คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2539
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6270/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 653 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 86
การที่จำเลยอ้างว่ามีการชำระหนี้หมดสิ้นกันแล้วแต่โจทก์ไม่ยอมคืนสัญญาโดยอ้างว่าหายนั้นมิใช่เหตุที่ทำให้จำเลยทั้งสองหลุดพ้นจากความรับผิดดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา653วรรคสอง ฟ้องโจทก์บรรยายว่าเมื่อวันที่15ตุลาคม2530จำเลยที่1ได้กู้ยืมเงินโจทก์จำนวน250,000บาทที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยทั้งสองเคยกู้ยืมเงินโจทก์ไป150,000บาทต่อมาในวันที่15ตุลาคม2530จำเลยที่1มาขอกู้อีก100,000บาทรวมเป็นเงินต้นที่จำเลยที่1กู้เงินโจทก์ไปจำนวน250,000บาทเป็นการนำสืบที่มาของจำนวนเงินที่กู้เป็นเรื่องรายละเอียดของคำฟ้องโจทก์สามารถนำสืบได้หาใช้นอกฟ้องนอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6257/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 296, 618 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 249
แม้จำเลยกับโจทก์ซึ่งเป็นผู้ร่วมขนส่งด้วยกันจะต้องรับผิดร่วมกันในความสูญหายหรือบุบสลายต่อผู้ส่งหรือผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างแต่ระหว่างโจทก์กับจำเลยจะมีความรับผิดต่อกันหรือไม่ต้องขึ้นอยู่กับว่าจำเลยมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยหรือไม่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสินค้าที่ขนส่งมิได้เกิดความเสียหายขึ้นในระหว่างการขนส่งทอดแรกของจำเลยแม้ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6246/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 224, 1363, 1754
จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลและเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกเงินจำนวน 216,250 บาทก่อนที่จะแบ่งปันให้ทายาทต้องถือว่า ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกนั้นแทนทายาททุกคน โจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของทรัพย์มรดกดังกล่าวร่วมกันแล้ว และจำเลยที่ 1ครอบครองทรัพย์มรดกนั้นในฐานะเจ้าของรวม การที่โจทก์มาฟ้องขอแบ่งทรัพย์ดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการฟ้องขอแบ่งทรัพย์ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 โดยไม่มีอายุความมิใช่เป็นการเรียกร้องเอาทรัพย์มรดก จะนำอายุความตามมาตรา 1754 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับไม่ได้ การที่จำเลยที่ 1 รับเงินส่วนแบ่งมรดกไว้ ถือว่าจำเลยที่ 1 รับไว้แทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไม่ถือว่ามีการผิดนัดจำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยให้โจทก์จนกว่ามีการบอกกล่าวทวงถามเงินส่วนแบ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6242/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1382, 1401
โจทก์และจำเลยได้รับการยกที่ดินส่วนที่ได้ครอบครองตั้งแต่บิดาทั้งสองฝ่ายยังมีชีวิตอยู่จนกระทั่งบิดาทั้งสองฝ่ายถึงแก่กรรมต่างก็ได้ครอบครองเป็นส่วนสัดในส่วนที่ได้ครอบครองนั้นโดยไม่มีการโต้แย้งแนวเขตซึ่งกันและกันเป็นเวลาประมาณ30ปีมาแล้วและต่อมาภายหลังมีการขอแบ่งแยกและออกโฉนดเป็นของตนก็ยังคงเป็นไปตามที่ต่างฝ่ายครอบครองมาแม้นับตั้งแต่เวลาที่ได้มีการออกโฉนดใหม่จนถึงวันฟ้องจะไม่ถึง10ปีก็ตามแต่ละคนย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของตนโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382และเมื่อโจทก์และบริวารใช้ทางพิพาทเดินออกสู่ถนนสาธารณะเป็นเวลาเกินกว่า10ปีโจทก์ย่อมได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินของจำเลยในส่วนที่ใช้มาเป็นเวลากว่า10ปีแล้วนั้นตามมาตรา1401ประกอบมาตรา1382แม้โจทก์อาจจะใช้เส้นทางอื่นได้ก็ไม่เป็นเหตุให้ภารจำยอมสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6223 - 6224/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 149
คดีสองสำนวนที่รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันเมื่อสำนวนคดีแรกโจทก์ที่2มิได้เป็นคู่ความที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ที่2ร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียมกับโจทก์ที่1ทั้งสองสำนวนโดยไม่แยกเป็นรายสำนวนจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6223/2539
nan
คดีสองสำนวนที่รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน เมื่อสำนวน คดีแรก โจทก์ที่ ๒ มิได้เป็นคู่ความ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ โจทก์ที่ ๒ ร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียมกับโจทก์ที่ ๑ ทั้งสองสำนวนโดย ไม่แยกเป็นรายสำนวน จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6222/2539
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ม. 25 วรรคสอง, 26
ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนไม่พอใจในค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดและใช้สิทธิอุทธรณ์ไปยังรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา25แล้วหากรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน60วันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์หรือวินิจฉัยเสร็จสิ้นภายใน60วันนับแต่ได้รับคำอุทธรณ์ผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจะต้องใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน1ปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา60วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์มิฉะนั้นจะสิ้นสิทธิฟ้องร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6214/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1719, 1754 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 249
จำเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องการครอบครองปรปักษ์การที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าที่พิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่1โดยการครอบครองตามกฎหมายจึงแตกต่างไปจากที่เคยให้การต่อสู้คดีไว้ไม่มีประเด็นและมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงต้องห้ามฎีกา เมื่อข. ตายที่พิพาทของข. ย่อมเป็นมรดกตกทอดเป็นของทายาทซึ่งรวมทั้งโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่1อย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกันการที่ศาลมีคำสั่งตั้งให้จำเลยที่1เป็นผู้จัดการมรดกตามที่ได้ยื่นคำร้องขอจัดการมรดกที่พิพาทแสดงว่าจำเลยที่1ยอมรับว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกถือว่าจำเลยที่1ครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นและเป็นตัวแทนของบรรดาทายาทเหล่านั้นในการแบ่งปันมรดกการที่จำเลยที่1ไปรับโอนมรดกที่พิพาทแล้วโอนให้ตนเองในฐานะส่วนตัวและจำเลยที่2จึงมิใช่การแบ่งปันมรดกตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกโดยสุจริตเมื่อโจทก์ทั้งสองฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนดังกล่าวจึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากผู้จัดการมรดกและจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้จะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคหนึ่งมาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5986/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 70, 156
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามหลักทั่วไปเมื่อผู้จัดการทั่วไปไม่อยู่รองผู้จัดการทั่วไปก็จะลงชื่อแทนได้การที่ย. ซึ่งเป็นรองผู้จัดการทั่วไปของจำเลยลงชื่อในเอกสารหมายจ.4ในขณะที่ผู้จัดการทั่วไปไม่อยู่ไปต่างประเทศนั้นถือว่าเป็นการลงชื่อในฐานะผู้แทนของจำเลย จำเลยเป็นบริษัทย่อมมีระบบและขั้นตอนในการทำงานหากมีสัญญาเช่าใหม่กับโจทก์ไว้จริงทางจำเลยก็ไม่จำเป็นต้องทำหนังสือเอกสารหมายจ.4เสนอให้โจทก์เช่าต่ออีกแต่ปรากฎว่าตามข้อตกลงที่จะให้โจทก์เช่าต่อไปนั้นโจทก์จะต้องเสียค่าเช่าเพิ่มอีกร้อยละ15เมื่อได้รับค่าเช่าเพิ่มขึ้นเป็นที่พอใจแล้วจำเลยย่อมจะให้โจทก์เช่าต่อไปโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าได้มีการฟ้องขับไล่กันไว้หรือไม่จึงไม่น่าเชื่อว่าจำเลยได้ตกลงให้โจทก์เช่าห้องพิพาทโดยสำคัญผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6207/2539
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 76 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 176, 195 พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ม. 6, 7 ทวิ, 13 ทวิ, 62, 89, 106, 106 ทวิ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขายเกินประมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดและขายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา6(7ทวิ)13ทวิ,62,89,106,106ทวิซึ่งความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายเมทแอมเฟตามีนมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาทจึงเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำหนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาทจึงเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา176วรรคหนึ่งแม้จำเลยมีอายุ17ปีเศษและถ้าศาลเห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา76ก็ตามก็ยังคงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลยเมื่อปรากฏว่าจำเลยให้การรับสารภาพและศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานแล้วให้เลื่อนไปนัดฟังคำพิพากษาและต่อมาได้อ่านคำพิพากษาให้โจทก์จำเลยฟังโจทก์ก็มิได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์คงเพียงแต่อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยในสถานหนักเท่านั้นถือได้ว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบพยานเช่นนี้ย่อมลงโทษจำเลยไม่ได้การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายเมทแอมเฟตามีน และศาลอุทธรณ์ก็ยังคงพิพากษาลงโทษจำเลยจึงไม่ถูกต้องปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามมาตรา195วรรคสองประกอบด้วยมาตรา225แต่อย่างไรก็ดีสำหรับความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขายเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องโจทก์นั้นย่อมรวมถึงความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งเมทแอมเฟตามีนโดยมิได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทมาตรา62วรรคหนึ่งและมาตรา106ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปีและปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทและโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำความผิดของจำเลยและอ้างบทมาตราที่ขอให้ลงโทษมาในฟ้องแล้วความผิดฐานนี้เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานต่อไปก็ได้ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้