คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2539
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5273/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1713
การเป็นผู้จัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ที่ได้รับการตั้งไม่สามารถเป็นแทนกันได้เมื่อผู้คัดค้านที่1ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของพันตำรวจเอกข. ผู้ตายถึงแก่ความตายย่อมไม่อาจตั้งผู้ร้องที่2เข้าไปแทนที่ได้และการจัดการมรดกของผู้ตายก็ยังสามารถดำเนินการต่อไปได้เนื่องจากยังมีผู้จัดการมรดกอยู่อีก2คนและศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องกับผู้คัดค้านที่1และผู้คัดค้านที่2ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายซึ่งคดีถึงที่สุดแล้วผู้ร้องที่2จึงไม่มีสิทธิที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกหรือร่วมกับผู้ร้องและผู้คัดค้านที่2เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5272/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 161, ตาราง 5 ท้าย ป.วิ.พ.
ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีซึ่งรวมทั้งค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งมิใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายย่อมตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา161วรรคหนึ่งแต่ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงหรือแต่บางส่วนก็ได้โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1707/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1291, 100
การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่อ้างว่าไม่ชอบด้วยข้อบังคับของสมาคมนั้นเมื่อปรากฎว่าขณะเกิดเหตุประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ23ว่าด้วยสมาคมยังใช้บังคับอยู่จึงต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1291ที่ใช้อยู่ในขณะเกิดเหตุ อ. ทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุมโดยมิได้เป็นสมาชิกสามัญของผู้คัดค้านซึ่งขัดต่อข้อบังคับของผู้คัดค้านหมวดที่6ข้อ30แต่ก็ไม่ปรากฎว่ามีสมาชิกคนหนึ่งคนใดของผู้คัดค้านหรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1291มติที่ประชุมใหญ่ที่อ. เป็นประธานที่ประชุมจึงมีผลใช้บังคับหาเสียไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 287, 305
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องก่อนวันที่จำเลยถึงแก่กรรมผู้ร้องฟ้องล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยขอให้ศาลบังคับให้ล. จดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยทำไว้ล. ตกลงประนีประนอมยอมความจดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องตามฟ้องหลังจากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินทั้งสามโฉนดดังนี้การที่ล. ตกลงประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องดังกล่าวหาใช่ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยเพิ่งก่อให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในที่ดินทั้งสามโฉนดที่ถูกยึดภายหลังที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดไว้แล้วไม่แต่เป็นการที่ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยยอมรับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตามสัญญาที่จำเลยทำไว้ก่อนจำเลยถึงแก่กรรมผู้ร้องจึงมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับล.ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกซึ่งรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องจดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องได้และการที่ศาลพิพากษาตามยอมก็เป็นการบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมายตามหน้าที่ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องในความผูกพันตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยทำไว้ก่อนถึงแก่กรรมเท่านั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาได้ก่อให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดภายหลังที่ได้ทำการยึดไว้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5269/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 88
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคหนึ่งกำหนดให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่าสิบห้าวันโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานหลังวันชี้สองสถานถึงแปดวันทั้งไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานโดยแสดงให้เป็นที่พอใจต่อศาลว่ามีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตากำหนดเวลาดังกล่าวได้ตามวรรคสี่ของมาตราเดียวกันจึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะไม่รับบัญชีระบุพยานของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 381, 382, 383
