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ตามแผนที่ท้ายฟ้องผ่านถนนของจำเลยโดยไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนให้แก่จำเลยและทำให้ถนนของจำเลยได้รับความเสียหายเมื่อโจทก์ทั้งสี่เสนอจะซ่อมแซมถนนและจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนในการใช้ถนนให้จำเลยจึงยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความและเปิดถนนให้โจทก์ทั้งสี่ใช้ประโยชน์ตามเดิมดังนั้นวัตถุประสงค์ของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความก็เพื่อให้จำเลยได้รับค่าตอบแทนจากการขนวัสดุก่อสร้างผ่านถนนของจำเลยเข้าไปปลูกสร้างในที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้องไม่ว่าโจทก์ทั้งสี่จะดำเนินการเองหรือให้บุคคลอื่นทำก็ตามเมื่อโจทก์ทั้งสี่ได้รับประโยชน์ก็ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนจากการใช้ถนนให้แก่จำเลยทั้งนั้นและการที่โจทก์ทั้งสี่ขายที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้องให้บุคคลอื่นปลูกบ้านนั้นย่อมถือเสมือนว่าโจทก์ทั้งสี่จัดให้มีการปลูกสร้างในที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้องและโจทก์ทั้งสี่ก็ได้รับผลประโยชน์จากการขายที่ดินถือว่าโจทก์ทั้งสี่ได้รับประโยชน์ตามเงื่อนไขในสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วจึงต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1727 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 127

แม้บัตรประจำตัวประชาชนจะเป็นเอกสารราชการซึ่งให้สันนิษฐานว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริงตามแต่ก็มิได้มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่ห้ามมิให้คู่ความนำสืบหรือห้ามมิให้ศาลรับฟังเป็นอย่างอื่นการที่โจทก์อ้างว่าโจทก์คือนายห.บุตรนางข.คนหนึ่งแต่เหตุที่โจทก์มีชื่อในบัตรประจำตัวประชาชนว่านายน.ก็เพราะโจทก์หลบหนีคดีอาญาโจทก์จึงแจ้งชื่อของโจทก์และชื่อบิดามารดาของโจทก์ใหม่เพื่อไม่ให้คนอื่นรู้ว่าโจทก์คือนายห.นั้นนอกจากโจทก์จะอ้างตนเองเป็นพยานแล้วโจทก์ยังมีนายล.ซึ่งเคยเป็นครูสอนหนังสือโจทก์และต่อมารับราชการเป็นปลัดอำเภอเบิกความสอดคล้องกับนางก. ญาติทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยและนางส. เพื่อนบ้านซึ่งรู้จักโจทก์มาตั้งแต่เล็กๆโดยต่างยืนยันว่าโจทก์คือนายห. บุตรนายอ. กับนางข. ทั้งยังมีสัสดีจังหวัดเบิกความรับรองบัญชีรายนามทหารกองเกินและทหารกองหนุนว่านายห. เกิดปี2469เป็นบุตรนายอ. กับนางข.มีตำหนิแผลเป็นนิ้วชี้มือซ้ายตรงกับบัตรประจำตัวประชาชนที่ระบุว่าโจทก์เกิดปี2469และตำหนิแผลเป็นที่นิ้วมือชี้ด้านซ้ายก็ตรงกับที่ศาลตรวจดูตัวโจทก์และบันทึกไว้ในคำเบิกความของโจทก์ด้วยเมื่อรับฟังพยานบุคคลและพยานเอกสารของโจทก์ประกอบกันแล้วทำให้พยานโจทก์มีน้ำหนักฟังได้ว่าโจทก์คือนายห. บุตรนางข.โจทก์จึงมีอำนาจร้องขอถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนางข. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1727

การที่ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้นผู้คัดค้านต้องบรรยายในคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกให้ปรากฎว่าผู้ร้องละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือทำผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามกฎหมายอย่างใดหรือกระทำการใดซึ่งจะเป็นที่เสื่อมประโยชน์ต่อกองมรดกของผู้ตายหรือทำให้ทายาทอื่นเสียหายประการใดอันจะเป็นเหตุที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกแต่ตามคำคัดค้านของผู้คัดค้านระบุเพียงว่าผู้ร้องมีอายุถึง75ปีแล้วไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้โดยมิได้บรรยายถึงเหตุที่ว่าไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้นั้นเป็นอย่างใดที่ว่าพฤติการณ์ที่ผ่านมาเจ้ามรดกมิได้ไว้วางใจให้ดูแลทรัพย์สินหรือเกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกก็มิได้เป็นเหตุถึงขนาดที่ผู้ร้องจะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายไม่ได้ส่วนข้ออ้างที่ว่าผู้ร้องปกปิดผู้คัดค้านในการมาร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะขอให้ถอนผู้จัดการมรดกได้ดังนั้นคำคัดค้านของผู้คัดค้านจึงไม่ต้องด้วยบทกฎหมายที่จะขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ศาลจึงไม่จำต้องทำการไต่สวนคำคัดค้านของผู้คัดค้าน

« »
ติดต่อเราทาง LINE