คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2539
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2769/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 16, 292, 302 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 119, 153
คำร้องที่ขอให้ศาลงดการบังคับคดีเป็นคำร้องที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีศาลที่มีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องคือศาลแพ่งซึ่งเป็นศาลที่พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนี้ในศาลชั้นต้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา302วรรคหนึ่งศาลจังหวัดตราดซึ่งเป็นศาลที่ได้รับมอบหมายจากศาลแพ่งให้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์โดยขายทอดตลาดแทนไม่มีอำนาจสั่งให้งดการบังคับคดีตามคำร้องของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2760 - 2761/2539
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 317 วรรคแรก
การที่จำเลยพาผู้เสียหายที่2อายุ14ปีไปในที่ต่างๆโดยบิดามารดาของผู้เสียหายที่2ไม่ทราบว่าไปไหนเป็นเวลาหลายชั่วโมงย่อมเป็นการละเมิดต่ออำนาจปกครองของผู้ปกครองแม้ผู้เสียหายที่2จะสมัครใจไปด้วยและจำเลยมิได้กระทำชำเราผู้เสียหายที่2ก็เป็นการพรากเด็กอายุไม่เกิน15ปีไปเสียจากผู้ปกครองโดยปราศจากเหตุอันสมควรตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา317วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 158 (6), 193 วรรคสอง พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ม. 92
แม้ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะไม่ได้อ้างมาตรา92แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522ไว้แต่โจทก์ก็ได้อ้างพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ(ฉบับที่2)พ.ศ.2528มาตรา9ซึ่งเป็นบทที่ให้ยกเลิกมาตรา92แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522และให้ใช้มาตรา92ใหม่แทนการอ้างถึงมาตรา9แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ(ฉบับที่2)พ.ศ.2528ก็คือการอ้างถึงมาตร92ที่แก้ไขใหม่แล้วนั่นเองถือได้ว่าโจทก์ได้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการเสพกัญชาเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(6)แล้ว ที่โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษนั้นโจทก์ไม่ได้ให้เหตุผลว่าเหตุใดจึงไม่ควรรอการลงโทษให้จำเลยในความผิดฐานร่วมกันเสพกัญชาโดยฝ่าฝืนกฎหมายจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา193วรรคสองประกอบด้วยมาตรา225ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2705/2539
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 33 (1), 336 ทวิ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 226, 227
คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายซึ่งเป็นประจักษ์พยานสอดคล้องกับคำเบิกความของพยานโจทก์ซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านที่ผู้เสียหายมาแจ้งเหตุหลังเกิดเหตุแทบทันทีระบุชื่อจำเลยเป็นคนร้ายผู้เสียหายร้องทุกข์ในคืนเกิดเหตุและให้การต่อพนักงานสอบสวนในวันรุ่งขึ้นทั้งออกติดตามพบทรัพย์ที่ถูกคนร้ายลักไปและรถจักรยานยนต์ที่อ้างว่าจำเลยขับไปลักทรัพย์ผู้เสียหายน่าเชื่อว่าผู้เสียหายให้การชั้นสอบสวนตามความจริงที่ได้รู้เห็นมาโดยปราศจากเหตุจูงใจการที่ผู้เสียหายมาเบิกความชั้นศาลโดยพยายามบ่ายเบี่ยงข้อเท็จจริงให้สับสนว่าจำเลยไม่ใช่คนร้ายรายนั้นคงเพื่อช่วยเหลือจำเลยให้พ้นผิดเชื่อได้ว่าคำให้การของผู้เสียหายเป็นความจริงยิ่งกว่าคำเบิกความชั้นศาลทั้งคำให้การของผู้เสียหายชั้นสอบสวนก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไม่ให้รับฟังประกอบเป็นข้อพิจารณาของศาลเมื่อรับฟังประกอบพยานอื่นตลอดจนพฤติการณ์แห่งคดีแล้วฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้อง การที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อความสะดวกในการลักทรัพย์การลักทรัพย์สำเร็จตั้งแต่เอาทรัพย์เคลื่อนที่ออกจากบริเวณบ้านผู้เสียหายการขับรถจักรยานยนต์มาลักทรัพย์แล้วพาทรัพย์หนีไปรถจักรยานยนต์มิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดฐานลักทรัพย์จึงไม่ริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2539
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 3 พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ม. 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 62, 89, 106 วรรคหนึ่ง, 106 ทวิ
ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่85(พ.ศ.2536)เรื่องกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2ซึ่งเป็นกฎหมายที่ประกาศใช้อยู่ในขณะกระทำผิดกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์เมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา106ทวิน้ำหนักไม่เกิน0.500กรัมแต่ต่อมาภายหลังได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)เรื่องกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่85(พ.ศ.2536)ดังกล่าวแล้วกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2ตามมาตรา106ทวิน้ำหนักซึ่งได้คำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วไม่เกิน0.500กรัมประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่85(พ.ศ.2536)เป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดจึงต้องใช้ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)ในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3 โจทก์มิได้นำสืบว่าเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองมีน้ำหนักซึ่งได้คำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วมีปริมาณเท่าใดเกิน0.500กรัมตามที่รัฐมนตรีกำหนดหรือไม่จึงไม่อาจฟังลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา106ทวิได้การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา62วรรคหนึ่ง,106วรรคหนึ่งเท่านั้น ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)ไม่มีผลถึงความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2ไว้ในครอบครองเพื่อขายตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา13ทวิวรรคหนึ่ง,89เพราะความผิดฐานนี้ไม่ได้กำหนดปริมาณของวัตถุออกฤทธิ์อันจะเป็นความผิดไว้และเมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา89ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วก็ไม่จำเป็นต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา106วรรคหนึ่งซึ่งเป็นบททั่วไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2704/2539