สัญญาว่าจ้างข้อ21มีความมุ่งหมายว่าหากโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาบรรดางานที่จำเลยที่1ได้ทำขึ้นก่อนแล้วให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องชำระค่าตอบแทนและจำเลยที่1ยอมให้โจทก์ระงับการจ่ายเงินค่าจ้างที่ค้างเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ทั้งโจทก์มีสิทธิว่าจ้างบุคคลภายนอกทำงานที่ค้างต่อไปได้หากค่าจ้างผู้รับจ้างรายใหม่สูงกว่าค่าจ้างเดิมจำเลยที่1ยอมให้นำค่าจ้างเดิมที่ยังค้างจ่ายเป็นหลักประกันการชำระหนี้ไปหักออกจากค่าจ้างรายใหม่ถ้ายังไม่พอชำระค่าจ้างรายใหม่ที่สูงกว่าจำเลยที่1ต้องรับผิดชดใช้ส่วนที่ยังขาดจนครบถ้วนแต่ถ้าหักแล้วมีเงินเหลืออยู่โจทก์จะคืนให้จำเลยที่1ทั้งหมดข้อตกลงนี้จึงมีลักษณะให้ถือเอาบรรดาผลงานที่จำเลยที่1ได้ทำขึ้นก่อนนั้นอันเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นที่ไม่ใช่ใช้เป็นจำนวนเงินเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา382เมื่อจำเลยที่3ผิดสัญญาไม่วางท่อให้ถูกต้องสมควรโจทก์ย่อมมีสิทธิริบเบี้ยปรับนี้ได้ตามมาตรา381วรรคแรกถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตามมาตรา383วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5255/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 369
โจทก์ได้นำเงินค่าปลูกป่าและบำรุงป่าไปฝากธนาคารในนามโจทก์ตามคำสั่งของกรมป่าไม้จำเลยที่2และโจทก์นำสมุดคู่ฝากเงินไปเก็บรักษาไว้ที่ป่าไม้จังหวัดน่านจำเลยที่4ซึ่งตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานนั้นในการขอรับสมุดคู่ฝากเงินโจทก์ต้องเสนอแผนการปฏิบัติงานโดยย่อให้ป่าไม้เขตแพร่จำเลยที่3ทราบเมื่อได้รับความเห็นชอบจากจำเลยที่3แล้วจึงขอรับสมุดคู่ฝากเงินไปเบิกเงินจากธนาคารเพื่อนำไปใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทนตามเงื่อนไขสัมปทานเมื่อสิ้นสุดสัมปทานแล้วโจทก์ไม่เข้าไปปลูกป่าจำเลยที่2เข้าไปตรวจสอบเนื้อที่ที่โจทก์ค้างปลูกและค้างบำรุงรักษาป่าเป็นเงิน7,919,438.76บาทซึ่งปรากฏว่าสัมปทานทั้ง5ฉบับข้อ17และข้อ19กำหนดให้โจทก์ปลูกป่าและบำรุงป่าป้องกันไฟป่าและบำรุงรักษาต้นไม้ที่ขึ้นอยู่แล้วภายในระยะเวลาสัมปทานที่จำเลยที่2กำหนดด้วยค่าใช้จ่ายของโจทก์เองหลังจากโจทก์ได้รับสัมปทานทั้ง5ฉบับได้มีการทำบันทึกต่อท้ายสัมปทานโจทก์ชำระค่าปลูกป่าแล้วเพราะหากไม่ชำระโจทก์จะไม่ได้รับอนุญาตให้ชำระค่าภาคหลวงโจทก์ได้รับสัมปทานตั้งแต่ปี2516โจทก์ลงมือตัดไม้ตั้งแต่ปี2517การปลูกป่าเมื่อปลูกแล้วจะต้องบำรุงรักษาต่อไปอีก5ปีเป็นเช่นนี้เรื่อยไปทุกครั้งที่มีการปลูกป่าประกอบกับบันทึกต่อท้ายสัมปทานข้อ3ผูกพันโจทก์กล่าวคือโจทก์จะต้องปฏิบัติตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานดังกล่าวโดยเสนอแผนการปฏิบัติงานโดยย่อให้จำเลยที่3ทราบเมื่อได้รับความยินยอมจากจำเลยที่3แล้วจึงขอรับสมุดคู่ฝากเงินไปเบิกเงินจากธนาคารเพื่อนำไปใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทนตามเงื่อนไขสัมปทานได้อีกประการหนึ่งตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานดังกล่าวข้อ4ระบุด้วยว่าถ้าผู้รับสัมปทานฝ่าฝืนหรือปฏิบัติผิดไปจากบันทึกที่ให้ไว้นี้ให้ถือว่าผู้รับสัมปทานไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัมปทานข้อ17และยินยอมให้ผู้ให้สัมปทานสั่งพักราชการทำไม้ไว้หรือสั่งเพิกถอนสัมปทานทำไม้เสียก็ได้และผู้รับสัมปทานยินยอมนำเงินค่าใช้จ่ายในการปลูกและบำรุงรักษาป่าที่คำนวณได้จากไม้ที่ทำออกและตรวจวัดตีตราเก็บเงินค่าภาคหลวงแล้วส่งมอบให้จำเลยที่2หรือผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่2จนครบถ้วนด้วยดังนั้นแม้สัมปทานถูกเพิกถอนแล้วหากโจทก์ไม่ดำเนินการปลูกป่าจำเลยที่2มีสิทธิที่จะบังคับให้โจทก์ดำเนินการดังกล่าวต่อไปได้เมื่อโจทก์ค้างปลูกป่าและค้างค่าบำรุงป่าเป็นเงิน7,919,438.76บาทโจทก์ไม่ได้ดำเนินการตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานข้อ3จำเลยทั้งสี่จึงมีสิทธิที่จะยึดสมุดคู่ฝากเงินของโจทก์ไว้เพื่อปฏิบัติตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานดังกล่าวข้อ4ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 158 (5) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ม. 19 พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 ม. 61, 73
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499มาตรา19ให้ศาลบันทึกใจความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐานหาจำต้องบันทึกไว้โดยละเอียดไม่และก่อนศาลบันทึกฟ้องดังกล่าวศาลอาจจะสอบถามโจทก์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่างๆที่จำเลยกระทำความผิดได้แต่ก็จะบันทึกไว้เฉพาะข้อความสำคัญส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เท่านั้นเมื่อพิจารณาใจความที่ศาลบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ประกอบกับบันทึกการฟ้องด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลที่เกี่ยวกับข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติทางหลวงพ.