คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2539

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 861, 877 วรรคท้าย

ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุให้จำเลยที่4รับผิดในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นไม่เกินจำนวน500,000บาทต่ออุบัติเหตุ1ครั้งแต่ในมูลคดีเดียวกันนี้จำเลยที่4ถูกองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยฟ้องเรียกค่าเสียหายศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นเงิน144,580.48บาทซึ่งจำเลยที่2ในคดีดังกล่าวคือจำเลยที่4คดีนี้จำเลยที่4ได้ชำระเงิน195,183บาทไปแล้วเมื่อรวมกับความรับผิดของจำเลยทั้งสองที่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในคดีนี้จำนวน2,620,210.80บาทรวมยอดความรับผิดทั้งสิ้น2,764,791.28บาทจึงเกินวงเงินที่จำเลยที่4จะต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จำกัดความรับผิดไว้เพียง500,000บาทดังนั้นจำเลยที่4จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์คดีนี้เฉลี่ยตามส่วนที่ได้รับความเสียหายโดยต้องรับผิดเพียง473,853.27บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6070

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6070/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 331

การที่จำเลยนำเงินค่าเช่าไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์โดยกำหนดเงื่อนไขในการรับเงินว่าต้องเป็นเจ้าหนี้ที่มีคำสั่งศาลถึงที่สุดมาแสดงนั้น ก็เพื่อประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสองหรือบริษัท อ. เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิให้เช่าอันแท้จริงซึ่งจำเลยไม่อาจหยั่งรู้ได้แน่นอน การวางเงินของจำเลยจึงมีเหตุผลโดยชอบและมิใช่ความผิดของจำเลยจำเลยมีสิทธิที่จะวางทรัพย์ชำระเงินค่าเช่าได้อันเป็นผลให้จำเลยหลุดพ้นจากหนี้ค่าเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 331

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6066

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6066/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 150 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 22, 24, 27, 91, 94

หนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้วเจ้าหนี้ไม่อาจนำมายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา27,91และ94 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยแล้วพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา24บัญญัติห้ามมิให้จำเลยกระทำการใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนเว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้จัดการทรัพย์หรือที่ประชุมเจ้าหนี้การที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้โจทก์เพื่อชำระค่าเบี้ยประกันภัยในระหว่างจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายจึงเท่ากับเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยซึ่งจำเลยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ตามบทบัญญัติดังกล่าวการกระทำของจำเลยเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483ซึ่งเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเช็คพิพาททั้งสองฉบับที่จำเลยสั่งจ่ายชำระให้โจทก์จึงเป็นโมฆะโจทก์ไม่มีสิทธินำเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาฟ้องจำเลยให้รับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5985

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5985/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 425, 443, 1563

จำเลยที่ 3 หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากับจำเลยที่ 2แล้ว แต่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เบิกความรับว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุมาระหว่างสมรส ซึ่งแม้มีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของในทะเบียนแต่ไม่ได้นำสืบว่าเป็นสินส่วนตัวหรือเป็นสินสมรสต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรสเมื่อจำเลยที่ 2เป็นผู้ติดต่อหาคนขับรถและดูแลกิจการโดยทั่วไป บางครั้งได้ให้จำเลยที่ 3 ช่วยดูแลบ้าง รายได้จากการรับจ้างก็แบ่งให้จำเลยที่ 3 เพื่อใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรหลังเกิดเหตุแล้วจำเลยที่ 2 ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 3ไปเจรจาเรื่องค่าเสียหายกับฝ่ายโจทก์ แสดงว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 ยังคงทำกิจการร่วมกันจำเลยที่ 3 จึงเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ด้วย จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้ขับรถยนต์บรรทุกในทางการที่จ้างโดยประมาทเลินเล่อเฉี่ยวชน ส. ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ทั้งสองจนถึงแก่ความตายด้วย ค่าใช้จ่ายในงานศพ เช่น ค่าดอกไม้ ค่าบุหรี่ถวายพระถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคหนึ่งส่วนเงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายมากน้อยเพียงใดก็นำมาบรรเทาความรับผิดของจำเลยไม่ได้ และเนื่องจากบุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา การที่ผู้ตายตายลงทำให้บิดามารดาต้องขาดไร้อุปการะ จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าปัจจุบันผู้ตายจะได้ อุปการะเลี้ยงดูอยู่หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5983

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5983/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 23

การประปาส่วนภูมิภาคโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจอันเป็นหน่วยงานของ รัฐบาล มีระเบียบในการเบิกจ่ายเงินไม่เหมือนหน่วยงานของเอกชน และเมื่อเบิกจ่ายแล้วต้องจัดส่งมายังสำนักงานอัยการสูงสุดซึ่งทำหน้าที่เป็นทนายความย่อมมีความล่าช้าอยู่บ้าง ถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาชำระเงินค่าธรรมเนียมในการยื่นอุทธรณ์ตามคำร้องของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4599

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4599/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 887 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 225 วรรคหนึ่ง, 249 วรรคหนึ่ง

การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมายล.3ว่าจำเลยที่3ผู้รับประกันภัยไม่อาจนำข้อยกเว้นในเรื่องความไม่สมบูรณ์ของผู้ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่3รับประกันภัยมาเป็นเงื่อนไขเพื่อปัดความรับผิดได้จำเลยที่3จึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยจึงเป็นการวินิจฉัยแปลความหมายเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยหมายล.3อันเป็นการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของโจทก์และมิใช่การวินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงใหม่ตามที่จำเลยที่3ฎีกา ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยตามข้อ2.13.6ว่าการประกันภัยตามข้อ2.3ไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับอนุญาตขับรถยนต์ใดๆหรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกินกว่า180วันหรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายในการขับรถยนต์ในเวลาเกิดอุบัติเหตุดังนี้ความรับผิดของจำเลยที่3จึงต้องเป็นไปตามกรมธรรม์ประกันภัยและข้อยกเว้นความรับผิดต่อบุคคลภายนอกตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่1ผู้ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่3รับประกันภัยเป็นผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใดๆกรณีจึงเข้าข้อยกเว้นที่จำเลยที่3ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในเหตุคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6065

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6065/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 86, 177

โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายหนังสือชนิดต่างๆให้แก่ผู้พิมพ์หนังสือที่ไม่สามารถจัดส่งหนังสือไปจำหน่ายเองได้และโจทก์เป็นผู้แทนจัดจำหน่ายหนังสือให้แก่จำเลยโดยโจทก์ยินยอมให้จำเลยเบิกเงินค่าหนังสือที่ขอให้โจทก์จัดจำหน่ายไปก่อนล่วงหน้าบางส่วนได้แล้วจึงนำมาหักกลบลบกับจำนวนเงินที่ได้จากการขายหนังสือของจำเลยโจทก์คิดบัญชีเมื่อวันที่18พฤษภาคม2530แล้วยังมีเงินที่จำเลยเบิกจากโจทก์ไปล่วงหน้าซึ่งต้องคืนโจทก์อยู่จำนวนหนึ่งคำให้การของจำเลยที่ให้การปฏิเสธในเรื่องจำนวนเงินที่ต้องชำระคืนแก่โจทก์ว่าไม่ถูกต้องนั้นจำเลยให้การลอยๆเพียงว่าไม่ถูกต้องเพราะโจทก์รวมเอาหนังสือบางเล่มที่เกิดการชำรุดฉีกขาดหรือเปียกน้ำในระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์เข้าด้วยและถือว่าเป็นหนังสือที่คืนแก่จำเลยแล้วโดยมิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงให้ชัดแจ้งว่าหนังสือรายการใดที่ชำรุดฉีกขาดหรือเปียกน้ำและมีเป็นจำนวนเท่าใดคิดเป็นเงินเท่าใดที่จะต้องหักออกจากรายการในช่องมูลค่าหนังสือที่รับคืนไปตามเอกสารท้ายฟ้องทั้งที่โจทก์ได้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับรายการจัดจำหน่ายหนังสือให้แก่จำเลยในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม2527ถึงวันที่14พฤษภาคม2530มาอย่างละเอียดในเอกสารท้ายฟ้องแล้วซึ่งจำเลยสามารถให้การโต้แย้งรายการเหล่านั้นแต่ละรายการว่าไม่ถูกต้องอย่างไรได้โดยง่ายแต่จำเลยกลับให้การเพียงว่ามีรายการหนังสือเปียกน้ำที่ต้องหักออกคำให้การจำเลยในเรื่องหนังสือที่เปียกน้ำจึงไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองจำเลยจึงไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้านำสืบตามข้อต่อสู้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6048

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6048/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1600

ป. ทำสัญญากับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ยินยอมให้ป. เข้าทำการค้าในสถานที่หรือแผงขายสินค้าด้วยตนเองจะนำไปให้บุคคลอื่นทำการค้าหรือโอนสิทธิให้บุคคลอื่นไม่ได้เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลยที่ 1ก่อน สิทธิอันเกิดจากสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสิทธิเฉพาะตัวของป. ไม่เป็นทรัพย์ในกองมรดกของ ป. ที่ผู้จัดการมรดกจะจัดการได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6046

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6046/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 193/30, 601

โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ว่าจ้างจำเลยที่1ซ่อมแซมถนนพิพาทโดยมีจำเลยที่2ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่1ซ่อมแซมถนนพิพาทและส่งมอบงานให้โจทก์แล้วต่อมาเจ้าหน้าที่ของโจทก์พบความชำรุดบกพร่องจึงแจ้งให้จำเลยที่1ซ่อมแซมแก้ไขจำเลยที่1เพิกเฉยโจทก์จึงจ้างบุคคลอื่นซ่อมแซมแก้ไขซึ่งจำเลยที่1ต้องรับผิดใช้ค่าจ้างให้แก่โจทก์ตามที่ระบุในสัญญาจ้างและจำเลยที่2ต้องร่วมรับผิดด้วยถือว่าเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่1รับผิดตามสัญญาจ้างธรรมดาซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ10ปีหาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา601ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6041

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6041/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 88, 147, 271 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 153

เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านได้อ้างสรรพเอกสารในสำนวนทวงหนี้ลูกหนี้รายผู้ร้องเป็นพยาน โดยระบุไว้ในบัญชีพยานแล้ว แม้จะขออ้างส่งเฉพาะเอกสารบางฉบับในสำนวนก็ไม่จำต้องยื่นบัญชีพยานหรือขอระบุพยานเพิ่มเติมต่างหากอีก ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเรียกหนี้ค่าหุ้นที่ค้างชำระจากผู้ร้อง ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ถือว่าคดีถึงที่สุดนับแต่ระยะเวลาที่อาจฎีกาได้สิ้นสุดลง ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเมื่อยังไม่เกิน 10 ปี นับแต่คดีถึงที่สุดจึงชอบแล้ว

« »
ติดต่อเราทาง LINE