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 33 พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ม. 102
จำเลยซุกซ่อนฝิ่นไว้ในยางครอบเบรกของรถจักรยานยนต์ของกลางจึงถือได้ว่ารถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดซึ่งต้องริบตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522มาตรา102
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 140 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 94, 153
พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ไม่มีบทบัญญัติถึงวันที่ให้ถือว่าเป็นวันที่พิพากษาหรือมีคำสั่งคดีนั้นแต่มาตรา153บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมกรณีจึงอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา140วรรคท้ายซึ่งบัญญัติว่าเมื่อศาลได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งตามบทบัญญัติในมาตรานี้วันใดให้ถือว่าวันนั้นเป็นวันที่พิพากษาหรือมีคำสั่งคดีนั้นจึงต้องถือว่าวันที่4พฤศจิกายน2531เป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวไม่ใช่วันที17ตุลาคม2531ซึ่งร่างคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวยังอยู่ที่อธิบดีผู้พิพากษาภาค1และไม่สามารถอ่านในวันดังกล่าวได้ตามที่นัดไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2694/2539
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 332
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 332 ศาลจะให้ โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษามิได้ระบุให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งฉบับในหนังสือพิมพ์การที่จำเลยโฆษณาคำพิพากษาแต่บางส่วนในหนังสือพิมพ์โดยมีข้อความว่า จำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งสองและคดีถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จึงเป็นการโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ตรงตามคำพิพากษาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 138 (2), 148, 173 (1)
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันศาลชั้นต้นพิพากษาคดีตามยอมแล้วการที่จำเลยอุทธรณ์ว่าฟ้องคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่600/2537ของศาลชั้นต้นเพราะเป็นมูลคดีพิพาทเดียวกันอันเกิดจากการรับซื้อทรัพย์พิพาททั้งสองคดีเหมือนกันและคดีดังกล่าวโจทก์ได้ฟ้องจำเลยไว้ก่อนคดีนี้และขณะฟ้องคดีนี้คดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นนอกจากนี้พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลอายาธนบุรีเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่813/2536ในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรโดยขอให้ศาลสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์จำนวน360,000บาทแก่โจทก์คดีนี้ด้วยและศาลอาญาธนบุรีอนุญาตให้โจทก์คดีนี้ในฐานะผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าวเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในที่สุดศาลอาญาธนบุรีได้พิพากษายกฟ้องโจทก์จึงถือได้ว่าศาลอาญาธนบุรีได้มีคำพิพากษาชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีในส่วนแพ่งสิ้นสุดเด็ดขาดแล้วฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำนั้นเป็นการอุทธรณ์ว่าฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำและฟ้องซ้อนกับคดีอื่นอันเป็นการกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความของศาลชั้นต้นละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา138(2)ซึ่งจำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยนั้นจึงเป็นการไม่ชอบ ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่600/2537ของศาลชั้นต้นโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมยี่ห้อจูกิ12เครื่องจักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้ 4เครื่องและเครื่องตัดผ้าอุตสาหกรรม2เครื่องของโจทก์ที่ลูกจ้างของโจทก์นำไปขายให้แก่จำเลยซึ่งพนักงานสอบสวนยังไม่ได้ยึดคืนมาจากจำเลยส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนจักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้าของโจทก์อีก2เครื่องที่พนักงานสอบสวนยึดได้จากจำเลยเป็นของกลางแต่จำเลยได้ติดต่อขอรับคืนไปจากพนักงานสอบสวนในคดีอายาหมายเลขแดงที่4052/2536ภายหลังจากศาลอาญาธนบุรีพิพากษายกฟ้องแล้วจักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้า ในคดีนี้กับจักรพ้งอุตสาหกรรมในคดีแพ่งหมายเลขดำที่600/2537ของศาลชั้นต้นเป็นทรัพย์ต่างรายกันประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีไม่ใช่ประเด็นเดียวกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่600/2537ของศาลชั้นต้น คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ขึ้นใหม่ภายหลังจากที่ศาลอาญาธนบุรีพิพากษาคดีอาญาหมายเลขแดงที่4052/2536แล้วโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าจักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้า 2เครื่องในคดีนี้ที่พนักงานสอบสวนได้ยึดไว้เป็นของกลางนั้นเป็นของโจทก์แต่จำเลยยังติดต่อขอรับเอาจักรพ้งอุตสาหกรรมดังกล่าวไปจากพนักงานสอบสวนเป็นการกระทำต่างคราวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่4052/2536ของศาลอาญาธนบุรีในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรจักรพ้งอุตสาหกรรมดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2665/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 87, 90, 142 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 94, 107, 153
แม้ตามคำให้การสอบสวนของส. หัวหน้าแผนกสินเชื่อของเจ้าหนี้กับคำให้การของว. กรรมการบริษัทลูกหนี้ในสำนวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินและได้อ้างอิงเป็นพยานหลักฐานประกอบการวินิจฉัยคดีคำขอรับชำระหนี้นี้ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จะอยู่คนละสำนวนสาขาแต่ก็เป็นสำนวนคดีล้มละลายเดียวกันเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใช้สิทธิโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา107ก็ย่อมมีอำนาจนำพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องในประเด็นคำขอรับชำระหนี้มาพิจารณาทำความเห็นเสนอต่อศาลซึ่งเป็นการสอบสวนชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิใช่เป็นการสืบพยานโดยอาศัยบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งศาลย่อมรับฟังประกอบการวินิจฉัยคดีได้ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนโดยเจ้าหนี้ไม่มีโอกาสซักค้านพยาน