ศ.2535แล้วได้ความว่าเมื่อวันที่22ธันวาคม2537เวลากลางวันจำเลยขับรถยนต์บรรทุกลากจูงและรถพ่วงบรรทุกหินคลุกมีน้ำหนักยานพาหนะหรือน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดอันเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฎิบัติตามประกาศผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษเรื่องห้ามใช้ยานพาหนะโดยที่พยานพาหนะนั้นมีน้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่ได้กำหนดเดินบนทางหลวงลงวันที่1กันยายน2535ซึ่งเป็นการระบุข้อเท็จจริงที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดแล้วกล่าวคือจำเลยขับรถยนต์บรรทุกมีน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดบนทางหลวงอันเป็นความผิดทั้งได้ระบุสถานที่ที่เกี่ยวข้องพอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้และจำเลยก็ให้การรับสารภาพตามฟ้องแสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีหาจำต้องระบุข้อเท็จจริงว่าเป็นทางหลวงสายใดไม่คำฟ้องในข้อหานี้ของโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(5)แล้ว โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้ไม่รอการลงโทษแก่จำเลยแต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5217 - 5218/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 383
โจทก์ไม่ได้ยินยอมชำระเบี้ยปรับตามที่จำเลยเรียกร้องกลับปรากฎว่าเมื่อจำเลยมีหนังสือแจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับไปถึงโจทก์โจทก์ก็ได้มีหนังสือของลดค่าปรับไปถึงจำเลยแสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่ได้ยินยอมชำระเบี้ยปรับให้แก่จำเลยตามที่จำเลยเรียกร้องส่วนที่จำเลยอ้างว่าจำเลยมีสิทธิหักค่าเบี้ยปรับจากเงินที่จำเลยต้องจ่ายค่ารถลากให้แก่โจทก์โดยการหักกลบลบหนี้หรือตามข้อผูกพันที่ระบุไว้ในสัญญาและตามระเบียบของทางราชการนั้นถึงแม้จำเลยมีสิทธิที่อาจจะกระทำได้แต่จะถือว่าโจทก์ยินยอมชำระเบี้ยปรับให้แก่จำเลยอันจะเป็นเหตุให้สิทธิเรียกร้องขอลดเบี้ยปรับเป็นอันขาดไปตามที่บัญญัติในมาตรา383วรรคแรกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5203/2539
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2521 ม. 10, 19
การแก้ไขวันเดือนปีเกิดของข้าราชการในสมุดประวัติข้าราชการหรือในก.พ.7ของข้าราชการตำรวจอยู่ในบังคับของมาตรา10แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจพ.ศ.2521ที่ให้ก.ตร.เป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการตำรวจก.ตร.จึงเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการแก้ไขวันเดือนปีเกิดของข้าราชการตำรวจและในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของก.ตร.ดังกล่าวพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจพ.ศ.2521มาตรา19ให้ก.ตร.มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการให้ทำการใดๆแทนได้ซึ่งรวมถึงการอนุมัติให้แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการตำรวจด้วยการที่อนุกรรมการก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งซึ่งแต่งตั้งโดยก.ตร.ให้มีอำนาจหน้าที่อนุมัติให้แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการตำรวจได้พิจารณาและไม่อนุมัติให้โจทก์แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการของโจทก์จากวันที่25กันยายน2475เป็นวันที่29กันยายน2479ในการประชุมอนุกรรมการก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งครั้งที่6/2528เมื่อวันที่24เมษายน2528จึงเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ที่มีกฎหมายรองรับดังกล่าวและการที่จำเลยที่1ไม่อนุมัติให้โจทก์แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการของโจทก์จากวันที่25กันยายน2475เป็นวันที่29กันยายน2479จึงเป็นการปฏิบัติตามมติของคณะอนุกรรมการก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งที่ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายหลักฐานการศึกษาจากโรงเรียนสองแห่งอันได้แก่หลักฐานการศึกษาของโรงเรียนเสนา"เสนาประสิทธิ์"(ม.1)และโรงเรียนเทเวศร์ศึกษา (ม.6)ระบุว่าโจทก์เกิดวันที่29กันยายน2477ซึ่งเป็นปีเกิดที่แตกต่างออกไปจากข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างและวันเดือนปีเกิดของส. น้องชายโจทก์ตามทะเบียนบ้านระบุว่าเกิดวันที่16มีนาคม2480ซึ่งมีระยะเวลาห่างจากวันเดือนปีเกิดที่โจทก์ขอแก้ไขเพียง5เดือนเศษขัดกับหลักเกณฑ์ทางการแพทย์และโจทก์ไม่สามารถจัดส่งสูติบัตรหรือทะเบียนคนเกิดของโจทก์หรือน้องชายของโจทก์มาประกอบการพิจารณาได้สมุดประวัติข้าราชการของโจทก์ก็ระบุว่าโจทก์จบจากโรงเรียนประทีปศึกษาชั้นป.1พ.ศ.2484แสดงว่าโจทก์จบชั้นประถมศึกษาปีที่1เมื่ออายุ5ขวบซึ่งหมายความว่าโจทก์เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1เมื่ออายุเพียง4ขวบซึ่งยากที่จะเป็นไปได้ดังนั้นที่อนุกรรมการก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งมีมติไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยที่ชอบด้วยเหตุผลและมีพยานหลักฐานสนับสนุนทั้งชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายและระเบียบที่ใช้บังคับแก่กรณีมติของอนุกรรมการก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย